23/09/2547 22:30 น. |
Magnatric ชุดนี้เป็นชุด Mainซึ่งต่อแบบ Stra /Delta ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 380 V ลักษณะงานที่นำไปใช้ ใช้กับ เครื่องสูบน้ำเย็นให้กับ Chiller ซึ่งได้มีการเก็บข้อมูลดังนี้ แรงดันไฟฟ้าขณะเกิดก่อนการเสียหาย 375 V กระแสขณะทำงานก่อนการเสียหาย 60,62,65<br>A เรียงตามลำดับเฟส R,S,Tซึ่งกระแสนี้มีค่าใกล้เคียงFLAที่65 A ซึ่งในวันนั้นไม่มีกระแสไฟฟ้าตกหรือแรงดันเกินแต่อย่างไร ต่อมาเก็บข้อมูลทางกล ได้หมุนเพลามอเตอร์ก็หมุนได้ตามปรกติ เมื่อเทียบกับมอเตอร์ขนาดเดียวกันออกแรงในการใช้หมุนไม่ต่างกันมาก ต่อมาได้วัดค่าความเป็นฉนวนของมอเตอร์และสายpower แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 500Vdc ได้ค่า 100,80,95เมกกะโอห์ม ซึ่งก็ผ่านเกณมาตรฐาน ตอนนี้พบยังไม่พบคำตอบเลย เนื่องจากผลของการเมกปรกติ ในทางกลับกันตัวเพลามอเตอร์ก็ไม่ฝืดจนมอเตอร์ไมสามารถออกตัวได้ ซึ่งพบก็คิดอยู่2ส่วนคือ<br> 1. พิจราณาทางด้านระบบไฟฟ้า<br>1.1 แรงดันไฟฟ้าต่ำหรือสูงกว่าพิกัดก็ตัดอกไปได้เลย<br>1.2 การตั้งค่า Over load ก็ออกแบบมาถูกต้อง<br>1.3 เกิดจากสาย Power หลวมหรือไม่แน่นก็ตัดออกไปได้เนื่องจากผมเป็นคนวิเคราะห์สาเหตุเอง<br>1.4 โหลดสูงเกินพิกัดชั่วขณะจากการเก็บข้อมูลย้อนหลังโหลดกราฟอยู่ในช่วงที่เกินFlow ออกแบบ<br>1.5 หน้าสัมผัสสรกปรกหรือไม่เรียบ อันนี้ที่ผมคิดอยู่ แต่ก็ยังมีข้อแย้งอยู่ ตรงที่ว่า ทำไม่ถึงไม่มีอาการฟ้องมาก่อนเช่นกระแสสูงทั้ง 3 เฟส หรือเฟสใดเฟสหนึ่ง อันเนื่องมาจากค่า คตท. ในระบบกำลังสูงขึ้น จากสมการ I=V/(R+j(S*XL))<br>1.6 การทำงานวงจรControl ผิดปรกติ จากการทดสอบการทำงานของมันก็ปรกติ<br>1.7 สภาพภายในของหน้าสัมผัสชุดMain อาร์กติดทั้ง3ชุด (ไม่ได้อาร์กข้ามเฟสนะครับ)<br>2.พิจารณาทางกล<br>2.1พิจารณาทางด้านโหลดที่ได้กล่าวมาแล้วยังหมุดเพลาได้<br>2.2 แบริ่งเกิดความฝืดก็เป็นไปไม่ได้เนื่องจากหมุนเพลาได้ แต่ข้อนี้ผมยังคิดอยู่อีกทาง คือมันอาจเกิดความฝืดตอนหมุนด้วยความเร็วทำงาน 1440 RPM ก็ได้ทำให้เกิด LRA <br>2.3 เรื่องความสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิด LRA ก็ได้<br>ขอคำตอบจากผู้มีประสบการณ์ด้วยครับ |
24/09/2547 15:51 น. |
ขอข้อมูลเพิ่มเติมครับ<br>1. มอเตอร์ขณะนี้ยังใช้งานอยู่หรือเปล่าเพราะการบอกค่าค่า เมกเกอร์มาอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่ามอเตอร์จะยังใช้ได้<br>2. ทราบได้อย่างไรว่าคอนแทคเมนเกิดการอาร์ค มีเหตุการ์ณอื่นเกิดขึ้นก่อนหรือเปล่าเช่น โอเวอร์โหลดทริป หรืออื่น ที่ทำให้เราทราบว่าเกิดสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้น |
24/09/2547 20:30 น. |
ขอบคุณครับท่านช่างซ่อมมอเตอร์ ข้อมูลเพื่มเติมนะครับ<br>1.ผมได้วัดคตท.ขดลวดมอเตอร์ด้วยโอห์มมิเตอร์ โดยกำหนดตัวแปรในการวัดคือ อุณหภูมิแวดล้อมขณะทำการวัดได้ 28C ,ความชื้น 60 % อุณหภูมิที่ตัวมอเตอร์เท่ากับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมคือ 28C<br>และได้ค่าคตท เท่ากับมอเตอร์ที่ทำงานปรกติในภาวะแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งแสดงว่าสภาพภายในของมอเตอร์ปรกติ ปัจจุบันมอเตอร์ยังหยุดทำงานอยู่ รอสรุปผลการตรวจเช็ค<br>2. การโอเวอร์โหลดซึ่งได้สอบถามทางช่างผู้ปฎิบัติงานทราบว่ามอเตอร์มีการสตาร์ หลายครั้ง และมีการโอเวอร์โหลดทริป 1 ครั้ง <br>ดังนั้นผมจึงสรุปว่า มอเตอร์ทำงานที่ LRA สูงเป็นเวลาติดต่อกันหลายครั้ง ทำให้ หน้าสัมผัสเมน เกิดการอาร์กทั้ง 3 เฟส (หน้าสัมผัสมีรอยอาร์กปริมาณใกล้เคียงกัน)และทนไม่สามารถทนกรกระแสต่อเนื่องสูงสุดที่หน้าสัมผัสออกแบบมาให้ทนได้ คำถามก็มีต่อไปว่าทำไม่โอเวอร์โหลดทริปจึงไมสามารถป้องกันได้ แต่ครั้งแรกมันทริป นั้นแสดงว่าชุดโอเวอร์โหลดทำงานไม่เสถียรภาพ(เสีย) ต่อมาวิเคระห์ต่อไปอีก ความร้อนที่เกิดจากกระแส LRA อาจจะทำให้วานิชที่หุ้มฉนวนเกิดการเสื่อมสภาพกรอบจนในที่สุดอาจทำให้ขดลวดเกิดการ Shot trun ได้ แต่ตรงนี้ผมได้วัด คตท+ค่าเมก เทียบกับมอเตอร์ขนาดเดียวกันที่ทำงานปรกติ มีค่าต่าง ๆ กันเคียงกันมาก <br> ดังนั้นผมจึงสรุปผลการวิเคราะห์ดังนี้<br>1. สภาพของมอเตอร์ยังสามารถทำงานได้ปรกติ(อาจมีความเสี่ยงเรื่องฉนวนเสื่อมอยู่บ้าง)<br>2. สาเหตุที่ทำให้คอนแทคเมนเกิดการอาร์ค<br>2.1 เกิดจากการสตาร์ทติดต่อกันในขณะที่อุณหภูมิในตัวมอเตอร์ยังสูงอยู่จนในที่สุดเกิดการอาร์กที่คอนแทคเมน ซึ่งโดยปรกติแล้วไม่ควรสตาทติดต่อกัน 3 ครั้งในเวลา 1 นาที่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับโหลดที่ต่อกับเพลามอเตอร์ ว่ามีความเฉื่อยเพียงใด<br> ทั้งหมดที่กล่าวมาถ้าผมผิดตรงในหรือมีข้อเสนอแนะหรือมีข้อมูลเพื่มเติม ก็ขอให้ช่วยตอบด้วยครับ หลายๆ ท่านยิ่งดี<br> |
24/09/2547 21:50 น. |
ลองมาฟังความคิดเห็นของผมบ้าง<br>1. การที่มอเตอร์มีการสตาร์ทบ่อยครั้งในเวลาอันสั้นสิ่งที่น่ากลัวมากที่สุดน่าจะเป็นความร้อนที่สะสมเพิ่มมากขึ้นของการสตาร์ทในแต่ละครั้งและนี่เองที่อาจจะทำให้มอเตอร์เกิดความเสียหาย( ไหม้ )<br>2. การที่หน้าคอนแทคโดยเฉพาะตัวเมน เสียหายเท่าๆกันทุกเฟส ทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า เหมือนการที่เกิด Permanant fault ที่ด้านล่างของคอนแทคเตอร์ นั่นก็หมายความว่า<br> 2.1 มอเตอร์ไหม้และเกิดการชอร์ตติดกันไปแล้ว แต่จากข้อมูลที่แจ้งผลทดสอบมอเตอร์เพิ่มเติมก็อาจจะมีแนวโน้มว่ามอเตอร์อาจจะไม่เสียหาย แต่ ก็อย่าพึ่งไว้ใจได้มากนักเพราะจากวิธีการทดสอบที่กล่าวมาสามารถรับประกันได้ว่ามอเตอร์ใช้ได้ประมาณ 60 เปอร์เซนต์ บ่อยครั้งที่มอเตอร์ไหม้และส่งมาซ่อมสามรถ Test run แบบ ตัวเปล่าได้เนื่องจากผมใช้วิธีสตาร์ทแบบ ค่อยๆปรับแรงดันจ่ายเข้าที่มอเตอร์ ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ควรที่จะทดสอบเพิ่มดังนี้<br> 2.1.1 ติดต่อบริษัทซ่อมมอเตอร์ที่มี Surge Test มาทำการทดสอบ จะสามารถตรวจสอบการชอร์ตรอบของขดลวดได้ 100 เปอร์เซนต์<br> 2.1.2 ถ้าต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายอาจจะใช้วิธีนี้ คือ หา Variac Single Phase ที่สามารถปรับโวลท์ได้ต่ำมาจ่ายเข้าที่แต่ละเฟสของขดลวดมอเตอร์ ขดลวดจะปกติถ้ากระแสที่อ่านได้เกือบเท่ากันทุกเฟสเมื่อมีการปรับโวลท์เตสที่จ่ายให้กับขดลวดเท่ากัน<br>2.2 ลองตรวจสอบดูจังหวะของการเปลี่ยนจากสตาร์เป็นเดลตาร์ว่ามีการหน่วงเวลาบ้างหรือเปล่า เพราะอาจะมีโอกาสทำให้เกิดการแมคเนติดสองตัวทำงานพร้อมกันได้<br>3. เนื่องจากเป็นการสตาร์ทแบบสตาร์เดลตาร์กระแสขณะสตาร์ทก็ไม่สูงมากนัก ฉะนั้นกระแสสตาร์ทไม่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายที่น่าคอนแทคเมน <br>4. LRA ย่อมาจาก Lock Rotor Amp ตามความเข้าใจควรจะใช้เรียกกระแสที่เกิดจากการที่มอเตอร์หมุนไปแล้ว และมีเหตุต้องให้มอเตอร์หยุดหมุน ถ้าเข้าใจผิดกรุณาอธิบายให้ผมทราบด้วย<br><br> ถ้าหาสาเหตุเจอแล้วเขียนมาให้ทราบด้วยเป็นกรณีที่น่าศึกษาจริงๆและควรที่นำกระทู้นี้เป็นตัวอย่างในการตั้งกระทู้ เพราะที่ผ่านมาใครอยากรู้อะไรที่เป็นหลักการพื้นฐานมากเกินไปก็ไม่ควรจะนำขึ้นมาตั้งกระทู้เพราะสามารถหาอ่านได้จากหนังสือไฟฟ้าทั่วไป และถึงแม้จะมีผู้ที่พยายามจะตอบอย่างไร ถ้าผู้ตั้งไม่มีพื้นฐานมาก่อนผมมั่นใจเลยว่า ยังไงก็ไม่เข้าใจอยู่ดี<br> ผมมักจะเข้าไปอ่าน Web board ของต่างประเทศบ่อยๆที่เกี่ยวกับมอเตอร์ เขาจะกำหนดไว้เลยว่า จะไม่ให้ Lazy Student ขึ้นมาตั้งกระทู้ |
26/09/2547 08:43 น. |
จากข้อมูลทั้งหมดผมว่ามอเตอร์ไม่มีปัญหา แต่ที่อยากให้ดูก็คือพิกัดของ Magnetic contactor ว่าใช้ขนาดเหมาะสมหรือเปล่า เพราะจากข้อมูลหน้าคอนแทคอาร์คติดกันทั้งสามชุด เป็นไปได้สูงว่าพิกัดของ Magnetic contactor ต่ำไป อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดให้สูงขึ้น ถ้าคุณใช้ของ Tele.. ให้เลือกพิกัด Coordiation 2 ซึ่งจะเหมาะกับงาน Heavy duty และอีกอย่างที่สังเกตุคือหลังจากที่สตาร์ทแล้วใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงมีการอาร์ค เวลาใกล้เคียงกับครั้งที่ผ่านมาหรือเปล่า <br> ในขณะที่เดินเครื่องให้เช็คอุณหภูมิของ Magnetic contactor ด้วยว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นหรือเปล่า ถ้ามีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นไปได้ว่าพิกัดของ Magnetic contactor ต่ำไป และที่พิจารณาอีกหย่างก็คือ โหลดมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่<br> |
12/10/2547 01:31 น. |
ผมพิมพ์ได้ไม่ค่อยเร็วขอตอบสั้นนะครับ<br>ผมพอมีประสบการณ์ตอนทำงานอยู่กับMisubishi<br>-การติดตั้งcontactor<br>-แรงแม่เหล็กที่coil<br>-ค่า IC. (KA.)ของหน้าสัมผัสต่ำไป(ไม่ใช่ค่ากระแส)<br>รบกวนท่านช่างซ่อมมอเตอร์ช่วยติดต่อcornerด้วยครับ |
16/10/2547 20:46 น. |
Agree with no#5<br>Please check IC (K.A.)of the contactor and starting current of motor about 5-7 times of rated<br> |
18/10/2547 11:43 น. |
คุณ อัมรินทร์ครับตอนนี้ Status เป็นอย่างไรบ้างครับ พบอะไรเพิ่มเติมบ้างครับ ช่วยบอกหน่อยก็จะดี |
25/11/2548 10:59 น. |
ใครรู้บ้าง Permanant คือ |
06/03/2552 14:48 น. |
สวัดดีครับ ผมยากทราบว่าเมกเนตริกชนิดที่มีtimerในตัวปัจจุบัน ยังมีใช้อยู่หรือปล่าว ยี่ห้ออะไรครับ |