23/10/2557 08:50 น. |
อยากได้คำตอบแบบเชิงวิชาการและมีแหล่งอ้างอิงหน่อยครับว่า ระหว่างกระแส AC กับ DC แบบไหนเมื่อโดนแล้วอัตรายมากว่ากันครับ |
28/10/2557 08:30 น. |
AC (Alternating current) กระแสไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลงตามเวลาเป็นแบบ sine wave ... จากบวก-ลบ-บวก และมีการผ่านสุด 0 ซึ่งเรียกว่า Zero Crossing ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าของกระแสและแรงดันเป็น 0 DC (Direct current) กระแสไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ทิศทางเดียวและมีค่าคงที่ |
28/10/2557 08:55 น. |
กระแสไฟฟ้า AC จะเปลี่ยนแปลงตามลูกคลื่นชายน์ ( Sine wave) และมีช่วงเวลาที่มีค่าเป็นศูนย์ (0) ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีหรือข้อได้เปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงๆ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์(circuit breaker) หรือ สวิทช์เกียร์ (switchgear) หรืออุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้ากำลังต่างๆ ซึ่งก็จะช่วยให้เกิดการอาร์คที่หน้าสัมผัสของอุปกรณ์ลดลง ซึ่งช่วยทำให้เกิดการปลอดภัยมากขึ้นและช่วยลดขนาดของอุปกรณ์ลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม AC ก็มีข้อเสียโดยเฉพาะเรื่องการสูญเสียกำลังไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้าและในระบบส่งกำลังไฟฟ้า (power transmission line ) ซึ่งคงต้องติดตามตอนต่อไป |
28/10/2557 09:02 น. |
ตามปกติแล้วไฟฟ้าจะไหลไปตามเส้นลวดที่เป็นตัวนำไฟฟ้าแล้วจะไหลติดต่อกันไปจนครบวงจร และถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปแตะหรือสัมผัสเข้ากับวงจรไฟฟ้าทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้้และร่างกายเราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือบาดเจ็บถึงชีวิตได้้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าเพียงแค่ 10 mA หรือแรงดันไฟฟ้า 25 V ก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิต ค่าความต้านทานของร่างกายมนุษย์จะมีค่าประมาณ 10,000 โอห์ม ถึง 50,000 โอห์ม |
28/10/2557 13:12 น. |
สำหรับผลกระทบที่มีต่อร่างกาย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้ พร้อมแหล่งอ้างอิงที่อยู่ด้านล่าง http://www.brighthubengineering.com/power-plants/89792-ac-and-dc-shock-comparison/ ซึ่งก็สามารถเรียบเรียงเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ ปัจจัยพี้นฐานที่เป็นตัวกำหนดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์มี 3 อย่าง คือ ขนาดของกระแส (amplitude of the current) ช่วงเวลาที่กระแสผ่านร่างกาย (the duration of the current passing through the body) และความถี่ (frequency ) DC จะมีระดับแรงดันคงที่และไม่มีความถี่ แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองไม่ว่าจะเป็น AC หรือ DC ก็อันตรายต่อร่างกายเหมือนกัน แต่ปัจจัยที่มีผลอย่างมากคือเส้นทางของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย หากกระแสไหลผ่านจากมือสู่เท้าและไม่มีการไหลผ่านหัวใจ ก็จะไม่ส่งผลร้ายแรงถึงขึ้นรุนแรงหรือเสียชีวิต กระแสไฟฟ้า DC จะทำให้การหดของกล้ามเนื้อต่อเนี่ยงในทิศทางเดียวเมื่อเทียบกับกระแส AC ซึ่งจะทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับความถี่ แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงระดับกระแสที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตแล้วละก็ DC จะใช้ปริมาณกระแสสูงกว่า AC หากเปรียบเที่ยบที่ระดับแรงดันเท่ากัน แต่ถ้าเส้นทางของกระแสไหลมือด้านหนึ่งไปยังมืออีกด้านหนึ่ง (ซึ่งมี่การไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านกล้ามเนื้อหัวใจ) ก็จะมีผลต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อหัวใจ(fibrillation)ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นปั๊มสูบฉีดเลือดไปเลีัยงสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดหัวใจวายและเสียชีวิตภายในไม่กี่วินาที ระดับกระแสไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อหัวใจ... ถ้าเป็น AC ก็ประมาณ 30 mA หรือ 300-500 mA DC การถูกไฟซ๊อตไม่ว่าจะเป็น AC หรือ DC ก็จะส่งผลทำให้เกิดความรุนแรงและเสียชีวิตได้เหมือนกัน แต่หากเปรียบเที่ยบในระดับความรุนแรงที่เท่ากันแล้วละกี ไฟ DC จะต้องมีระดับกระแสที่สูงกว่า AC หากต้องการให้เกิดผลหรือความรู้สึกที่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้ระแสไฟ AC ที่ระดับ 0.5-1.5 มิลลิแอมป์ จะต้องใช้กระแสของไฟ DC ที่ประมาณ 4 mA จึงจะเกิดผลหรือความรู้สึกที่เท่ากัน *** อันนี้เป็นงานแปล ผิดพลาดประการใดต้องขออภัย หากใครมีความรู้มากกว่านี้ช่วยชี้แนะด้วย |
28/10/2557 13:36 น. |
ในเว็บบอร์ดต่างชาติ ก็ยังมีการถกถุยส์กันในประเด็นนี้เช่นกัน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็ลองเข้าไปอ่านดูนะ http://physics.stackexchange.com/questions/59359/why-is-ac-more-dangerous-than-dc |
30/10/2557 09:19 น. |
ขอบคุณมากครับ เป็นการอธิบายที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายมากครับ |
31/10/2557 08:21 น. |
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้่ดีๆครับ |