09/11/2547 20:40 น. |
ผมอยากทราบขอ้มูลเกี่ยวกับ ตัวตรวจจับอุณภูมิที่ขดลวดของมอเตอร์ว่ามีกี่ชนิด กี่แบบ (บางคนเรียก RTD บางคนเรียก THERMISTER) งง!!!!! ครับ ทำงานแตกต่างกันอย่างไรช่วยชี้แนะดว้ยครับ |
09/11/2547 21:34 น. |
Temperature Detector ( ตัวตรวจจับความร้อน )ที่ใช้ในการตรวจจับความร้อนของมอเตอร์แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท<br>1. ไบเมทอลลิค ( เทอร์โมสตัท )( Bimetallic ( Thermostat )<br>2. เทอร์มิสเตอร์ ( Thermister )<br>3. อาร์ทีดี ( RTD )<br>4. เทอร์โมคัปเปิ้ล ( Thermocouple )<br><br>Bimetallic ทำงานเหมือนเทอร์โมสตัทของเตารีด จะถูกติดตั้งไว้ที่ขดลวดบริเวณปลายคอยล์เนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เพราะตัวมันเองจะมีหน้าคอนแทคอยู่ที่ตัวของมันเอง การใช้งานจะนำไปต่อเข้ากับชุดคอนโทรลโดยตรง<br><br>Thermister จะทำงานร่วมกับรีเลย์ ตัวมันเองมีขนาดเล็ก และเป็นตัวตรวจจับความร้อนที่นิยมใช้มากที่สุด แต่มีข้อเสียที่ไม่สามารถวัดอุณหภูมิได้<br><br>RTD มีหลายประเภท ประเภทที่นิยม คือ PT100 โดยที่ PT100 มีความหมายว่า ที่อุณหภูมิ 0 องศาตัว PT100 จะมีค่าความต้านทาน 100 โอห์ม RTD ต้องใช้ร่วมกับรีเลย์เช่นกัน สามารถเซทได้เป็นทั้งชุดป้องกันอุณหภูมิสูง หรือใช้วัดค่าอุณหภูมิได้เลย<br>ข้อเสียมีราคาค่อนข้างแพง เลยมักจะใช้ติดตั้งกับมอเตอร์ที่เป็นมอเตร์ขนาดใหญ่และมีแรงดันเป็นระดับ Medium Volt<br><br>Thermocoulple เป็นตัวตรวจจับทีไม่นิยมใช้ตรวจจับอุณหภูมิของขดลวด เนื่องจากหลักการทำงานตัวมันเองจะผลิตแรงดันออกมา ฉะนั้นเมื่อนำไปติดตั้งในที่มีสนามเเม่เหล็กจะก่อให้เกิดสัญญานรบกวนค่อนข้างมาก จึงมักจะนิยมใช้ติดตั้งเพื่อวัดอุณหภูมิด้านนอกมอเตอร์ จำพวก แบริ่ง นำมันหล่อลื่น<br><br>คงเป็นข้อมูลคร่าวๆถ้าอยากทราบข้อมูลจุดไหนเป็นพิเศษ ก็เขียนมาถามกันได้ |
10/11/2547 11:23 น. |
ผมยังสงสัยเกี่ยวกับตัว thermister ตรงที่บอกว่ามีข้อเสียตรงที่ไม่สามารถวัดอุณหภูมิได้อยากขอให้ช่วยขยายความอีกซักหน่อยว่าเพราะเหตุใดครับ |
10/11/2547 12:32 น. |
ดีครับที่สงสัยแล้วไม่ทิ้งความสงสัยไว้ในใจ<br>Bimetallic และ Thermister เป้นอุปกรณ์ตัวจับความร้อนที่ใช้สำหรับป้องกันอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่ตัวเซนเซอร์<br><br>Thermister เกิดจากการโด๊ปสารเซมิคอนดักเตอต์ประเภทหนึ่ง ทำให้มีคุณสมบัติมีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ<br><br>Thermister มีอยู่สองประเภทคือ NTC และ PTC ชนิดที่ใช้ในวงการมอเตอร์ คือ ชนิด PTC โดยมีหลักการทำงานคือค่าความต้านทานของตัวมันจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นของค่าความต้านทาน จะไม่เป็นเส้นตรง และมีการลดลงในบางช่วงซึ่งเป็นช่วงที่ไม่อยู่ในจุดที่ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น Thermister 130 องศาถ้าเราให้ความร้อนที่ตัวเซนเซอร์ในช่วงแรกค่าความต้านทานของมันจะลดลงเล็กน้อย ปกติค่าความต้านทานจะอยู่ประมาณ 50 โอห์มที่ 30 องศา แต่เมื่ออุณหภูมิที่ตัวเซนเซอร์ตรวจจับได้มีอุณหภูมิประมาณ 115 องศาค่าความต้านทานของมันจะเพิ่มสูงขึ้นและจะสูงขึ้นเกือบเป็นเส้นตรงเมื่อมีอุณหภูมิที่ตัวจับได้ 125 องศา<br><br>จะเห็นได้ว่าค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงที่เป็นแบบไม่คงที่นี้จึงไม่สามารถที่จะนำไปใช้ในการวัดค่าความร้อนได้<br><br>Thermister จะถูกนำไปต่อเข้ากับ Thermister Relay ที่มีหน้าที่คอยตรวจจับค่าความต้านทานของ Thermister ว่ามีความต้านทานตามที่กำหนดไว้หรือยังซื่งปกติจะอยู่ประมาณ 2700 -3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่าThermister 130 ที่อุณหภูมิ 130 องศาตัวมันเองจะมีค่าความต้านทานที่เกินกว่าค่า 2700-3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่าเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 130 องศาค่าความต้านทานของ Thermister จะเป็นตัวสั่งให้ Thermister Relay trip วงจรออก <br><br>จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าหากเราต้องการเปลี่ยนจุดทริปของวงจรควบคุมมอเตอร์ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เราต้องทำการเปลี่ยน ชนิดของเทอร์มิสเตอร์ ไม่ใช่ไปปรับแต่งที่ เทอร์มิสเตอร์รีเลย์<br><br>อ้ออีกนิดหนึ่ง เทอร์มิสเตอร์ประเภท NTC จะมีคุณสมบัติตรงข้ามกับแบบ PTC และให้อัตราการเปลี่ยนแปลงด้านความต้านทานต่ออุณหภูมิที่ค่อนข้างเกือบคงที่กว่า แต่มักจะถูกใช้ในตัวเซอร์ประเภทเครื่องมือวัดอุณหภูมิประเภทมือถือซะเป็นส่วนใหญ่ |
19/11/2547 10:54 น. |
เพิ่มเติม RTD PT100 ที่ว่าจะมีความต้านทาน 100 ohm ที่ 0 องศา ตัวเขาจะมีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานต่ออุณหภูมิเท่ากับ 0.385 ohm/deg.c นั่นหมายความว่าหากเราวัดได้ความต้านทานได้ 120 ohm [ (120-100)/0.385 -> 31.17 Deg.C ] |
23/02/2548 10:43 น. |
ผมคาดว่าคุณ Ting Tong อาจจะกดเครื่องคิดเลขผิดน่ะ เพราะที่ 120 โอห์ม อุณหภูมิน่าจะเป็น ( 120-100 ) = 20 / 0.385 =51.94 องศา |
13/11/2548 19:32 น. |
ผมอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับtypeของtermocouppleและการแบ่งชนิดของtermocouppleว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้างขอบคุณครับ<br> |
22/12/2548 09:56 น. |
ผมอยากถามเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวตรวจจับความร้อน |
15/02/2549 21:07 น. |
อยากทราบthermocoupleที่จำหน่ายมีของบริษัทใดบ้าง |
08/05/2549 10:23 น. |
thermocouple มี 7 type มี J ,K,T,E,R,S,B ซึ่งแต่ละtypeจะใช้ลวดโลหะต่างชนิดกัน เนื่องจากthermocouple มีหลักการทำงานคือ เมื่อนำลวดโลหะ2 เส้นที่ทำด้วยโลหะต่างชนิด กันมาเชื่อมปลายทั้งสองเข้าด้วยกันถ้าจุดปลายมีอุณหภูมิต่างกันจะทำให้เกิดกระแสไฟไหลในวงจรเส้นลวด ส่วนใหญ่เรานิยมใช้ type k เพราะย่านในการวัดกว้างสุด |
03/06/2549 00:44 น. |
type K มีค่าความผิดพลาดในช่วงอุณหภูมิต่างน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ type อื่น ๆ แต่อย่าไปเทียบกับ pt100 เพราะ pt100 มีค่าความเป็นลิเนียร์สูงมาก |
03/06/2549 00:52 น. |
Pt100 ตามตารางเทียบอุณหภูมิ ที่ 30 C = 111.67 โอห์มครับ ถ้า 120 โอห์ม จะได้ 51 C ตามที่คุณช่างซ่อมมอเตอร์ครับ |
05/06/2549 13:09 น. |
อยากทราบว่าที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส จะมีค่าเป็นองศาฟาเรนไฮด์เท่าไรครับ??? |
10/08/2549 13:04 น. |
โครงสร้างthermister |
19/10/2549 14:51 น. |
-40 องศาเซลเซียส <br>คิดดังนี้<br>(-40*9/5)-32 ครับ ได้ = -104 F |
19/10/2549 15:00 น. |
ขอเพิ่มเติมคุณช่างซ่อมมอเตอร์ครับ<br>thermister เป็น สารกึ่งตัวนำ สามารถมองเป็นความต้านทานได้<br>แต่จะขึ้นอยู่กับว่าเขาโด๊ปสารชนิดใด ซึ่งจะทำให้คุณสมบัติต่างกัน นั่นคือ เป็นแบบ PTC หรือ NTC สามานำมาคำนวณหาอุณหภูมิได้นะครับ เพียงแต่มันไม่ลิเนียร์ ลักษณะความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกับความต้านทานจะเป็นแบบเอ็กโปเนนเชียล ตามสมการนี้นะครับ<br>Rt=Ro*exp(beta*(1/T-1/To)) ซึ่งมีหลายเบอร์แต่ละเบอร์ก็มีความต้านทานที่อุณหภูมิห้อง(25 C) แตกต่างกันไป ค่า beta ก็ต่างกัน |