23/03/2548 23:10 น. |
อยากทราบว่าถ้ามีมอเตอร์ไม่ว่าเป็น AC หรือ DC มอเตอร์ จะมีวิธีใดบ้างในการตรวจสอบว่ามอเตอร์นั้นใช้งานได้ และมีคุณภาพภาพที่ดีพร้อมกับการใช้งานได้ และมีการตรวจสอบใดบ้างที่สามารถทราบได้ถึงประสิทธิภาพ ของมอเตอร์นั้นๆ และ อยากทราบถึงมาตรฐานที่รองรับเกี่ยวกับการ ตรวจสอบนั้นๆด้วย พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบทั้งหมด ไม่ทราบว่าจะหาได้จากที่ไหนบ้าง |
24/03/2548 19:55 น. |
วิธีการตรวจสอบมีค่อนข้างมากและหลากหลายและขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของมอเตอร์ด้วย แต่ในที่นี้จะขอแนะพื้นฐานทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้กันทั่วไปก่อน(ขอเป็น AC 3 phase <br>ก่อนครับ)1.ตรวจสอบค่าทางไฟฟ้า<br> 1.1วัดค่าความต้านทานขดลวดทั้ง3เฟสเทียบกันดูว่าในแต่ละเฟสมีค่าเท่ากันหรือแตกต่างกันมากนอ้ยเพียงใดโดยใช้ไมโครโอมห์มิเตอร์ มอเตอร์ที่ปกติความต้านทานตอ้งเท่ากันหรือต่างกันไม่ควรเกิน3-5เปอร์เซ็นต์ของค่าความต้านทานเฉลี่ยทั้ง3เฟส<br>1.2วัดค่าความต้านทานฉนวนของขดลวด<br>1.2วัดค่าความเป็นตัวนำของขดลวดหรือค่า L<br>ขอตอบเพียงเท่านี้ก่อนเนื่องจากไม่สะดวกเดี๋ยวจะตอบให้ใหม่ในภายหน้า |
25/03/2548 13:05 น. |
ขอตอบต่อนะครับ ในหัวข้อ1.2 การวัดความต้านทานฉนวนของขดลวด(Insulation Resistance)นั้นใช้เครื่องมือประเภท Megohm meter ขั้นต่ำตั้งย่านวัดไปที่ 500 volt dc ก่อนครับ แล้วทำการวัดที่สายลีดหรือสายpower ที่ต่อออกมาจากขดลวดของมอเตอร์ วัดระหว่างเฟสกับเฟส และเฟสกับกราวด์(โครงหรือเฟรมมอเตอร์)ผลที่วัดออกมาค่าระหว่างเฟสกับเฟสต้องไม่ตำกว่าค่า0-1เมก-โอห์ม ส่วนผลการวัดระหว่างเฟสกับกราวด์ก็เช่นเดียวกันครับถ้าต่ำกว่านี้มอเตอร์จะไม่สามารถนำไปใช้งานได้เนื่องจากขดลวดอาจจะชอร์ทระหว่างเฟสกับเฟสหรือชอร์ทลงกราวด์กับโครงแล้วก็ได้และอีกสาเหตุหลักที่สำคัญก็คือเรื่องของความชื้นและสิ่งสกปรกต่างๆที่เกิดขึ้นขณะใช้งานก็ได้นะครับ |
25/03/2548 18:17 น. |
ขอขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ การวัดโดยใช้ magohm meter นั้นค่าที่วัดได้ที่เป็น ค่า DAR. และค่า PI. นั้นคืออะไร แล้วต้องได้รับค่าเป็นเท่าไรครับจึงถือว่ามอเตอร์นั้นเอาไปใช้งานได้ และใช้มาตรฐานของอะไรรองรับหรือไม่ ช่วยผมอีกนิดนะครับ |
25/03/2548 19:32 น. |
P.I.หรือ Polarization Index เป็นค่าที่ใช้สำหรับประเมินสภาพฉนวน ถ้าจะให้เขาใจง่ายก็คือเป็นค่าความต้านทานที่10นาทีกับ1นาทีที่เราวัดได้แล้วนำมาคำนวนเปรียบเทียบกันโดยตามปกติมีขอ้กำหนดว่าถ้าค่า p.i.< 1.5 ฉนวนนั้นตอ้งมีการปรับปรุงสภาพใหม่แต่ถ้า p.i > 4 แสดงว่าฉนวนนั้นอยู่ในสภาพดีมาก แต่ถ้าค่าp.i สูงมากจนถึง 7ฉนวนนั้นจะอยู่ในสภาพที่เเห้งกรอบ และถ้าค่า p.i < 1 แสดงว่ามอเตอร์เกิด partial conductive path บนผิวฉนวนหรือ มีความชื้นมากไม่ควรนำมาใช้งาน<br> สำหรับฉนวนของมอเตอร์แต่ละ CLASS จะมีค่า P.I.ต่ำสุดที่ยอมรับได้แตกต่างกันดังนี้คือ class A ค่าP.Iตอ้ง>/=1.5<br> B ค่า P.Iต้อง>/=2<br> F ค่า P.I.ต้อง>/=2<br>(โดยอ้างถึง IEEE STD 56-1958)<br> . |
26/03/2548 17:59 น. |
จริงๆแล้วมีข้อมูลและรายละเอียดอีกมากเกินกว่าที่จะตอบได้ทั้งหมดในหน้า webboard นะครับหากตอ้งการข้อมูลมากกว่านี้ทิ้ง mail ไว้ครับแล้วจะติดต่อกลับไป |
27/03/2548 17:51 น. |
ขอเสริมคุณ ลองตอบดูนิดนึงครับ<br>PI หรือ Polarization Index หรือแปลง่ายๆว่า ดัชนีการเปลี่ยนขั้ว ซื่งจะหมายถึงการเปลี่ยนขั้วโมเลกุลของฉนวน ซึ่งอยู่ในสมมุติฐานที่ว่าถ้าฉนวนที่ดี เมื่อมีการป้อนแรงดันเข้าไปที่ฉนวนโมเลกุล จะมีการกลับขั้วได้อย่างสมบูรณ์ และในท้ายที่สุดจะไม่มีกระแสไหลผ่านตัวฉนวนนั้นได้เลย ซึ่งจะทำให้ได้ค่าฉนวนที่มีค่าความต้านทานสูง<br> แต่ในทางกลับกันถ้าฉนวนมีสภาพที่ไม่ดี การกลับขั้วของโมเลกุลจะทำได้ไม่สมบูรณ์ทำให้มีกระแสไหลผ่านอยู่ตลอดเวลาทำให้มีค่าความต้านทานต่ำ<br><br> เวลา 10 นาทีที่ใช้ในการป้อนแรงดันการทดสอบไปที่ฉนวนเป็นเวลาได้จากการทดสอบแล้วว่าเป็นเวลาที่ฉนวนที่มีสภาพดีกลับขั้วได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนเวลา 1 นาทีที่นำมาใช้ในการนำมาหารเป็นเวลาที่ได้ค่าความต้านทานโดยไม่พิจารณาค่าอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องเช่น ค่าคาปาซิแทนซ์ของฉนวน ฉะนั้น ค่า PI จึงนำค่าเวลา 10 นาทีมาหารด้วยเวลา 1 นาทีและได้ตัวเลขเท่าไหร่จะนำไปพิจารณาจาก มาตราฐานในคำตอบที่ 4<br><br>ขอเสริมเท่านี้ก่อนพอดีติดธุระ ถ้าพอมีเวลาจะมาเสริมเรื่อง DAR |
27/03/2548 22:18 น. |
DAR เป็นตัวย่อของ Dielectric Absorption Ratio เป็นการเปรียบเทียบค่าของความต้านทานฉนวนที่เกิดจากการวัดค่า ที่ 60 วินาที นำมาหารด้วย 30 วินาที หรือค่า อัตราส่วนของค่า เมกเกอร์ 60 วินาที หารด้วย 30 วินาที<br><br>ที่เป็นชื่อว่า Dielectric Absorption เพราะในสภาวะของการวัดค่าความต้านทานฉนวนหรือคือการป้อนไฟดีซีเข้าไปที่ฉนวน เวลาตั้งแต่ 0 วินาทีจนถึง 60 วินาทีเป็นช่วงที่ฉนวนมีคุณสมบัติด้าน Dielectric Asortbon<br><br>DAR มีหลักการพิจารณาดังนี้<br> 1.0 - 1.25 พอใช้<br> 1.4 - 1.6 ดี<br> มากกว่า 1.6 ดีมาก<br> หมายเหตุ <br> อ้างอิง จาก Electrical Motor Maintenance Workshop ( AVO International )<br><br> DAR จะเป็นที่นิยมในสมัยก่อนเนื่องจากการวัด เมกเกอร์ในสมัยก่อนเครื่องมือวัดยังเป็นแบบ ปั่นด้วยมือ ฉะนั้นจึงจะเป็นการยากที่จะทำการวัดโดยใช้วิธีแบบ PI เพราะต้องใช้มือปั่นตั้ง 10 นาที<br><br> สรุปง่ายๆว่าทั้งสองวิธีเป็นการทดสอบสภาพของฉนวนที่เหมือนกัน แต่ ณ.ปัจจุบัน PI จะเป็นการวัดที่นิยมมากกว่า |
28/03/2548 18:05 น. |
ต้องขอขอบคุณช่างซ่อมมอเตอร์มากครับที่กรุณาช่วยเข้ามาเสริมคำตอบของผมซึ่งทำให้คุณบอนได้ความรู้และเข้าใจมากขึ้นและหวังว่าคุณบอนคงจะนำขอ้มูลทั้งหมดนี้ไปประยุกต์ใช้ในงานซ่อมมอเตอร์ได้นะครับหรือหากยังสงสัยตรงใหนก็เข้ามาโพสคำถามไว้หากมีเวลาจะช่วยหาขอ้มูลให้ครับ |
29/03/2548 21:52 น. |
แล้วค่า L ที่ค้างไว้ในคำตอบที่1ตรวจสอบแบบใหนครับ |
30/03/2548 12:22 น. |
การวัดค่า L หรือ อินดักแตนซ์ ไม่ใช่จุดประสงค์หลักเพื่อการหาประสิทธิภาพของมอเตอร์ จุดประสงค์เพื่อต้องการดูความผิดปกติของขดลวดว่าผิดปกติหรือไม่ โดยดูที่ค่าในแต่ละเฟสว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ มอเตอร์ที่ปกติจะต้องมีค่า อินดักแตนซ์ที่เท่ากัน หรือแตกต่างกันไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ |
26/05/2552 12:24 น. |
การวัดค่า L หรือ อินดักแตนซ์ <br>มีวีธีการวัดอย่างไรบ้างครับ ใช้เครื่องมืออะไรบ้าง<br>รบกวนช่วยให้คำแนะนำหน่อยครับกำลังต้องการหาค่า L อยู่พอดี |
12/06/2552 12:45 น. |
เครื่องวิเคราะห์และตรวจสอบมอเตอร์ไฟฟ้าของ ALL-TEST Pro, LLC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมอเตอร์ในอุตสาหกรรมและอาคารการวิเคราะห์และ<br>ตรวจสอบมอเตอร์ไฟฟ้ามีประโยชน์ ในด้านการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ช่วยยืดอายุการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า<br>สามารถวางแผนการจัดการและซ่อมแซมได้ทันท่วงที และยังลดความสูญเสียจากการหยุดทำงานของเครื่องจักร Tel: (662) 642-9489 Fax: (662) 642-9424 |
09/08/2552 12:52 น. |
อยากทราบว่ามาตราฐานการทดสอบค่าความเป็นฉนวนของขดลวด มีมาตราฐานอ้างอิงจากไหนบ้างแต่ละมาตราฐานมีข้อกำหนดอย่างไรรบกวนผู้รู้หน่อยครับขอบคุณครับ |
07/10/2552 16:12 น. |
ตอบไม่ได้ |
28/10/2552 16:39 น. |
แล้วค่าความต้านทานแต่ละเฟสละครับเกิน 5 % เกิดเพราะเหตุใดครับ และแก้ไขอย่างไรครับ |