22/10/2558 08:14 น. |
ถ้าผมต้องการติดตั้ง ตัวเซนเซอร์จับความร้อนมอเตอร์ เพื่อป้องกันมอเตอร์ใหม่ ผมควรติดตั้งแบบไหนดีครับ เห็นมีตั้งหลายแบบ ขอคำแนะนำด้วยครับ |
22/10/2558 18:05 น. |
|
25/10/2558 13:46 น. |
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ เท่าที่ศึกษามาและประสบการ์ณที่ผ่านมาจะเจอ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนติดตั้งใช้อยู่กับมอเตอร์ 4 ชนิด คือ 1. เทอร์โมสตัด 2. เทอร์มิสเตอร์ 3. อาร์ทีดี ( PT 100 ) 4. เทอร์โมคัปเปิ้ล เซนเซอร์ทั้ง 4 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ 1. เป็นเฉพาะอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้มอเตอร์เสียหายเนื่องจากความร้อน ได้แก่ 1 และ 2 2. เป็นอุปกรณ์ป้องกัน และสามารถแสดงผลค่าอุณหภูมิ ที่ตรวจจับได้ด้วย ได้แก่ 3 และ 4 เซนเซอร์ทั้ง 4 แบ่งออกตามลักษณะการติดตั้ง ได้ 2 แบบ 1. ติดตั้งตรวจจับความร้อนที่ขดลวด ได้แก่ 1 ,2 และ 3 2. ติดตั้งตรวจจับความร้อนส่วนอื่นๆ ของมอเตอร์ เช่น แบริ่ง เฟรม ซึ่งได้แก่หมายเลข 4 เซนเซอร์ทั้ง 4 แบบแบ่งตามค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และขนาดมอเตอร์ 1. เทอร์โมสตัด ราคาถูก (100 - 500 บาท)นำไปต่ออนุกรมกับสายไฟคอนโทรลเข้ามอเตอร์ได้เลย จึงมักจะเจอติดตั้งอยู่กับมอเตอร์ขนาดเล็ก 2. เทอร์มิสเตอร์ ราคาแพงขึ้นมา (หลักพันบาท 3000-5000 บาท) และต้องทำงานร่วมกับเทอร์มิสเตอร์รีเลย์ จึงมักจะเจอกับมอเตอร์ขนาดกลางจนถึงใหญ่ 3. อาร์ทีดี ราคาแพงขึ้นมาอีก (หลักหมืน 8000-15000) ต้องทำงานร่วมกับ Temp Controller มักจะใช้กับมอเตอร์ขนาดใหญ่ และ MV (มอเตอร์แรงดันปานกลาง 3300,6600 V. 4. เทอร์โมคัปเปิ้ล ราคาใกล้เคียงกับแบบ อาร์ทีดี และมักถูกใช้กับมอเตอร์ขนาดใหญ่ ส่วนจำนวนของเซนเซอร์ที่ใช้ติดตั้ง แน่นอนว่า ยิ่งมากก็ยิ่งจะทำให้การป้องกันกว้างขวางป้องกันได้หลายกรณีหากเกิดความปกติ แต่คงจะต้องขึ้นอยู่กับงบที่ใช้ และระดับความสำคัญของมอเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่า จำนวน เซนเซอร์ที่ใช้ติดตั้งจะแปรผันตามขนาด มอเตอร์ |
26/10/2558 11:32 น. |
ของผมเป็นมอเตอร์ 55 KW. คงเข้าข่าย เทอร์มิสเตอร์ นอกจากราคา แล้วมีอะไรแตกกต่างกันระหว่าง เทอร์โมสตัสกับเทอร์มิสเตอร์ บ้างหรือเปล่าครับ หมายถึงฟังก์ชั่นการทำงาน เพราะราคาต่างกันเยอะพอสมควร |
27/10/2558 11:02 น. |
ครับมอเตอร์ส่วนใหญ่ จะติดตั้งเทอร์มิสเตอร์มาเป็นอุปกรณ์ตัวจับความร้อน ข้อแตกต่างของ เทอร์โมสตัด กับเทอร์มิสเตอร์ก็คือ 1. เทอร์โมสตัด เราจะไม่รู้เลยว่าหน้าคอนแทคของมันทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีการช๊อตติดกัน 2. หากสายเซนเซอร์ ช๊อตติดกัน เรามักจะตีความหมายว่าอุณหภูมิที่ตรวจจับปกติ 3. เทอร์มิสเตอร์ จะใช้รีเลย์ตรวจจับค่าความต้านทาน ซึ่งจะทำงานทั้งสภาวะ ค่าความต้านทานต่ำ และสูงกว่าค่าปกติ ที่เซนเซอร์จะแปรค่าอุณหภูมิมาเป็นค่าความต้านทาน 4. ค่าความต้านทานต่ำ ซึ่งอาจจะมาจากสายเซนเซอร์ช๊อต มันก็จะทำงาน 5. ค่าความต้านทานสูง ซึ่งอาจจะมาจากสายเซนเซอร์ขาด มันก็จะทำงาน 6. และถ้าเซนเซอร์ตรวจจับค่าอุณหภูมิถึงค่าประจำตัวเซนเซอร์ ค่าความต้านทานก็จะถึงค่าที่รีเลย์ทำงาน ก็จะตัดวงจรออกอีก จะเห็นว่าเทอร์มิสเตอร์มี ลักษณะการทำงานที่กว้างกว่า เทอร์โมสตัดมาก |
28/10/2558 09:13 น. |
ปรึกษาต่อหน่อยครับ ว่าควรจะติดกี่ตัวดี เข้าใจครับว่ายิ่งมากยิ่งดี /ขอบคุณครับ |
30/10/2558 09:36 น. |
ขั้นต่ำต้องติด 3 ตัวครับ โดยติดที่ขดลวดแต่ละเฟสภายในตัวมอเตอร์ และต้องติดปลายขดลวดด้าน DE (เพราะจะร้อนกว่าด้าน NDE) บริเวณที่จะติดควรอยู่ด้านบน เพราะเป็นบริเวณที่ความร้อนจากด้านล่างลอยขึ้นมา จึงเป็นบริเวณที่ร้อนกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากมอเตอร์มี Temp Rise คลาส B เท่ากับมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจากการใช้งาน ไม่เกิน 80 องศา บวกกับ อุณหภูมิอ้างอิงมอเตอร์ Ambient Temp = 40 องศา ฉะนั้น ค่าอุณหภูมิที่ควรติด temp Sensor ควรเลือกที่อุณหภูมิ 40+80= 120 องศา ครับ |
01/11/2558 07:02 น. |
ขอขอบคุณช่างซ่อมมอเตอร์ และคำตอบที่ 1 มากครับที่ให้ความรู้้และข้อมูล จะลองทำดูครับ / ขอบคุณครับ |
11/11/2558 15:43 น. |
ขออนุญาตถามต่อพอดีเกิดปัญหาที่ทำงาน -มอเตอร์พันขดลวดใหม่ใส่ PTC100 เดินต่อเนื่องประมาณ 5 วันขดลวดไหม้คอนโทรลไม่ตัด สงสัยว่าเกิดจากอะไร |
11/11/2558 16:03 น. |
|
12/11/2558 08:42 น. |
ตัวในรูป ใช่ตัวที่ไหม้หรือเปล่าครับ และทำไมเรียก เทอร์มิสเตอร์ว่า PTC 100 |