19/11/2558 10:57 น. |
|
20/11/2558 09:34 น. |
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ ดูจากในรูปเป็นได้ทั้งสองแบบคือ Reactor และ Auto Transformer ซึ่งทั้งสองชนิดก็เป็นอุปกรณ์ช่วยในการสตาร์ทเหมือนกัน แต่ในที่นี้คงจะพูดถึงเฉพาะ Reactor (โช๊ค) ถามว่ามันทำงานอย่างไร ต้องกลับไปดูจุดประสงค์ของการสตาร์ทมอเตอร์ก่อน ถ้าเราไม่สนใจอะไรเลย ก็ง่ายนิดเดียวต่อไฟต่อตรง หรือสตาร์ท Direct online ไปเลยแน่นอนว่าวิธีนี้มอเตอร์ขณะสตาร์ทให้แรงบิดสูงสุด มอเตอร์กินกระแสไฟสูงสุด แต่เมื่อมาดูโหลด จะมีโหลดอยู่ไม่กี่ประเภทที่ต้องการแรงบิดขณะออกตัวสูง ส่วนมากแล้วเริ่มจากศูนย์และค่อยๆเพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบเกือบทั้งนั้น ฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่เราต้องออกแบบมอเตอร์ให้สตาร์ทที่ให้แรงบิดสูงสุด ซึ่งมีผลข้างเคียงที่ตามมาก็คือกระแสสูงสุดไปด้วย และด้วยคุณสมบัติของมอเตอร์อินดักชั่นมอเตอร์ ที่แรงบิดของมอเตอร์ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะสตาร์ท หรือขณะใช้งาน แปรผันตรงกับแรงดันที่ป้อน ฉะนั้นถ้าเรากำหนดแรงดันที่ป้อนให้กับมอเตอร์ได้ เราก็จะสามารถกำหนดแรงบิดของมอเตอร์ได้ การสตาร์ท สตาร์-เดลต้า ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้อุปกรณ์ภายนอก มาต่อวงจรภายในของขดลวด ที่จากเดิม รับแรงดัน 380 V.ต่อเฟส มาเป็น 220 V. ต่อเฟส (ในสภาวะสตาร์ท) การลดแรงดันที่ป้อนให้กับขดลวดมอเตอร์ แรงบิดจะลดลงในทุกสภาวะ เป็น กำลังสองของผลหารที่เหลือ เช่นมอเตอร์ตัวหนึ่งมีแรงบิดพิกัด 100 (หน่วยอะไรก็แล้วแต่) ถ้าเป็นการสตาร์ทแบบต่อตรงคือป้อนแรงดันเข้าขดลวด 380 V. แรงบิดสตาร์จะอยู่ประมาณ 1.5 เท่าของแรงบิดพิกัด หรือ 100x1.5 =150 แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ สตาร์ทสตาร์-เดลต้า ขณะสตาร์ท จะมีแรงดันตกคร่อมขดลวดต่อเฟสเหลือ 220 V. แรงบิดมอเตอร์ขณะสตาร์ทจะเหลือ (220/380)2 x100 = 33 จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนแรงดันสตาร์ทจาก 380 เป็น 220 แรงบิดสตาร์ทเปลี่ยนจาก 150 มาเหลือ 33 ผลที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือกระแสมอเตอร์จะลดเป็นสัดส่วนกับแรงดันที่ป้อน เพราะตัวที่ควบคุมกระแสสตาร์ทก็คือ อิมพีแดนซ์ของขดลวดมอเตอร์ เมื่ออิมพีแดนซ์คงที่แรงดันลดลงย่อมทำให้กระแสลดลงเป็นสัดส่วนกับแรงดัน สมมุติว่ามอเตอร์ขณะสตาร์ทกินกระแส 6 เท่าของกระแสพิกัด(หาดูได้จากคู่มือมอเตอร์) ถ้ามอเตอร์มีค่ากระแสพิกัด 100 A. มอเตอร์จะกินกระแสขณะสตาร์ทเมื่อป้อนไฟ 380 V. =100x6=600 A. แต่ถ้าป้อนแรงดัน 220 V. กระแสสตาร์ทก็จะเหลือ 220/380x600=347 A. ฉะนั้นจะเห็นว่ายิ่งป้อนแรงดันให้กับมอเตอร์น้อยเท่าไหร่ มอเตอร์จะกินกระแสขณะสตาร์ทน้อยเท่านั้น แต่จะขึ้นอยู่กับว่าเมื่อลดแรงดันลงมาแล้ว ยังจะพอที่พาโหลดเร่งรอบขึ้นไปได้หรือเปล่า อันนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของโหลด |
20/11/2558 10:06 น. |
มาเข้าเรื่องโช๊คบ้าง โช๊คหรือ Reactor สตาร์ทก็เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่ดูจากรูป ซึ่งจะเห็นว่า Reactor จะมี 3 เฟส แต่ละเฟสก็จะนำไปต่ออนุกรมเข้ากับขดลวดแต่ละเฟสของมอเตอร์ จะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อม Reactor บางส่วนและไปตกคร่องมอเตอร์บางส่วน ทำให้สภาวะนี้ แรงดันตกคร่อมมอเตอร์ขณะสตาร์ทลดลง คุณสมบัติต่างๆของมอเตอร์เมื่อมีการลดแรงดันก็จะเป็นไปตามที่ได้กล่าวไปแล้ว Reactor โดยปกติจะออกแบบมาให้มี 4 ขั้วต่อเฟส คือ 50-65-80 และ Com โดยจะเป็นการเลือกว่าขณะสตาร์ทต้องการให้กระแสเป็นกี่เปอร์เซนต์ของการสตาร์ทแบบต่อตรง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการเลือกกระแสและแรงบิดขณะสตาร์ได้ ส่วนในรูปของเจ้าของกระทู้เข้าใจว่าน่าจะเป็น Tap 50-65- Com บางคนอาจจะสงสัยว่าไปใช้ Reactor ทำไมให้ยุ่งยาก ใช้สตาร์ท สตาร์-เดลต้าไม่ดีกว่าเหรอ ขอตอบว่า : ข้อเสียอย่างหนึ่งของการสตาร์ท สตาร์-เดลต้า ที่ไม่สามารถกำหนดแรงบิดหรือกระแสสตาร์ทได้แล้ว ยังต้องเป็นมอเตอร์ที่ต้องมีขั้วสาย 6 ขั้ว U-V-W, X-Y-Z. เข้าไปต่อกับตู้ควบคุม ซึ่งแน่นอนว่ามอเตอร์แรงต่ำ(LV) ซึ่งมีค่าแรงดันพิกัดต่ำกว่า 1000 V.ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ แรงดันปานกลาง(MV) มอเตอร์มักจะออกแบบมาให้ 3 สาย จึงเป็นเหตุผลที่ไม่สามารถใช้วิธีสตาร์ทแบบ สตาร์-เดลต้าได้ จึงต้องใช้ Reactor หรือ Auto Transformer สตาร์ท เป็นทางเลือก เข้าใจว่าคำอธิบายเหล่านี้น่าจะตรงกับที่เจ้าของกระทู้ต้องการนะครับ |
21/11/2558 13:30 น. |
ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆ เลยครับ |
21/11/2558 13:36 น. |
แล้วถ้าต้องการเมกฯ โช๊ค สมมติถ้าผมถอดสายร่วมขาคอมออกเพื่อเมกฯ ที่ละก้อน ผมสามารถเมกฯ ที่ขั้วคอมได้เลยหรือต้องไปเมกฯที่ขั้วลดกระแสที่ใช้ หรือสามารถวัดได้ทั้ง2ขั้วครับ |
21/11/2558 13:59 น. |
ขอแก้ไขข้อความหน่อยครับ ข้อความเดิม ขณะสตาร์ทจะเหลือ (220/380)2 x100 = 33 จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนแรงดันสตาร์ทจาก 380 เป็น 220 แรงบิดสตาร์ทเปลี่ยนจาก 150 มาเหลือ 33 ที่ถูกต้องควรจะเป็น ขณะสตาร์ทจะเหลือ (220/380)2 x150 = 50 จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนแรงดันสตาร์ทจาก 380 เป็น 220 แรงบิดสตาร์ทเปลี่ยนจาก 150 มาเหลือ 50 |
21/11/2558 14:00 น. |
ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่ามีขั้วต่อออกไปใช้งานพร้อมกัน 3 เฟส 6 ขั้วเหมือนกับ มอเตอร์ที่ออกไป 6 ขั้ว ก็ควรที่จะ เมกเหมือนมอเตอร์ 6 ขั้วครับ U50 -V50 , U50-W50 , V50-W50 และ U50-G , V50-G , W50 G. จำนวน 6 ค่า แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวเนื่องจาก ทั้งสามขดลวดแยกจากกันอย่างเด็ดขาด วัด U50-G , V50-G , W50 G. แค่ 3 ค่าก็น่าจะพอ และที่ถามมา ใช่ครับวัดที่ขั้ว Com หรือที่ขั้วที่เหลือก็มีค่าเหมือนกัน เพราะเป็นขดลวดเดียวกัน |