17/03/2548 18:10 น. |
มีหน้าที่หลักๆอย่างไร ในส่วนประกอบของ D.C.มอเตอร์ ครับ |
18/03/2548 13:28 น. |
Interpole Winding มีหน้าที่หลักในการสร้างสนามแม่เหล็กเข้าไปหักล้างกับสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นที่โรเตอร์ในขณะขับโหลด เพราะถ้าไม่มีสนามแม่เหล็กของ อินเทอร์โปลเข้าไปหักล้าง สนามแม่เหล็กชองเมนโปล จะถูกสนามแม่เหล็กของโรเตอร์ทำให้ตำแหน่งที่เป็นจุดนิวตรอลโซนเปลี่ยนตำแหน่ง และเมื่อตำแหน่งของจุดนิวตรอลโซนเปลี่ยนแต่เราไม่เปลี่ยนตำแหน่งของซองถ่านตาม ผลที่ได้จะเกิดการสปาร์คขึ้นที่ถ่าน เนื่องจากการเกิดการคอมมิวเตชั่นที่ไม่สมบูรณ์<br> และเนื่องจาก อินเทอร์โปล สร้างมาเพื่อหักล้างสนามแม่เหล็กที่เกิดจากโรเตอร์ จึงมักจะสรุปง่ายว่า อินเทอร์โปลมีหน้าที่แก้ อาร์เมเจอร์รีแอคชึ่น |
22/03/2548 12:56 น. |
นิวตรอนโฃล,คอมมิวเตชั่นและอาร์เมเจอร์รีแอคชั่น 3คำนี้ มีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไรขอคำอธิบายมากกว่านี้ได้หรือไม่ครับเนื่องจากศึกษาขอ้มูลดานนี้มานอ้ยไปหน่อยขอบคุณครับ |
26/03/2548 13:18 น. |
คอมมิวเตชั่น คือการเปลี่ยนทิศทางของกระแสที่ไหลผ่านขดลวดอาร์เมเจอร์ โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสได้แก่ คอมมิวเตเตอร์และแปรงถ่าน สาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสในขดลวดอาร์เมเจอร์ก็เพราะ เมื่ออาร์เมเจอร์หมุนในสนามแม่เหล็กซึ่งมี ขั้วของขดลวดฟีลด์ที่เปลี่ยนไปตามองศาต่างๆของสเตเตอร์ ขั้วของโรเตอร์หรืออาร์เมเจอร์ต้องเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับขั้วของฟีลด์เพราะไม่ฉะนั้นมอเตอร์จะไม่หมุน ( อาจจะเป็นการดูดหรือผลัก )<br><br>การเปลี่ยนทิศทางการหมุนของกระแส ซึ่งจะใช้แปรงถ่านเป็นสะพานไฟที่ทำหน้าที่ส่งถ่ายกระแสผ่านทางคอมมิวเตเตอร์ และส่งต่อไปยังขดลวดอาร์เมเจอร์อีกที ในจังหวะของการเปลี่ยนทิศทางจะมีช่วงเวลาสั่นๆที่แปรงถ่านจะทำการชอ๊ตเซอร์กิตระหว่างซี่คอมมิวเตอร์อาจจะเป็น 2 หรือ 3 ซี่ขึ้นไป ซึ่งแต่ละซี่มีการต่ออยู่กับขดลวดอาร์เมเจอร์ ซึ่งในขณะที่ชอ๊ตอยู่นี้ ถ้าขดลวดที่ต่ออยู่ยังอยู่ในทิศทางที่ตัดสนามแม่เหล็กที่ฟีลด์ ก็จะทำให้เกิดการสปารค์ขึ้นที่แปรงถ่านและหน้าคอมมิว ฉะนั้นตำแหน่งของแปรงถ่านจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ขดลวดไม่ตัดกับสนามแม่เหล็กของเมนโปลหรือขดลวดฟีลด์ หรือพูดง่ายๆว่าในขณะที่ซี่คอมมิววิ่งผ่านแปรงถ่าน ขดลวดที่ต่ออยู่กับซี่คอมมิวที่อยู่ใต้แปรงถ่าน จะต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่ตัดกับสนามแม่เหล็กของเมนโปล ซึ่งตำแหน่งนั้นจะเรียกว่า นิวตรอลโซน<br><br>ถึงแม้ว่าเราสามารถที่จะหานิวตรอลโซนได้แล้วในขณะที่มอเตอร์ไม่ได้ขับโหลด แต่เมื่อมอเตอร์ถูกนำไปขับโหลด สนามแม่เหล็กที่เกิดจากอาร์เมเจอร์จะไปทำให้ตำแหน่งของนิวตรอลโซนของเดิมเปลี่ยนไป ทำให้ต้องมีการออกแบบอินเทอร์โปลขึ้นมาเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กมาหักล้างกับสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นที่อินเทอร์โปล ซึ่งก็หมายความว่า อินเทอร์โปลสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ผลที่เกิดจากอารเมเจอร์ ซื่งก็จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า อาร์เมเจอร์รีแอคชั่น |
26/03/2548 17:45 น. |
ผมพอจะเข้าใจบ้างแล้วครับขอขอบคุณสำหรับคำตอบของคุณช่างซ่อมมอเตอร์ ผมเคยเจอ มอเตอร์ ดีซีตัวใหญ่บางตัวมีขดลวดอยู่ชุดหนึ่งที่เรียกว่า คอมเพนเสท (ไม่ทราบว่าสะกดถูกหรือปล่าวนะ)ไม่ทราบว่าทำหน้าที่เหมือน อินเทอโปลใหม๋ครับ |
27/03/2548 09:46 น. |
เป็นคำถามที่ดีครับ มอเตอร์ดีซี ถ้าเป็นขนาดไม่ใหญ่มากนัก โครงสร้างของสเตเตอร์จะประกอปด้วย ขดลวดฟีลด์ และขดลวด อินเทอร์โปล ใหญ่ขึ้นมาอีกนิดหนึ่งหรือต้องการออกแบบให้การเกิดอาร์เมเจอร์รีแอคชั่นน้อยลงไปอีก ก็จะมีการเพิ่มขดลวด คอมเพนเสท ( Compensating Winding )ซึ่งจะพัน อยู่บนผิวหน้าของขั้วฟีลด์โปลอีกทีหนึ่ง มีหน้าที่เหมือน อินเทอร์โปล แต่จะช่วยการแก้อาร์เมเจอร์รีแอคชึ่นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น<br><br> และถ้าเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่มาก ๆ โครงสร้างของสเตเตอร์ก็จะมีขดลวดเพิ่มขึ้นอีก 1 ชุดคือ ซีรีย์ฟีลด์ ซึ่งจะพันอยู่บนรวมกับฟีลด์คอยล์ หน้าที่ก็จะเหมือนกับอินเทอร์โปลและคอมเพนเสท โดยจะไปช่วยเสริมการทำงานของอินเทอร์โปลและคอมเพนเสทให้สามารถแก็อาร์เมเจอร์รีแอคชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ<br><br>และเนื่องจากอาร์เมเจอร์รีแอคชึ่น จะแปรผันตามโหลดหรือกระแสของอาร์เมเจอร์ จึงทำให้ ขดลวดทั้งสามจะต้องต่ออนุกรมกับ อาร์เมอเจอร์ แต่จะมีข้อสังเกตุที่พึงระวังดังนี้<br> 1. ขดลวดอินเทอร์โปล และ คอมเพนเสท ส่วนมากจะต่อตายตัวอนุกรมกับอาร์เมเจอร์ออกมาแค่ 2 สายสำหรับ ไฟจ่ายเข้า<br> 2. ถ้ามอเตอร์มีขดลวด ซีรีย์ฟีลด์ อยู่ด้วย ขดลวดนี้จะถูกต่อสายออกมาที่เทอร์มินอลบล็อกด้วย เพื่อนำมาต่ออนุกรมข้างนอกกับขดลวดอาร์เมเจอร์และอื่นๆ สาเหตุที่ต้องนำมาต่อด้านนอกเพราะขดลวดซีรีย์ฟีลด์ จะต้องมีขั้วสนามแม่เหล็กที่สร้างขึ้นเสริมกับขั้วแม่เหล็กของขดลวดฟีลด์<br> 3. การกลับทางหมุนของมอเตอร์ในข้อสอง จึงทำได้ 2 วิธี คือ <br> 3.1 กลับขั้ว แหล่งจ่ายที่จ่ายให้กับ อาร์เมเจอร์+ อินเทอร์โปล+คอมเพนเสท แต่ ขั้วของซีรีย์ฟีลด์ ยังมีขั้วตามเดิม<br> 3.2 กลับขั้วแหล่งจ่ายที่จ่ายให้กับขดลวดฟีลด์คอยล์ และ ซีรีย์ฟีลด์ แต่ด้วยวิธีนี้ ไม่เป็นที่นิยมใช้เพราะมีข้อจำกัดของการใช้งานมอเตอร์ จึงทำให้จะใช้วิธีการในข้อ 3.1 จึงเป็นสาเหตุที่ต้องต่อสายของขดลวดซีรีย์ฟีลด์ออกมาข้างนอก ทั้งที่ การใช้งานจะต่ออนุกรมกับอาร์เมเจอร์ก็ตาม<br> |
31/03/2548 12:47 น. |
การเปลี่ยนแปลงถ่านของมอเตอร์ dc ถ้าจะให้ได้ผลดีและใช้งานได้ดีเหมือนเดิมควรจะต้องคำนึงถึงและระวังในสิ่งใดบ้างครับ(กรณีที่มอเตอร์ติดตั้งอยู๋กับโหลดครับ) |
31/03/2548 18:09 น. |
สิ่งที่ต้องคำนึงในการเปลี่ยนแปลงถ่าน<br> 1. เกรดถ่าน หรือ วัสดุส่วนผสมที่ใช้การผลิตแปรงถ่าน<br> 2. ขนาดของถ่าน ความกว้าง ความหนา และ ความยาว<br> 3. รูปแบบโครงสร้างของถ่าน ( หางปลา , จำนวนชิ้นต่อซอง , การรองฉนวนที่บริเวณ สปริงจับกด ) ต้องเป็นแบบเดิม เพราะรูปแบบของแปรงถ่านถูกออกแบบมาให้ใช้งาน เฉพาะในงานแต่ละประเภท<br> 4. ขนาดของซองถ่าน ต้องไม่สึกชำรุด ทำให้เกิด Clearance ระหว่างถ่านกับซองมีผลทำให้เกิดการสั่นในขณะใช้งาน ( ตัวเลขจำไม่ได้ต้องค้นดู หรือหาดูได้จาก คู่มือมอเตอร์ที่ให้มาพร้อมกับมอเตอร์ )<br> 5. ระยะห่างระหว่างซองกับผิวคอมมิวเตเตอร์ควรมีค่าอยู่ในช่วง 2-3 มม. เพราะถ้ามากกว่านี้จะทำให้เกิดการแกว่งไปมาของถ่านเช่นกัน ปัญหานี้อาจจะเกิดกับมอเตอร์ที่ส่งซ่อมและ ไปกลึงผิวคอมมิว และไม่ได้มีการปรับเซตระยะตรงนี้ใหม่<br> 6. การขัดถ่านให้ได้ curve กับผิวคอมมิว มากที่สุดน่าจะเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในขบวนการเปลี่ยนแปรงถ่าน คงต้องพยายามทำให้เข้ารูปร่างกับผิวคอมมิวมากที่สุด<br><br> ถ้ามีการตรวจสอบ และปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น การใช้งานของมอเตอร์จะได้ผลดีเหมือนเดิม |
06/04/2548 12:34 น. |
ขอขอบคุณอีกครั้งครับสำหรับคำตอบ |
12/01/2551 21:50 น. |
หน้าจะมีคำตอบ หลายกว่านี้นะครับ |
16/06/2551 13:52 น. |
การเกิดอาร์เมเจอร์รีแอดชั้นคืออะไร และวิธีแก้ทำอย่างไงคับ |
18/08/2551 11:46 น. |
ก็ดี<br> |
28/09/2551 00:42 น. |
ปัญาหาของคอมมิวเตชั่นมีอะไรบ้าง และมีวิธีแก้อย่างไรคับ |
05/11/2551 15:34 น. |
ขอบคุณคำตอบที่ 3 คับ |
12/02/2552 18:14 น. |
ขอบคุงมากนะค่ะ<br><br>ที่ให้ข้อมูล |
06/08/2552 15:30 น. |
นิวตรอนโฃล,คอมมิวเตชั่นและอาร์เมเจอร์รีแอคชั่น 3คำนี้ มีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไรขอคำอธิบายมากกว่านี้ได้หรือไม่ครับเนื่องจากศึกษาขอ้มูลดานนี้มานอ้ยไปหน่อยขอบคุณครับ <br> <br> <br> |