10/12/2547 12:11 น. |
1.ทำไมต้องเอาสาย Neutral ต่อร่วมกับสาย Earth (E, PE) หรือ Ground (GND) หรือหลักดิน สายดิน แล้วถ้าสมมติว่าจุดต่อร่วม (N + E) ที่ตู้ MDB เกิดหลุด จะทำงัย เพราะแรงดันจากเฟสอื่น หรือ network อื่นมันจะย้อนกลับมาทาง Instrument ประเภท R เช่น Heater เข้าเครื่องใช้ไฟ้าอืน ๆ<br>2.ถ้าระบบไฟฟ้าต้องการ ดิน หรือระบบสายดิน แล้วบนเครื่องบินต้องเอากระถางใส่ดินขึ้นไปด้วยหรือไม่ |
01/01/2548 02:29 น. |
อืม อันแรกงงอะคับ แต่อัน 2 คิดว่าคงจะให้ body เครื่องบิน เป็น Ground มั่งคับ มันก้อคงคล้ายๆ กับรถยนต์ที่ให้ body เป็น Ground คับ เป็นการเทียบความต่างศักย์อ้างอิงคับ |
12/03/2548 14:45 น. |
ศึกษาระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบสายดินได้ที่<br><a href="http://www.stabil.co.th" Target="_BLANK">http://www.stabil.co.th</a><br>โทรศัพท์ 0-2681-5533<br> |
14/03/2548 09:11 น. |
สายดินคืออะไร<br><br>สายดิน หมายถึงตัวนำหรือสายไฟที่ต่อจากส่วนที่เป็นตัวนำไฟฟ้าหรือเปลือกโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าซึ่งปกติเป็นส่วนที่ไม่มีไฟและมักมีการจับต้องขณะใช้งานเพื่อ ให้เป็นเส้นทาง ที่สามารถนำกระแสไฟฟ้า กรณีที่มีไฟรั่วให้ไหลลงดินโดยผู้ใช้ไฟไม่เกิดอันตราย ขณะเดียวกันก็เป็นเส้นทาง ให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลย้อนกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าได้สะดวก เพื่อให้เครื่องตัดไฟอัตโนมัติทำงานและตัดไฟออกทันที โดยทั่วไปสายไฟดังกล่าวมักเรียกสั้นๆว่า สายดิน <br><br>ประโยชน์ของสายดิน ป้องกันไม่ให้มีผู้ถูกไฟฟ้าดูด กรณีมีกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่ว จากเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไหลลงดินทางสายดิน โดยไม่ผ่านร่างกายผู้สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เป็นผลทำให้อุปกรณ์ป้องกัน ไฟฟ้าลัดวงจรและหรือไฟฟ้ารั่ว จะตัดกระแสไฟฟ้าออกทันที เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ อุปกรณ์สื่อสารอาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์ หรือชำรุดได้ง่ายหากไม่มีสายดิน<br><br>เครื่องใช้ไฟ้าที่ต้องมี/ไม่มีสายดิน<br><br>เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ต้องมีสายดิน เครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าที่มีโครง หรือเปลือกหุ้มเป็นโลหะ ซึ่งบุคคลมีโอกาสสัมผัสได้ต้องมีสายดิน เช่น ตู้เย็น , เตารีด , เครื่องซักผ้า , หม้อหุงข้าว , เครื่องปรับอากาศ , เตาไมโครเวฟ , กะทะไฟฟ้า , กระติกน้ำร้อน , เครื่องทำน้ำร้อนหรืออุ่น , เครื่องปิ้งขนมปัง เป็นต้น เราเรียกเครื่องใช้เหล่านี้ ว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 <br>เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ไม่ต้องมีสายดิน เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 ซึ่งมีสัญลักษณ์ หรือมีเครื่องหมาย (ควรใช้ไขควงลองไฟทดสอบ ถ้ามีสัญลักษณ์ประเภท 2 แต่ยังไม่ไฟรั่วก็แสดงว่า ผู้ผลิตนั้นผลิตไม่ได้มาตรฐานและจำเป็น ต้องมีสายดิน) ตัวอย่างของเครื่องใช้ฯ ประเภท 2 เช่น วิทยุ , โทรทัศน์ , พัดลม เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า ไม่เกิน 50 โวลต์ โดยต่อจากหม้อแปลงชนิดพิเศษที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อความปลอดภัย เช่น เครื่องโกนหนวด , โทรศัพท์ เป็นต้น <br>สัญลักษณ์และสีของสายดิน<br><br>เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเครื่องหมาย แสดงว่าต้องมีสายดิน โดยมักจะแสดงไว้ในตำแหน่งหรือจุดที่จะต้องต่อสายดิน สีของสายไฟฟ้าเส้นที่แสดงเป็นสายดิน คือ สีเขียว หรือ สีเขียวสลับเหลือง<br><br>วิธีติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง<br><br>จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (จุดต่อลงดินของเส้นศูนย์หรือนิวตรอน) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรก ของตู้เมนสวิตช์ <br>ภายในอาคารหลังเดียวกันไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด <br>สายดินและสายเส้นศูนย์สามารถต่อร่วมกันได้เพียงแห่งเดียวที่จุดต่อลงดิน ภายในตู้เมนสวิตช์ ห้ามต่อร่วมกันในที่อื่นๆ อีก เช่น ในแผงสวิตช์ย่อยจะต้องมีขั้วสายดินแยกจากขั้วต่อสายศูนย์ และห้ามต่อถึงกัน โดยมีฉนวนคั่นระหว่างขั้วต่อสาย เส้นศูนย์กับตัวตู้ซึ่งต่อกับขั้วต่อสายดิน <br>ตู้เมนสวิตช์ ำหรับห้องชุดของอาคารชุดและตู้แผงสวิตช์ประจำชั้นของอาคารสูงให้ถือว่าเป็นแผงสวิตช์ย่อย จึงห้ามต่อสาย เส้นศูนย์และสายดินร่วมกัน <br>ไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง แต่ถ้าได้ดำเนินการไปแล้วให้แก้ไข โดยมีการต่อลงดินที่เมนต์สวิตช์ อย่างถูกต้องแล้วเดินสายดินจากเมนสวิตช์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม <br>ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ชนิด 120/240 V กับระบบไฟ 220 V เพราะพิกัด IC จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง <br>การมีเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วด้วย จะเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เช่น กรณีที่มักจะมีน้ำท่วมขังหรือกรณี สายดินขาด เป็นต้น และจุดต่อลงดินต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่วเสมอ <br>ถ้าตู้เมนสวิตช์ไม่มีขั้วต่อสายดินและขั้วต่อสายเส้นศูนย์แยกออกจากกัน เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วจะต่อใช้ได้เฉพาะ วงจรย่อยเท่านั้นจะใช้ตัวเดียวป้องกันทั้งระบบไม่ได้ <br>วงจรสายดินที่ถูกต้องในสภาวะปกติจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล <br>ถ้าเดินสายไฟในท่อโลหะ จะต้องเดินสายดินในท่อโลหะนั้นด้วย <br>ดวงโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งที่เป็นโลหะควรต่อลงดิน มิฉะนั้นต้องอยู่เกินระยะที่บุคคลทั่วไปสัมผัสไม่ถึง (สูง 2.40 เมตร หรือห่าง 1.50 เมตร ในแนวราบ) <br>ขนาดและชนิดของอุปกรณ์ระบบสายดิน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฏการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของ การไฟฟ้านครหลวง |
23/08/2548 17:47 น. |
การป้องกันฟ้าผ่าควรทำอย่างไร |
29/08/2548 13:05 น. |
สายดินมีกี่ลักษณะ |
29/08/2548 13:10 น. |
5 ลักษณะ |
29/08/2548 13:14 น. |
ความรักคืออะไร |
05/11/2548 12:47 น. |
หากไม่มีเครื่องวัดสายดินจะมีวิธีเช็คความต้านทานระหว่างแท่งกราวด์กับดินอย่างไร |
17/01/2549 10:26 น. |
การให้ |
17/01/2549 10:30 น. |
ผู้หญิงทำไมนมใหญ่ |
24/02/2549 13:53 น. |
เข้าใจว่าการต่อ N-E เพื่อให้ระดับไฟฟ้าที่ Neutral เป็นศูนย์ Volt จริง เมื่อเทียบกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า(โรงผลิตกระแสไฟฟ้า) ที่มีการต่อ Neutral กับ Earth เชื่อมกัน ในทางไฟฟ้าถือว่าโลกเป็นตัวนำที่มีค่าความนำมหาศาล เพราะความใหญ่โตและปริมาณเนื้อดิน ความชื้นและแร่ธาตุที่มีอยู่มากมายที่จะนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ดังนั้นจึงมีการนำสาย Ground ต่อเข้าเนื้อดินหรือ earth ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า หรือที่ตู้ MDB ก็จะมีการต่อสายดิน การเชื่อมสาย Neutral เข้ากับ Ground ซึ่งต่อลง Earth ทำให้ neutral มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ 0 โวลท์นั่นเอง ในการใช้งานจริงระยะทางจากโรงไฟฟ้าหรือจากหม้อแปลงถึงผู้ใช้ไฟฟ้ามีระยะทางหลายกิโลหรือหลายสิบเมตรก็ตามทำให้ ความยาวของสายไฟที่ต่อมายังผู้ใช้จะมีระยะยาวทำให้เกิดความต้านทานภายในสาย เมื่อมีกระแสไหลผ่านจึงเกิดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมสาย Neutral หากเราไม่เชื่อม Neutral กับ Ground จะทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่าง Neutral กับ Ground เมื่อเทียบกับระบบไฟฟ้าโดยรวมทำให้ Neutral มีค่ามากกว่า 0 โวลท์ ทำให้ระบบไฟฟ้าไม่มีเสถียรภาพ ในบางครั้งระบบไฟฟ้าโรงงานที่ไม่ทำการ Balance Phase จะมีกระแสไหลใน neutral หลายสิบแอมป์ทำให้เกิดแรงดันที่ Neutral ถึง 40 โวลท์ เป็นผลทำให้แรงดันระหว่าง Line กับ Ground เท่ากับ 220+40= 260 V ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ไฟ AC หรือ Load ที่ Sensitive ต่อค่าแรงดันเช่น Surge Arrester จะไหม้หรือระเบิด แต่ในบางครั้งอุปกรณ์จำพวก Switcing ก็สามารถทำให้เกิดกระแสใน Neutral และเกิด Voltage ระหว่าง Neutral กับ Ground ได้เช่นกัน เนื่องจากการสร้าง Harmonic ของอุปกรณ์ การแก้ปัญหาจึงควรวิเคราะห์ให้ดีว่าสาเหตุมาจากสิ่งใด |
24/02/2549 14:00 น. |
บนเครื่องบินไม่ต้องเอากระถางดินขึ้นไป เพราะต้นกำเนิดไฟฟ้าบนเครื่องบินไม่ได้มีการอ้างอิงระดับแรงดันกับพื้นโลก แต่ระดับอ้างอิงของระบบไฟฟ้าบนเครื่องบินอยู่ทีตัวถังเครื่องบิน หากมาการต่อระดับอ้างอิง(Ground ) เข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ทุกตัวภายในเครื่องบิน ก็ทำให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพได้เช่นกัน อีกอย่างหนึ่งคือภายในโครงสร้างเครื่องบินที่เป็นระดับอ้างอิงแรงดันไฟฟ้า จะเป็นตัวป้องกันฟ้าผ่าได้เป็นอย่างดี.... อย่าลืมว่า ระบบไฟฟ้าบนโลกอ้างอิงกับ Ground ที่ต่อเข้ากับ Earth แต่ระบบไฟฟ้าบนเครื่องบินอ้างอิงกับตัวถังเครื่องบิน จึงไม่จำเป็นต้องใช้กระถางใส่ดินขึ้นไปจ้า.... |
25/04/2549 13:21 น. |
SEFCO SUPPLY CO.,LTD.<br>224/5 Bornstreet Rd.Bangpood,Pakkred,Nonthaburi,Thailand.11120<br>Tel.02-960-1557-8 Fax.02-960-1559 <a href="mailto:Email:sefco55@yahoo.com" Target="_BLANK">Email:sefco55@yahoo.com</a><br><a href="http//www.sefco.co.th" Target="_BLANK">http//www.sefco.co.th</a><br><br>ตัวแทนจำหน่าย<br>อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า (Lightning Protection System)หัวล่อฟ้ารุ่น ESE<br>มีรัศมีป้องกัน ตั่งแต่ 50 เมตร ถึง 120 เมตร <br>ยี่ห้อ LPI , ERICO , INGESCO , Sent-Elmo , Prevectron2 , IONOSTAR <br> มีกรมธรรณ์คุ่มครอง 10 ล้านบาท <br><br>อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (Surge Protection System)<br>ยี่ห้อ ERICO , LPI , CRITEC , IT-Protector , MCG, Phoenix<br><br>อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)<br>ยี่ห้อ Notifier,Fire-Lite,Edwerd,EST,Mirtone,Hochiki,Nohmi,Siemens,<br>Honeywell,CEMEN.<br> |
06/09/2549 22:00 น. |
ซีม |
10/11/2549 15:44 น. |
มีการรักษาอย่างไร |