26/04/2560 18:13 น. |
|
26/04/2560 20:37 น. |
ขยายความนิดนึง ครับ พยายามอ่านหลายรอบ ยังไม่เข้าใจคำถาม |
26/04/2560 21:30 น. |
คืออย่างนี้ครับ เดิมทีมีปั๊ม 2 ตัว แต่ใช้งานได้ 1 ตัว พอถึงเวลาสูบวงจรมันไปค้างที่ตัวที่ 2 และตัวที่ 1 ก็ไม่ทำงาน แล้วก็ไม่อยากแก้คอนโทรลเลยคิดว่าจะต่อไฟจากชุด2ไปลงชุด1ด้วย เลยถามว่าถ้าปั๊ม2ตัวทำพร้อมกัน จะมีปัญหาไหมครับ |
27/04/2560 21:40 น. |
ยังไงก็ช่วยตอบหน่อยนะครับ |
28/04/2560 19:11 น. |
ไม่น่ามีปัญหานะ ครับ ถ้าเฟสขาออกจาก แมกเนติกตรงกัน แต่เปลื่องไฟ แมกนำงาน 2 ตัว |
29/04/2560 22:04 น. |
งั้นถ้าไม่มีปัญหา ผมถามต่อว่า ตามความเห็นที่ 4 บอกว่าเปลืองไฟ เลยจะถามว่า ปั๊ม 1 ตัว แต่ใช้ วงจรควบคุม 2 ชุด จะเปลืองไฟค่าปั๊มหรือวงจรควบคุมครับ |
29/04/2560 22:06 น. |
อีกอย่างครับ ปั๊มนี้ขนาด 75 kW สตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้าครับ นายช่างทุกท่านช่วยตอบด้วยนะครับ |
30/04/2560 10:40 น. |
จากประสบการณ์ที่เคยผ่านมา มอเตอร์ปั้มน้ำจะมี 2 ชุดและผลัดกันทำงาน ผ่านชุดควบคุม ระดับน้ำ ถ้าระบบที่ดี จะแบ่งระดับการตรวจจับระดับน้ำ เป็น 4 ระดับ ไล่จากระดับน้ำสูงสุดลงไปต่ำสุด 1. ระดับน้ำสูงมากๆ จะแจ้งเตือนด้วยสัญญาณไฟ และเสียง 2. ระดับน้ำสูงมาก จะส่งสัญาณให้ปั้มทำงาน 2 ตัว 3. ระดับน้ำสูง จะส่งสัญญาณให้ปั้มทำงาน 1 ตัว สลับกันไปมา 4. ระดับน้ำต่ำสุด ที่ปั้มน้ำจะยังคงทำงานต่อไปได้ (ต่ำกว่านี้ น้ำแห้งปั้มน้ำจะไหม้) ในคำถามเข้าใจว่า ในระดับที่ 3 ระดับน้ำสูง จะทำให้ปั้มทำงาน 2 ตัวได้หรือไม่ ตอบว่าได้แน่นอน แต่การออกแบบที่มีปั้มน้ำ 2 ตัวแบบนี้ คนออกแบบคงจะคำนวณไว้แล้วว่า ปั้มน้ำ 1 ตัวเอาอยู่ในสภาวะน้ำเพิ่มขึ้นอย่างปกติ และจะใช้ปั้มน้ำทำงานพร้อมกัน ในสภาวะน้ำขึ้นอย่างผิดปกติ ถ้าไปแก้ไขเหมือนอย่างด้านบน สิ่งที่ตามมาคือ 1. ปั้มแต่ละตัวจะมีจำนวนการสตาร์ท มากขึ้น เป็น 2 เท่า เพราะเดิม ผลัดกันสตาร์ท แต่แน่นนอนเวลาทำงาน หรือเวลาการสูบน้ำลดลง ในการใช้งานมอเตอร์ สภาวะสตาร์ท เป็นสภาวะที่มอเตอร์ได้รับแรงกระทำมากที่สุดและมอเตอร์มักจะเสียหาย(ไหม้) ในสภาะวะสตาร์ม มากกว่า 90 เปอร์เซนต์ 2. การสตาร์ทมอเตอร์ 2 ตัวพร้อมกันย่อม ส่งผลต่อระบบไฟฟ้าอย่างแน่นอน (โดยเฉพาะแสงสว่าง) แต่ก็ขึ้นอยู่กับโรงงานว่ามีแหล่งจ่ายไฟรวมใหญ่แค่ไหน |
30/04/2560 16:31 น. |
ตัวนี้เป็นสถานีสูบน้ำครับ มีปั๊ม 4 ตัว แต่ตอนนี้เหลือ 1 ตัว เพราะยกไปซ่อม 3 ตัว แล้วก็มีการแบ่งระดับน้ำออกเป็น 5 ระดับครับ ตามที่นายช่างบอกครับ เนื่องจากว่าตอนนี้ต้องการให้ปั๊มสามารถสูบน้ำเข้าระบบให้ได้แบบออโต้ และก็มีปัญาหาที่ว่าเมื่ออน้ำอยู่ที่ระดับสูงสุด ปั๊มทำงานพร้อมกันเพียง 3 ตัว เลยจะแก้ไขเฉพาะหน้าไปก่อนโดยการทำตามวิธีข้างบน เลยจะถามว่าจะเกิดปัญหาไหม ถ้าชุดควบคุม 2 ชุดทำงานพร้อมกันหรือห่างกันนิดหน่อย จ่ายไฟให้ปั๊มเพียงตัวเดียว |
01/05/2560 19:00 น. |
ลำดับขั้นการทำงาน ของปั้มทั้ง 3 ตัวเป็นอย่างไรครับ ในกระทู้ต้นๆ บอกว่า มีปั้ม 2 ตัว แต่ล่าสุด ทำไมเหลือแค่ตัวเดียว จาก 4 ตัวหล่ะครับ |
02/05/2560 21:09 น. |
ในข้างต้นผมยกตัวอย่างว่าถ้าผมทำแบบนี้จะเกิดปัญหาหรือไม่ ส่วนของจริงมีปั๊ม 4 ตัว การทำงานจะเริ่มที่ระดับ 2 เริ่มจาก 1234 เรียงกันไป ที่ระดับ 3 จะรัน2ตัว เริ่มจาก 2341 ที่ระดับ 4 จะรัน3ตัว เริ่มจาก 3412 ครับ ตอนนี้ปั๊มที่ใช้งานได้คือตัวที่ 2 ครับ |
03/05/2560 19:31 น. |
เข้าใจว่าเมื่อปั้มทำงานไปแล้ว ชุดควบคุมคงไม่หยุดไปเอง ถ้าน้ำไม่ลด ไปจนถึงระดับที่ 1 เพราะจะเป็นระดับต่ำสุดที่ปั้มจะทำงานได้ ฉะนั้นควรจะต้องเอาปั้มไปต่อเข้ากับ ชุดที่จ่ายไฟ ออกของชุดควบคุมมอเตอร์ระดับที่ 2 ก็ยังงงอยู่ดี ว่าการออกแบบให้มอเตอร์ปั้ม ทำงานต่างระดับน้ำกัน ถึง 4 ระดับเพื่อวัตถุประสงค์อะไร |