31/01/2546 10:34 น. |
คือผมกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับสมาร์ทการ์ดอยู่ครับ อยากรู้โครงสร้าง มาตรฐาน การส่งและรับข้อมูลว่ารับยังไงรูปแบบไหนและอื่นๆครับแล้วแต่จะกรุณา ช่วยผมด้วยครับ |
22/03/2546 01:51 น. |
สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร<br><br>ข้อมูลที่อยู่บนสมาร์ทการ์ดนั้นสามารถแบ่งออกได้หลาย ๆ ส่วนดังนี้ <br>ข้อมูลที่อ่านได้เพียงอย่างเดียว <br>ข้อมูลที่เพิ่มได้อย่างเดียว <br>ข้อมูลที่ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างเดียว <br>ข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้เลย |
09/08/2546 16:57 น. |
สมาร์ทการ์ด : บัตรอเนกประสงค์สำหรับวันนี้และอนาคต <br><br><br>เมื่อเอ่ยถึงสมาร์ทการ์ด (Smart card) เชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกงงว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่ถ้าบอกว่ารู้จักบัตรเอทีเอ็มไหม คราวนี้คงพอเข้าใจได้ แต่ถ้าลองนึกย้อนหลังไปสักสิบปี บัตรเอทีเอ็มก็ยังเป็นของใหม่มาก ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงเรื่องราวของสมาร์ทการ์ด ว่ามันเป็นอะไร มีประโยชน์อย่างไร จนผู้เขียนกล่าวว่ามันเป็นบัตรอเนกประสงค์สำหรับวันนี้และอนาคต <br><br>สมาร์ทการ์ดคืออะไร<br>สมาร์ทการ์ด เป็นบัตรชนิดหนึ่งที่มีขนาดพอ ๆ กับบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มพลาสติก ที่มีการฝังชิพคอมพิวเตอร์ (Computer Chip) ไว้ภายในบัตร โดยที่ตัวชิพดังกล่าวนี้ ภายในบรรจุข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกรรมวิธีที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม <br><br>สมาร์ทการ์ดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ <br><br>1. สมาร์ทการ์ดแบบมีการสัมผัส (Contact smart cards) ซึ่งการใช้งานจำเป็นต้องมีการสอดใส่เข้าไปในเครื่องอ่านสมาร์ทการ์ด (smart card reader) <br>2. สมาร์ทการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส (Contactless smart cards) ซึ่งการใช้งานต้องการเพียงให้วางอยู่ใกล้ ๆ กับสายอากาศเท่านั้น <br><br>สมาร์ทการ์ดแบบมีการสัมผัสเป็นบัตรที่มีการผนึกชิพทองขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้ว เอาไว้ที่ด้านหน้าบัตร แทนการใช้แถบแม่เหล็ก (Magnetic stripe) ที่เคยพบเห็นใช้กันมากที่สุดในบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม เมื่อผู้ใช้สอดใส่บัตรเข้าไปในเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ดแล้ว มันจะสัมผัสกับหัวต่อหรือคอนเน็กเตอร์ทางไฟฟ้า ซึ่งจะทำการส่งถ่ายข้อมูลเข้าและออกจากชิพ <br>สมาร์ทการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส เป็นบัตรที่มองดูรูปร่างภายนอกแล้วคล้ายกับบัตรเครดิตพลาสติกแบบหนึ่ง ที่ภายในมีการผนึกชิพคอมพิวเตอร์และขดลวดสายอากาศไว้ภายใน ซึ่งใช้ในการติดต่อกับเครื่องรับ/เครื่องส่งที่อยู่ในระยะไกล (Remote receiver/transmitter) โดยทั่ว ๆ ไปเรามักใช้บัตรแบบนี้เมื่อต้องมีการดำเนินการทางด้านรายการ (Transactions) อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นที่ใช้กับการจัดเก็บเงินค่าผ่านทางด่วน <br><br>นอกจากบัตรสมาร์ทการ์ดทั้งสองแบบดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันยังมีการผลิตสมาร์ทการ์ดแบบผสมหรือที่เรียกว่า คอมบิการ์ด (Combi Card) ออกมาใช้งานอีกด้วย โดยบัตรแบบนี้เป็นบัตรใบเดียวแต่ทำหน้าที่เป็นทั้งสมาร์ทการ์ดแบบมีการสัมผัส และสมาร์ทการ์ดแบบไม่มีการสัมผัสเพื่อเพิ่มความสะดวกและประโยชน์ในการใช้งานมากขึ้น <br><br>สมาร์ทการ์ดมีข้อดีหลายประการที่ควรกล่าวถึง คือ <br>พิสูจน์แล้วว่ามีความไว้วางใจได้ดีกว่าบัตรที่ใช้แถบแม่เหล็ก <br>สามารถเก็บสะสมข้อมูลได้มากกว่าบัตรที่ใช้แถบแม่เหล็กเป็นร้อย ๆ เท่า <br>ลดโอกาสที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวและป้องกันการปลอมแปลงด้วยระบบป้องกันที่ซับซ้อน <br>สามารถเปลี่ยนมือและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ <br>ทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้มากมาย <br>สามารถนำไปใช้ในงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การขนส่ง ธนาคาร และการรักษาสุขภาพ เป็นต้น <br>สามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องโทรศัพท์และเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว <br>ทำงานด้วยเทคโนโลยีเซมิคอนดัคเตอร์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว <br><br>บัตรพลาสติค (Plastic Card)<br><br>ขนาดของบัตรพลาสติคกำหนดโดยมาตรฐานระหว่างประเทศ คือ ISO 7810 โดยมาตรฐานนี้ยังได้กำหนดถึงคุณลักษณะทางกายภาพของพลาสติคที่นำมาใช้ทำบัตรด้วย เช่น ความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิ และความยืดหยุ่นตัวในการใช้งาน ตำแหน่งของหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าและการทำงานของมัน ตลอดจนกำหนดว่าการติดต่อระหว่างวงจรร่วม (Integrated Circuit) หรือ IC กับโลกภายนอกเป็นอย่างไรอีกด้วย <br>มีพลาสติกอยู่หลายชนิดที่นำมาใช้ผลิตสมาร์ทการ์ด แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ พีวีซี (PVC - Polyvinyl Chloride) และเอบีเอส (ABS - Acrylonitrile Butadiene Styrene) อย่างไรก็ดี การใช้พีวีซีมีข้อดีคือสามารถพิมพ์ลายนูนได้ แต่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่วนเอบีเอสไม่สามารถพิมพ์นูนได้แต่นำกลับมาใช้งานใหม่ได้ <br><br><br><br><br><br>เรดิโอ แท็ก คืออะไร<br><br>ก่อนที่จะกล่าวถึงว่า เรดิโอ แท็ก (Redio Tag) คืออะไรนั้น ขอกล่าวถึงเรื่องของระบบ RFIS (RadioFrequency Identification Systems) ก่อน <br>ระบบ RFIS เป็นระบบตรวจพิสูจน์ด้วยการใช้คลื่นวิทยุ (RF) ประกอบด้วยแท็กวิทยุ (Radio Tag) และเครื่องอ่าน/เครื่องเข้ารหัส (Readers/Encoders) เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อระบบข่าวสารข้อมูลเข้าด้วยกัน ตัวแท็กวิทยุประกอบด้วยชิพและสายอากาศ ทั้งนี้สามารถผลิตมันในรูปใด ๆ ก็ได้ที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการ และสามารถนำไปใช้งานรวมเข้ากับเรื่องหรือสิ่งที่ต้องการตรวจพิสูจน์ได้ง่าย <br><br><br><br><br>แท็ก (Tag) จะถูกกระตุ้นให้ทำงานด้วยสัญญาณวิทยุที่มีความถี่ตามที่ได้กำหนดไว้ และส่งสัญญาณชุดหนึ่งตอบกลับมาให้ทราบ เครื่องอ่าน (ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องรับ-ส่งวิทยุ) สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนชิพได้ <br>ดังนั้น read/write radio tag จึงเป็น client ที่เล็กที่สุดของ Client/server information system <br><br>เรดิโอ แท็ก มีประโยชน์อย่างไรบ้าง<br><br>แท็กช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สามารถทำการตรวจพิสูจน์ด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ <br>แท็กที่ประกอบอยู่ในระบบตรวจพิสูจน์ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องได้ในระยะไกล ดังนั้นจึงสามารถเขียน (บันทึก) หรืออ่านข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสตัวบัตร <br>จากการที่ออกแบบผลิตภัณฑ์เสร็จสมบูรณ์ในตัว จึงสามารถนำแท็กไปใช้งานได้โดยไม่มีอะไรขัดขวางหรือทำให้อยู่ในรูปทรงสวยงาม แปลกตา น่าใช้ได้ตามต้องการ <br>สามารถอ่านแท็กได้แม้มองไม่เห็นตัวมัน ตัวอย่างเช่น อาจใส่ไว้ในภาชนะต่าง ๆ หรือแช่อยู่ในของเหลว <br>แท็กสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น การสั่นสะเทือน การกระแทกกระทั้นอย่างรุนแรง หรือมีฝุ่นละออง <br>สามารถโปรแกรมได้หลาย ๆ ครั้ง (มากกว่า 100,000 ครั้ง) <br>สามารถอ่านได้ในระยะไกลตั้งแต่ 30 เซนติเมตรหรือมากกว่านั้น <br>มีหน่วยความจำที่สามารถบันทึกข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ตั้งแต่ 64 บิต จนถึง 2 กิโลบิต <br>ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลภายใน โดยการป้องกันด้วยรหัสพิเศษ <br><br>ทางด้านผู้ผลิตนั้น แท็กจะมีบทบาทในการช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของคุณสู่ยุคการแข่งขันได้อย่างมั่นใจดังนี้ <br>ทำให้มันง่ายต่อการผลิตโดยอัตโนมัติ <br>ปรับปรุงวิธีการตรวจจับวัตถุ (object tracking) ให้ดีขึ้น <br>กำหนดตำแหน่งของวัตถุที่ตรวจจับได้ในเวลาที่เป็นจริง <br>ทำให้สามารถแนะนำบริการใหม่ ๆ แก่ลูกค้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการรับประกันว่า ข้อมูลที่อยู่ในแท็กจะมีความเที่ยงตรง <br>ป้องกันการปลอมแปลงผลิตภัณฑ์ ปกป้องยี่ห้อและโนว์-ฮาว (Know-how) <br>ส่งเสริมบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับองค์กรได้อย่างกว้างขวาง <br>แสดงถึงความเป็นผู้นำในวงการอุตสาหกรรม <br><br><br><br><br><br>กลไกในการควบคุมการเข้าถึงและรักษาความปลอดภัย<br><br>บัตรพลาสติกสามารถระบุหรือบ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ เช่น มีชื่อผู้ถือบัตรและรูปถ่าย ส่วนในสมาร์ทการ์ดมีกลไกในการรักษาความปลอดภัยแบบต่าง ๆ หลายแบบ โดยหากเป็นบัตรที่ใช้เก็บข้อมูลอย่างเดียว (memory-only card) แล้วจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าที่ใช้กับบัตรไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor card) <br>การเข้าถึงข้อมูลที่บรรจุภายในสมาร์ทการ์ดนั้น ควบคุมได้ 2 แนวทางคือ <br>ใครบ้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ (ทุก ๆ คน ผู้ถือบัตร หรือบุคคลที่สามที่ระบุไว้เท่านั้น) <br>สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร (อ่านอย่างเดียว เพิ่มข้อมูลได้ ปรับปรุงข้อมูลได้ หรือลบข้อมูลได้) <br><br>ใครบ้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้<br>ทุก ๆ คน บัตรสมาร์ทการ์ดบางแบบไม่จำเป็นต้องใช้รหัสผ่าน (Password) ใครก็ตามที่ถือบัตรดังกล่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น บัตรคนไข้ (Medi Card) ที่มีชื่อคนไข้และกลุ่มเลือด ซึ่งสามารถอ่านได้โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน <br>เฉพาะผู้ถือบัตร รูปแบบของรหัสผ่านส่วนมากที่ผู้ถือบัตรมีไว้ เรียกว่า พิน หรือ PIN (Personal Identification Number) ซึ่งเป็นเลข 4 หรือ 5 หลัก โดยพิมพ์อยู่บนคีย์แพ็ด (key bad) เพราะฉะนั้นหากมีบุคคลใดที่ไม่ได้รับอนุญาตพยายามใช้บัตร มันจะมีการล็อคภายหลังจากที่พยายามกดหรือใส่รหัสพินไม่สำเร็จ 3 ครั้ง ทั้งนี้ปัจจุบันรหัสผ่านมีการพัฒนารูปแบบที่ทันสมัยมากขึ้น <br>เฉพาะบุคคลที่สาม สมาร์ทการ์ดบางแบบอนุญาตให้เฉพาะบุคคลที่ระบุไว้เท่านั้นที่ใช้มันได้ เช่น บัตรเบิกเงินสด หรือ Electronic purse ที่ธนาคารเจ้าของบัตรเท่านั้นสามารถทำการโหลดข้อมูลใหม่ได้ <br><br>สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร<br><br>ข้อมูลที่อยู่บนสมาร์ทการ์ดนั้นสามารถแบ่งออกได้หลาย ๆ ส่วนดังนี้ <br>ข้อมูลที่อ่านได้เพียงอย่างเดียว <br>ข้อมูลที่เพิ่มได้อย่างเดียว <br>ข้อมูลที่ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างเดียว <br>ข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้เลย <br><br>กรณีที่รหัสผ่านไม่เพียงพอ<br><br>โดยปกติสมาร์ทการ์ดสามารถจำกัดการใช้ข้อมูลกับบุคคลที่ได้รับอนุญาต 1 คน ด้วยรหัสผ่าน 1 ชุด อย่างไรก็ดี หากมีการส่งข้อมูลด้วยวิทยุหรือโทรศัพท์แล้ว จำเป็นต้องมีการป้องกันเพิ่มเติม โดยรูปแบบหนึ่งของการป้องกันคือ การแปลงรหัส (Ciphering) ซึ่งเป็นเสมือนการแปลงข้อมูลให้เป็นภาษาที่ไม่รู้เรื่อง บัตรบางแบบสามารถทำได้ทั้งการแปลงรหัสและการถอดรหัส (Deciphering) ซึ่งเป็นการแปลงกลับมาให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงสามารถส่งข้อมูลออกไปได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องความลับจะถูกเปิดเผย <br>สมาร์ทการ์ดบางแบบสามารถแปลงรหัสเป็นภาษาต่าง ๆ ได้เป็นล้าน ๆ ภาษา และเลือกภาษาที่แตกต่างกันนั้นมาใช้ 1 ภาษาด้วย วิธีการสุ่มเลือกทุก ๆ ครั้งที่มีการติดต่อกัน <br><br>สมาร์ทการ์ดกับอินเทอร์เน็ต<br><br>เรื่องของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากแทบทุกวงการ และมีการพัฒนาตลอดเวลา เช่นการนำไปใช้สนับสนุนทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมเมอร์ซ (Electronic Commerce) โดยได้รับการออกแบบมาให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารด้านบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่ก็มีปัญหาว่าหากบรรดาผู้ซื้อของผ่านทางอินเทอร์เน็ตเห็นผลิตภัณฑ์แล้วต้องการซื้อมันจริง ๆ แล้วจะเป็นอย่างไร <br><br>สมาร์ทการ์ดช่วยสนับสนุนในเรื่องการจับจ่ายผ่านอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยเงินสดหรือเครดิต อย่างไรก็ดี ผู้ซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องต่อบัตรที่ใช้ในการซื้อหรือชำระค่าบริการเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขา และส่งข้อมูลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปยังอินเทอร์เน็ต <br><br>เครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพง ใช้กำลังต่ำ ซึ่งสามารถต่อเพิ่มเติมเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ได้ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าค่าใช้จ่ายในการเพิ่มอุปกรณ์ดังกล่าวเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเพอริเฟอรัล (Peripherals) จะต่ำลง <br><br>ในปี 2539 ได้มีการแนะนำเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ดพร้อมโมเด็มรวมอยู่ในตัวต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นไปได้มากที่เราคงจะได้เห็นว่า บางทีเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรกที่ออกจำหน่ายมีความสามารถอ่านสมาร์ทการ์ดได้เป็นเครื่องมาตรฐาน <br><br><br><br><br><br>ในเดือนพฤษภาคม 2539 บริษัทชั้นนำ 5 แห่ง ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ (ได้แก่ ไอบีเอ็ม แอปเปิ้ล ออราเคิล ซัน และเน็ตสเคป) ได้เปิดตัวมาตรฐานอันหนึ่งสำหรับคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า เน็ตเวอร์กคอมพิวเตอร์ (Network Computer) ซึ่งมันได้รับการออกแบบมาให้สามารถทำการอินเทอร์เฟส โดยตรงกับอินเทอร์เน็ตและมีความสามารถใช้สมาร์ทการ์ดได้ด้วย นอกจากนี้ในปี 2539 พันธมิตรซึ่งประกอบด้วย ฮิวเล็ตต์แพคการ์ด อินฟอมิคซ์ และเจ็มพลัส ได้เปิดตัวในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้สมาร์ทการ์ดในการจ่ายเงินและรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายที่เป็นแบบเปิดทั้งหมดด้วย <br><br>นอกจากการใช้สมาร์ทการ์ดในการจ่ายเงินหรือชำระค่าบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังมีช่องทางอื่น ๆ ที่สามารถทำได้อีก เช่น <br>การนำพาแอดเดรสที่ชื่นชอบของคุณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยังเน็ตเวอร์กคอมพิวเตอร์ของเพื่อนของคุณ <br>สามารถดาวน์โหลดตั๋วโดยสารเครื่องบินและบัตรผ่านขึ้นเครื่องของตัวคุณได้เอง <br><br>สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับสมาร์ทการ์ด คือว่ามันเป็นสิ่งที่อยู่กับเราทุกวัน ซึ่งผู้คนสามารถพกพา ใส่ไว้ในกระเป๋า โดยมันยังคงเก็บรักษาข้อมูลและป้องกันข้อมูลที่เก็บไว้ในรูปแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ <br><br>หากพูดถึงความสมาร์ทของสมาร์ทการ์ดแล้ว คงมาจากแผงวงจรรวม (IC) ที่ฝังอยู่ในบัตรพลาสติก ซึ่งเราสามารถที่จะทำให้มันมีการทำงานทางอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะเดียวกันนี้ ด้วยการฝังวงจรรวม (IC) ที่คล้ายคลังกันนี้ในวัตถุอื่น ๆ ที่ใช้งานกันอยู่ทุกวัน เช่น กุญแจรหัส นาฬิกา แว่นตา แหวน หรือต่างหู นอกจากนี้ยังมีการนำ Smart keys ไปใช้กับการเป็นสมาชิกของ เปย์-ทีวี (pay-TV) แล้วด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีของบัตรที่ไม่ต้องมีการสัมผัสก็คือ สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tags) โดยแท็กทำหน้าที่เป็นเสมือนสมาร์การ์ดที่ไม่มีการสัมผัส แต่อยู่ในรูปของเหรียญ แหวน หรือแม้แต่ป้ายติดกระเป๋า แทนที่จะอยู่ในรูปบัตร โดยทั่ว ๆ ไปมีการนำมันไปติดยึดไว้กับวัตถุ หรือ***ต่าง ๆ เช่น รถยนต์ หรือสุนัข ซึ่งทำให้สามารถควบคุมหรือป้องกันข้อมูลโดยไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับวัตถุนั้น ๆ ทำให้สามารถควบคุม ดูแล หรือจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลในลักษณะ manual data handling ด้วยระบบจัดการข้อมูล <br><br>นอกจากนี้อีกไม่นานก็จะมีการใช้ไบโอเมทตริค (Biometric) ที่ช่วยให้การตรวจสอบความถูกต้องของบุคคลได้จากมือ ลายนิ้วมือ เยื่อภายในลูกตา หรือเสียงพูด และต่อไปในไม่ช้านี้อาจมีทางเป็นไปได้ที่จะตรวจรับรองการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในสมาร์ทการ์ดได้ โดยใช้คำพูดหรือมือสัมผัส <br><br>สมาร์ทการ์ดเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ที่กำลังเข้าไปมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คนนับล้าน ทั้งนี้มันเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น และจะมีบทบาทอย่างมากกับการใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น การจับจ่ายซื้อของ พบแพทย์ ใช้โทรศัพท์ และสรรหาความสุข ความบันเทิง ตลอดจนการพักผ่อนหย่อนใจ <br><br>ในสังคมยุคใหม่เป็นยุคที่ต้องการข้อมูลข่าวสารจำนวนมากมายมหาศาล คอมพิวเตอร์ช่วยให้เราสามารถจัดการกับข่าวสารเหล่านี้ได้ สมาร์ทการ์ดจะช่วยให้เรามีหนทางใหม่ในการจัดการและควบคุมข่าวสารดังกล่าวได้ด้วยตนเอง <br><br>การใช้เทคโนโลยีของสมาร์ทการ์ดทำให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองได้ และยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย <br><br><br>--------------------------------------------------------------------------------<br>เขียนโดย : พันธ์ศักดิ์ ศรีทรัพย์<br>วารสาร ไมโครคอมพิวเตอร์ ฉบับเดือนธันวาคม 2540<br>Last update : 16/07/1999<br> |
15/08/2546 03:08 น. |
อัลกอริทึมการเข้ารหัสใช้อะไรครับ ทำอย่างไรครับ ขอบคุณครับ |
23/08/2546 07:22 น. |
เชิญที <a href="http:/geocities.com/aon_micro" Target="_BLANK">http:/geocities.com/aon_micro</a> ครับ<br>ตอบคุณได้ทุกอย่างเกี่ยวกับสมาร์ทการ์ด |
24/09/2546 03:42 น. |
การพัฒสมาร์ทการ์ด |