26/03/2548 18:14 น. |
ใน เอซีมอเตอร์ หมายถึงค่าของอะไรครับช่วยอธิบายหน่อยครับ |
27/03/2548 18:46 น. |
ขอข้อมูล เพิ่มเติมด้วยว่าได้ข้อมูลนี้มาจากที่ไหน จากตัวมอเตอร์หรือว่าหนังสือครับ |
28/03/2548 18:43 น. |
จากคำตอบของคุณ Designer ในกระทู้03256ครับ |
28/03/2548 19:11 น. |
ผมกลับไปอ่านกระทู้ที่คุณ Designer ตอบก็ไม่เข้าใจความหมายเหมือนกัน คงต้องให้คุณ Designer มาเฉลย |
31/03/2548 11:55 น. |
EMF=Electromotive Force (แรงเคลื่อนไฟฟ้า) เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดที่เอาไปใช้ในการสร้างสนามแม่เหล็กครับ <br> |
31/03/2548 18:17 น. |
กลับไปอ่านกระทู้เก่ามาเหมือนกัน อยากให้คุณ Designer อธิบายเพิ่มเติมหน่อยว่า ที่ว่า แรงดันจ่ายให้กับมอเตอร์ลด แล้ว EMF ลดแล้วทำให้กระแสเพิ่มนะมันเป็นอย่างไร<br><br> |
01/04/2548 11:42 น. |
EMF ย่อมาจากคำว่า Electromotive Force <br>โดยทั่วไปเราจะใช้คำว่า BEMF หรือBackEMF ซึ่งหมายถึงแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำต้านกลับ<br>BackEMF นี้จะเกิดขึ้นเมื่อมอเตอร์มีการเริ่มหมุน <br>ลำดับขั้นการเกิดมีดังนี้<br> เมื่อเราต่อแรงดันเข้าขดลวดของมอเตอร์ จะทำให้เกิดกระแสไหลในขดลวด และเมื่อเกิดกระแสไหลในขดลวดหรือตัวนำ ก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก และเกิดปฏิกริยาเส้นแรงแม่เหล็กส่งผลให้เกิดการผลักกันและดูดเข้าหากันก็จะทำให้โรเตอร์หมุนเคลื่อนที่ <br>กรณีของดีซีมอเตอร์ เมื่อโรเตอร์หมุนเคลื่อนที่ ก็จะทำให้สนามแม่เหล็กหมุนตัดกับตัวนำที่โรเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำขึ้นซึ่งเรียกว่า EMF แต่เนื่องจาก EMF หรือแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นนี้ จะ มีขั้วหรือทิศทางตรงกันข้ามกับแหล่งจ่ายเขาจึงเรียกแบบเต็มยศว่า BackEMF ซึ่งหมายถึงแรงเคลื่อนที่เกิดจากการเหนี่ยวและมีทิศทางตรงกันข้ามกับแหล่งจ่าย (ส่วนระดับของ BackEMF จะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการหมุนตัดกันของสนามแม่เหล็กและตัวนำ )<br>หากถามว่า BackEMF มีผลอย่างไรกับมอเตอร์ <br>ต้องตอบว่ามีผลอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงการออกตัวหรือสตาร์ทมอเตอร์ เคยสังเกตุหรือไม่ว่าทำไม ช่วงสตาร์ทมอเตอร์ทำไมกระแสสูง และหลังจากนั้นกระแสจะค่อยลดลงมา ?<br>ให้วิเคราะห์สมการกระแสของมอเตอร์ ดังนี้<br>Vt = Ia*R + emf<br>Ia = (Vt- emf )/R <br> <br>ยกตัวอย่าง Vt = 220 Vdc<br> R = 10 ohm<br> Emf = 0 V ขณะมอเตอร์หยุดนิ่ง<br>และ Emf = 180 V หลังจากมอเตอร์หมุนออกตัวไปแล้ว<br> ปรากฏการณ์เมื่อเริ่มสตาร์ท Ia = (220- 0 )/10 = ? <br>ปรากฏการณ์เมื่อหมุนออกตัวไปแล้ว Ia = (220- 180 ) /10 = ?<br><br>ส่วนของเอซีมอเตอร์ก็เหมือนกัน ถ้าคุณเข้าใจปรากฏการณ์ของดีซีมอเตอร์ คุณก็จะเข้าใจเอซี เนื่องจากดีซีถือว่าเป็นพื้นฐานของเอซี โดย EMF จะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลเดียวกัน คือจากการหมุนตัดกันระหว่างตัวนำกับสนามแม่เหล็ก แต่ในส่วนของเอซีจะแตกต่างกับดีซีเนื่องจากเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ สนามแม่เหล็กจะยุบตัวและขยายออกตามแรงดัน ทำให้เกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำขึ้นเองได้เองจากการยุบตัวและขยายตัวของสนามแม่เหล็ก และตัดกับตัวนำ ซึ่งทำให้เกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำขึ้นโดยไม่ต้องมีการหมุนเคลื่อน และนอกจากนั้นยังมีสนามแม่เหล็กที่เกิดตาม phase shift ของไฟฟ้ากระแสสลับ กรณีของมอเตอร์ 3 เฟส<br> |
01/04/2548 12:39 น. |
ขอขอบคุณ น้าเสือมากที่มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ EMF ได้อย่างละเอียด ในความเข้าใจของผมแล้ว Back EMF. จะมีผลมาจากความเร็วรอบเป็นหลัก แต่ที่คุณ Designer พยายามจะบอกดูเหมือนว่า Back EMF มีผลมาจากการลดแรงดันจ่ายเข้ามอเตอร์ เป็นต้นแหตุทำให้เกิดกระแสสูง ซึ่งก็เลยทำให้ผมสับสน อยากจะให้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดแรงดัน กับ ปริมาณ Back EMF ที่เกิดขึ้น ว่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร |
01/04/2548 13:19 น. |
เห็นด้วยกับความเห็นที่ว่า Back EMF ขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของโรเตอร์ที่มีกระแสไหลอยู่และหมุนตัดขดลวดสเตเตอร์ <br><br>แรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์จะมีผลต่อแรงบิดที่มอเตอร์ผลิตได้ ตราบใดที่โหลดที่มอเตอร์ขับอยู่มีค่าแรงบิดน้อยกว่าแรงบิดที่มอเตอร์ได้ ความเร็วของมอเตอร์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และเมื่อความเร็วรอบไม่เปลี่ยนแปลง จึงทำให้ Back EMF คงที่ และในทางตรงกันข้ามกระแสที่ไหลเข้ามอเตอร์จะลดลงเสียด้วยซ้ำเนื่องจากแรงดันที่เกิดจากผลต่างระหว่างแรงดันที่ป้อนเข้ามอเตอร์กับ BMF จะเป็นตัวที่กำหนดค่าที่ทำให้กระแสไหลเข้ามอเตอร์ ลองมาดูตัวอย่างเผื่อที่จะเข้าใจมากขึ้น<br><br>มอเตอร์ที่มีการสตาร์ท สตาร์-เดลต้า ในสภาวะที่มอเตอร์ออกตัวไปแล้ว คื่อการสตาร์ทแบบสตาร์ แต่เรายังคงค้างสภาวะนี้ไปเรื่อยๆโดยที่ไม่สับเป็นเดลต้า อะไรจะเกิดขึ้น<br> คำถามข้างต้นแยกคำตอบออกได้เป็น 2 กรณี <br> 1. กรณีแรกมอเตอร์ไม่ได้มีโหลดขับอยู่ แน่นอนการต่อสตาร์ค้างไว้เท่ากับการจ่ายแรงดันเข้ามอเตอร์ต่อเฟสลดลง จาก 380 เป็น 220 V. แรงบิดที่มอเตอร์ผลิตได้จะมีค่าเท่ากับ 33 เปอร์เซนต์ของแรงบิดพิกัด ซึ่งก็จะเพียงพอที่จะขับมอเตอร์ให้หมุนไปได้โดยที่ความเร็วเกือบจะเท่ากับ ซิงโครนัสสปีด หรือความเร็วจะมีค่าไม่แตกต่างจากการป้อน 380 นั่นก็หมายความว่า BMF ของการป้อนแรงดัน 220 กับแรงดัน 380 เท่ากัน แต่สิ่งที่จะต่างกันคือกระแสที่ไหลเข้ามอเตอร์ การป้อน 220 ต่อเฟสจะทำให้กระแสไหลเข้ามอเตอร์น้อยกว่า<br> 2. ในกรณีที่มอเตอร์ขับโหลดอยู่ และโหลดเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบที่เพิ่ม และเมื่อแรงบิดของมอเตอร์และโหลดวิ่งมาเจอกัน โหลดจะปฉุดมอเตอร์ไม่ให้เร่งความเร็วรอบได้ เพราะเราไม่สับเป็นเดลต้า ทำให้ BMF มีค่าต่ำ ส่งผลให้มอเตอร์กินกระแสสูง<br><br>จะเห็นว่าทั้งสองกรณีจะสัมพันธ์เกี่ยวกับ แรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ที่ลดลงโดยไปสัมพันธ์กับ BMF <br><br>ลองพิจารณาดูว่าตรงกับคำถามหรือไม่ หรือมีความคิดเห็นที่แตกต่าง ยินดีที่ขอรับข้อเสนอแนะ เพราะเป็นความคิดเห็นส่วนตัว |
06/04/2548 11:40 น. |
ผมขอขอบคุณในทุกๆคำตอบมากนะครับกระจ่างและได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากทีเดียวโดยเฉพาะน้าเสือและช่างซ่อมมอเตอร์รวมทั้งคุณวิศวะใหม่ที่ได้ทำให้กระทู้นี้เกิดประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวขอ้งและนำไปประยุก์ใช้งานมากยิ่งขึ้น Thank You. |
06/04/2548 16:48 น. |
ขอขอบพระคุณ น้าเสือและช่างซ่อมมอเตอร์มาก เช่นกันครับ |
12/04/2548 11:39 น. |
ข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้จากบทความนี้ttp://<a href="http://www.9engineer.com/9au_main/Drives/separataly%20excited.htm" Target="_BLANK">www.9engineer.com/9au_main/Drives/separataly%20excited.htm</a> |
04/06/2551 11:30 น. |
อยากทราบข้อดีและข้อเสียของการเกิด BACK EMF |
18/03/2553 17:30 น. |
คำว่า BACK EMF คืออารัย<br><br> |
16/09/2563 11:03 น. |
http://mewkid.net/when-is-xuxlya/ - Buy Amoxicillin <a href="http://mewkid.net/when-is-xuxlya/">Buy Amoxicillin Online</a> vwn.ufvr.9engineer.com.evz.zq http://mewkid.net/when-is-xuxlya/ |
16/09/2563 11:19 น. |
http://mewkid.net/when-is-xuxlya/ - Amoxicillin <a href="http://mewkid.net/when-is-xuxlya/">Buy Amoxil</a> zvq.ewwn.9engineer.com.zrc.ao http://mewkid.net/when-is-xuxlya/ |