05/03/2548 10:12 น. |
ระบบของผมใช้เจนเนอเรเตอร์เป็นตัวจ่ายไฟ ซึ่งแรงดันที่ได้จากเจน ระหว่างไลน์ -ไลน์ เท่ากับ 460 V ส่วนแรงดันระหว่างไลน์ -นิวตรอลเท่ากับ 265 V <br>อยากถามว่าจากระบบดังที่กล่าวมา ถ้าผมจะนำมอเตอร์ แบบ 1 เฟส (ชนิด แคปสตาร์ท และ แคบรัน) ซึ่งใช้แรงดันตามเนมเพลท 230 V ที่ 50 hZ หรือ 220 V ที่ 60 hZ มาต่อใช้งานจะมีปัญหาหรือไม่ อย่างไร รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ |
05/03/2548 13:50 น. |
เท่าที่ผมพอจะทราบก็คือ มอเตอร์จะมีกำลังสูงขึ้น แต่กระแสของคอยล์ก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามทำให้มอเตอร์ร้อน เผลอๆ กระแสอาจจะสูงเกินกว่าที่ลวดทองแดงขนาด diameter เท่าเดิมจะรับได้.............แต่ถามว่าใช้ได้มั๊ย คิดว่าใช้ได้นะ ลองรันซัก 1-2 ชม ดูว่ามอเตอร์ร้อนหรือเปล่า ถ้าไม่ร้อนมากเกินกว่าปกติก็ใช้ได้ครับ แต่ว่าจะมีผลระยะยาวคืออายุการใช้งานจะน้อยลงเพราะเราใช้งานมอเตอร์ที่เกินกว่าสภาวะที่เหมาะสม(Optimize region) |
08/03/2548 11:55 น. |
ขอข้อมูลเกี่ยวกับความถี่ที่เจนเนอเรเตอร์ผลิตด้วยครับ จะได้ให้ความคิดเห็นได้ตรงประเด็นโดยไม่ต้องตอบเผื่อกรณีอื่นๆ เพราะความถี่ที่ผลิตจากเจนเนอเรเตอร์น่าจะเป็น 60 เฮิรทซ์ ขอคำยืนยันอีกครั้งหนึ่ง |
08/03/2548 13:01 น. |
แรงดันจากเจนเนอเรเตอร์เป็น 60 เฮิรทซ์ ครับ<br> |
12/03/2548 15:47 น. |
มอเตอร์ 220 V. 50 HZ สามารถนำไปใช้กับระบบแรงดัน 265 V. 60 Hz. ได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะเมื่อความถี่เพิ่มขึ้นจาก 50 เป็น 60 Hz. ( เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซนต์ ) มอเตอร์จะต้องการแรงดันเพื่อจ่ายให้กับมอเตอร์ เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซนต์ ( 220 x 1.2 = 264 ) เพื่อชดเชยความถี่ที่เพิ่มขึ้นในเงื่อนไขที่ทำให้กระแสพิกัดเท่าเดิม และจะมีผลทำให้ทอร์คเท่าเดิม และเมื่อทอร์คเท่าเดิม และความเร็วรอบเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซนต์ก็จะมีผลทำให้แรงม้าของมอเตอร์เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซนต์ |
06/06/2549 14:26 น. |
ผมยังงงอยู่ครับที่ว่า ความถี่สูงขึ้นต้องชดเชยแรงดัน ผมกลับคิดว่าเมื่อความถี่เพิ่มแรงคันเฉลี่ยน่าจะมากกว่า น่าจะลดแรงดันนะครับ ไม่รู้ว่าผมคิดถูกหรือเปล่า |