06/01/2546 03:38 น. |
CNC เช่น 4 แกน 5 แกน แตกต่างกันอย่างไรครับ |
08/01/2546 00:00 น. |
เครื่อง CNC ที่ใช้งานกันทั่วไปจะมีแกนการเคลื่อนที่ 3 แกน คือแกน XYZ ที่เป็นส้นตรง(Linear Motion) สำหรับ CNC 4 แกน และ 5 แกน ก็คือการเพิ่มแกนการเคลื่อนที่ๆ เป็นแกนหมุน (Rotary Motion) ในแนวแกน XYหรือ Z เช่นถ้าเป็นแกนหมุนในแนวแกนX ก็จะเป็นแกนa Y,b Z,c เครื่องจักรที่ออกแบบเป็น 4 แกน หรือ 5 แกน อาจจะมีแกนการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน เช่น XYZa XYZab เป็นต้น สำหรับข้อดีของการเคลื่อนที่ๆ มีแกนหมุนเพิ่มขึ้นก็คือ สามารถตัดเฉือนชิ้นงานที่มีความสลับซับซ้อนสูงๆ ได้ |
18/07/2546 16:21 น. |
ลองใช้ Mastercam กัดงาน4-5แกนดูซิครับ<br>ง่ายมาก<br>เกรียงไกร<br><a href="mailto:utecpro@hotmail.com" Target="_BLANK">utecpro@hotmail.com</a> |
21/05/2548 00:39 น. |
Basic Cad/Cam Training Program -by Mastercam <br><br>Mill CNC basic+Design 3 Days <br>Mill 4-5 Axis 3 days <br>Lahte CNC basic+Design 3 days <br>Lathe 3-4 Axis,Mill Turn 3 days <br>Wire CNC basic+Design 3 days <br>G-CODE & CNC basic 2 days <br>Post Processor Basic 2 Days <br><br>Thai Book & Training CD for Mastercam Software <br>Mill Book <br>Lathe Book <br>Wire Book <br>Mill 2.5 Axis CD <br>Mill 3 Axis CD <br>Mill 4-5 Axis CD <br>Lahte 2-4 Axis CD <br>Wire 2-4 Axis CD <br><br><br>Any advance Application Please contact : <br><br>UTEC Professional Co.,Ltd. <br>Mastercam Authorised Reseller in Thailand <br>Pawooth <br>Hot Line 0-6338-8149 <br><a href="mailto:sales@utecgroup.com" Target="_BLANK">sales@utecgroup.com</a><br> |
30/05/2548 08:33 น. |
มันแตกต่างกันอย่างไรคับไม่ค่อยเข้าใจตรงนี้ช่วยตอบจ้าระหว่าง4-5เนี่ย |
12/08/2548 22:35 น. |
หลักการและเทคโนโลยีทางด้านการขึ้นรูปด้วยเครื่องกัด 5 แกน<br> ปัจจุบันความต้องการในการขึ้นรูปชิ้นงานที่มีพื้นผิวที่ซับซ้อนอาทิ เช่น เครื่องยนต์ไอพ่น พื้นที่ผิวของชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ อากาศยานมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ผิวเหล่านี้ บางครั้งไม่สามารถกัด 3 แกน ปกติหรือถ้าสามารถทำได้ก็ต้องมีการขึ้นรูปหลายขั้นตอน ซึ่งทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถทำการผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านคุณภาพของชิ้นงานและระยะเวลาการส่งมอบจากปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการนำเอาเทคโนโลยี การผลิตด้วยเครื่องกัด 5 แกนมาใช้ในกระบวนการผลิต ในบทความฉบับนี้จะกล่าวถึงพื้นฐานที่สำคัญในการผลิตด้วย เครื่องกัด 5 แกน อาทิเช่น การกำหนดชื่อ ทิศทาง ของแกนต่าง ๆ ในเครื่องกัด เหตุผลที่ต้องมีแกนหมุน 2 แกน ในเครื่องกัด 5 แกน ประเภทของการขึ้นรูป โดยใช้เครื่องกัด 5 แกน Kinematic chain diagram การแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5 แกน การทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้<br> 2.16.1 การกำหนดชื่อ, ทิศทางของแกนต่าง ๆ ในเครื่องกัด 5 แกน ทิศทางของการเคลื่อนที่เชิงเส้นสำหรับเครื่องกัด ใช้ระบบ พิกัดฉาก โดยมีแกน X, Y, Z เป็นแกนหลัก แกนหลักทั้ง 3 จะต้องตั้งแกซึ่งกันและกัน และมีทิศทางตามกฎมือขวา ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยมีจุด O เป็นจุดกำเนิด (หรือจุดอ้างอิง) ซึ่งเป็นจุดตัดของแกนทั้ง 3 โดยมีพิกัดอยู่ที่ (X, Y, Z) = (0, 0, 0)<br><br> <br><br>รูปที่ 2.17 การกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ เชิงเส้นของเครื่องกัดตามกฎมือขวา (25, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> ตามมาตรฐานสากล เครื่องกัดจะกำหนดในแกน Z อยู่ในทิศเดียวกับแกนการหมุนของมีดตัดเฉือนหรือแกนการหมุนของสปินเดิล และกำหนดให้ทิศของแกน Z ลบเป็นทิศที่มีดตัเฉือนเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงานที่ต้องการขึ้นรูปส่วนแกน X และ Y กำหนดต่อจากแกน Z โดยใช้กฎมือขวาดังแสดงในรูปที่ 2<br><br> <br><br>รูปที่ 2.18 แกนการเคลื่อนที่หลัก X, Y และ Z ของเครื่องกัดแนวดิ่ง (26, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>สำหรับเครื่องกัดที่มีการเคลื่อนที่ทั้งทางด้านการเคลื่อนที่เชิงเส้น (X, Y, Z) และการเคลื่อนที่เชิงมุม (A, B, C) โดยทิศทางการเคลื่อนที่เชิงมุมจะใช้แกน X, Y และ Z โดยแกน A จะหมุนรอบแกน X แกน B จะหมุนรอบแกน Y และแกน C จะหมุนรอบแกน Z โดยทิศบวกของแกน A, B และ C มีทิศทางตามกฎมือขวา<br><br><br> <br><br>รูปที่ 2.19 การกำหนดทิศบวก ของแกน A, B และ C ตามกฎมือขวา (26, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.2 เหตุผลที่ต้องมีแกนหมุน 2 แกนในเครื่องกัด 5 แกน<br><br> <br><br>รูปที่ 2.20 แสดงปริภูมิ 3 มิติสำหรับเครื่องกัด 3 แกน ข,ค และ ง แสดงการเพิ่มแกนหมุน 2 แกน ลงบนแกนเส้นตรง 3 แกน ทำให้สามารถขึ้นรูปพื้นผิวใด ๆ ก็ได้ในปริถูมิ 3 มิติ (26, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>จากรูปที่ 2.20 เราสามารถใช้เครื่องกัดที่มี 3 แกน (แกนเดินตรง X, Y, Z) ขึ้นรูปพื้นผิวเรียบใด ๆ ก็ได้ในปริภูมิ 3 มิติโดยปกติพื้นผิวจะเป็นผิวโค้ง ดังนั้นการเพิ่มแกนหมุน 2 แกนลงบนเส้นตรง 3 แกน ทำให้สามารถขึ้นรูปพื้นผิวใดก็ได้ในปริภูมิ 3 มิติ อาจมีคำถามสงสัยว่าผิวโค้งก็สามารถขึ้นรูปได้ด้วยเครื่องกัด 3 แกนก็ได้แต่ทำไมต้องใช้เครื่องกัด 5 แกน เหตุผลก็เพราะว่า ในการทำผิวโค้งเครื่องกัด 3 แกน เป็นการขึ้นรูป โดยอาศัยการเดินแบบจุดต่อจุด (point to point) ไปตามพื้นที่ผิวนั้นทำให้คุณภาพของพื้นผิวที่ได้มีคุณภาพไม่ดี ซึ่งจะเห็นได้จากการขึ้นรูปทรงกระบอกโดยการกลึง และการกัด 3 แกน ดังนั้น ในการขึ้นรูปของพื้นผิวโค้งด้วยเครื่องกัด 5 แกนจะไม่ใช้การเดินจุดต่อจุดแต่จะใช้การเคลื่อนที่ของแกนหมุนทั้ง 2 แทน ดังแสดงในรูปที่ 2.21<br><br> <br><br>รูปที่ 2.21 การขึ้นรูปของพื้นผิวโค้งด้วยเครื่องกัด 5 แกน (27, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.3 ประเภทของการขึ้นรูปโดยใช้เครื่องกัด 5 แกน<br> 2.16.3.1 การขึ้นรูปโดยตำแหน่ง (Positioning with five axes) ในชิ้นงานบางลักษณะอาทิเช่น เสื้อสูบเครื่องยนต์ เสื้อปั๊มน้ำ โดยต้องมีกระบวนการขึ้นรูปหลายการะบวนการ เช่น การคว้านรู การเจาะ การปาดผิว โดยมีการเอียงผิวชิ้นงานด้านต่าง ๆ เทียบกับแกนอ้างอิงของชิ้นงาน การขึ้นรูปประเภทนี้จะอาศัยแกนหมุนทั้ง 2 แกนของเครื่องกัด 5 แกน ชิ้นงานจะถูกยึดจับบนโต๊ะของเครื่องกัด 5 แกน มีดตัดเฉือน (Cutting Tool) ให้เอียงทำมุมสัมพัทธ์ตามแบบที่ต้องการ จากนั้นจะคงตำแหน่งนั้นไว้และเริ่มทำหระบวนการต่าง ๆ เช่น ปาดผิว เจาะรู คว้านรู โดยอาศัยเฉพาะการเคลื่อนที่ของแกนเชิงเส้นทั้ง 3 แกนเท่านั้น<br><br> <br>รูปที่ 2.22 การขึ้นรูปโดยตำแหน่ง (Positioning with five axes) (27, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br> ด้วยเหตุนี้ทำให้เราสามารถทำการขึ้นรูปชิ้นงานได้โดยการจับยึดชิ้นงานเพียงครั้งเดียวทำให้ลดเวลาในการผลิตรวมทั้งยังทำให้ค่าความผิดพลาดในการผลิตน้อยลงด้วยจะเห็นได้ว่าการขึ้นรูปประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องให้แกนหมุนทั้ง 5 แกนเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ความซับซ้อนของการทำโปรแกรมและราคาของชุดควบคุมจะน้อยกว่าการขึ้นรูปอีกแบบหนึ่ง ดังจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไปนี้<br>• การขึ้นรูปบนผิวโค้ง (Profiling with five axes)<br> ลักษณะของงานที่ใช้การขึ้นรูปบนผิวโค้งด้วยเครื่องกัด 5 แกน เช่น ในพัดสำหรับเครื่องยนต์ไอพ่น หรือโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า พื้นผิวของชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ อากาศยาน โดยพื้นผิวเหล่านี้จะมีความซับซ้อนทางสมการคณิตศาสตร์มาก หรือเป็นพื้นที่ผิวที่ Undercut คือไม่สามรถขึ้นรูปได้โดยเครื่องกัด 3 แกน ดังแสดงในรูปที่ 2.23<br><br> <br><br>รูปที่ 2.23 การขึ้นรูปบนพื้นผิวโค้ง (Profiling with five axes) (27, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> การขึ้นรูปแบบนี้ทั้งชิ้นงานและมีดตัดเฉือนจะทำการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันโดยอาศัยแกนทั้ง 5 แกนเคลื่อนที่พร้อม ๆ กันตามตำแหน่งของจุดและมุมอียงของชิ้นงานและมีดตัดเฉือนบนพื้นผิวที่จะทำการขึ้นรูป จะเห็นได้ว่าในการคำนวณหาตำแหนงเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ Software ช่วยในการคำนวณรวมถึงชุดควบคุมการเคลื่อนที่ของแกนจะต้องมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน<br> 2.16.4 Kinematic chain diagram เป็นไดอะแกรมที่ใช้แสดงให้เห็นถึงแกนใดบ้างทำหน้าที่เคลื่อนที่ชิ้นงานและแกนใดบ้างทำหน้าที่เคลื่อนที่มีดตัดเฉือน โดยในไดอะแกรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งจับยึดชิ้นงาน และอีกกลุ่มหนึ่งจับมีดตัดเฉือนเพราะในการขึ้นรูปด้วยเครื่องกัด 5 แกนนั้นเหมือนกับการที่มีหุ่นยนต์ 2 ตัวทำงานร่วมกัน โดยที่หุ่นยนต์ตัวแรกจับชิ้นงานและหุ่นยนต์ตัวที่สองจับมีดตัดเฉือนดังแสดงในรูปที่ 2.24 จะเห็นว่า แกน X, Y, AและB ทำการจับชิ้นงานส่วนแกน Z ทำการจับมีดตัดเฉือน<br><br> <br><br>รูปที่ 2.24 Kinematic chain diagram (28, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.5 การแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5 แกน<br> 2.16.5.1 การแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5 แกน โดยใช้ลักษณะของแกนที่จับยึดชิ้นงานและแกนที่จับยึดมีดตัดเฉือนเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทจาก Kinematic chain diagram ทำให้เราทราบว่า แกนใดบ้างเป็นแกนจับยึดชิ้นงานและแกนใดบ้างเป็นแกนจับยึดมีดตัดเฉือนจากเกณฑ์การแบ่งประเภทในหัวข้อนี้ทำให้เราสามารถแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5 แกน ออกเป็น 6 ประเภทด้วยกัน คือ G5 G0’, G0 G5’, G4/G1’, G1/G4’, G3/G2’ และ G2/G3’ โดยที่สัญลักษณ์ G ใช้แทนจำนวนของแกนที่ใช้จับยึดมีดตัดเฉือนและ G’ แทน จำนวนของแกนที่ใช้จับยึดชิ้นงานตัวอย่าง เช่น G2/G3’ หมายถึงมีแกนจำนวน 2 แกน (แกน Y และ B) ใช้จับยึดมีดตัด เฉือน และมี 3 แกน (แกน X, Z และ C) ใช้จับยึดชิ้นงานไว้ ก G5 G0’ หมายถึง มีแกนจำนวน 5 แกน (แกน X,Y, Z,A และ B) ใช้จับยึดมีดตัดเฉือนและงานถูกวางงอยู่บนพื้น ดังแสดงในรูปที่ 2.26<br><br> <br><br>รูปที่ 2.25 เครื่องกัด 5 แกนประเภท G2/G3’ (28, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> <br>รูปที่2.26 เครื่องกัด 5 แกนประเภท G5 G0’ (29, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.6 การแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5แกน โดยใช้ตำแหน่งของแกนหมุนทั้ง 2 เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทเกณฑ์การแบ่งในหัวข้อนี้ทำให้สามารถแบ่งประเภทหลัก ๆ ของเครื่องกัด 5 แกนได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ<br> 2.16.6.1 แกนหมุนทั้ง 2 อยู่บนมีดตัดเฉือนหรืออยู่ทางฝั่งสปินเดิล ดังแสดงในรูปที่ 2.27<br> <br><br>รูปที่ 2.27 แกนหมุนทั้ง 2 แกน (แกน A และ C) อยู่บนมีดตัดเฉือนหรือยู่ทางฝั่งสปินเดิล (Spindle) (29, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>ข้อดี<br>1. สามารถทำการขึ้นรูปชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องกัด 5 แกนในข้ออื่น ๆ ได้ เพราะ<br> ขนาดของชิ้นงานไม่ถูกจำกัดโดยขนาดของแกนหมุนทั้ง 2 <br>2. การคำนวณตำแหน่งของแกนทั้ง 5 ไม่ซับซ้อน เช่นในกรณีทีมีการเปลี่ยนตำแหน่ง การ<br> วางของชิ้นงานบนโต๊ะสามารถใช้ Zero Offset (G54 – G59) ในชุดควบคุมได้เลยโดย<br> ไม่ต้องทำการคำนวณด้วย Post-processor อีกครั้ง<br>ข้อเสีย<br>1. การติดตั้งของชุด Main Spindle มีความซับซ้อนมาก ยากต่อการความคุม<br> ตำแหน่งของแกนหมุนทั้ง 2 เนื่องจากเกิดภาวะ Gyroscopic Effect ในขณะที่สปินเดิล<br> และโต๊ะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง<br>2. ชุด Main Spindle ไม่แข็งแรง<br><br><br><br><br><br><br> 2.16.6.2 แกนหมุนทั้ง 2 จับชิ้นงาน ดังแสดงในรูปที่ 2.28<br><br> <br><br>รูปที่ 2.28 แกนหมุนทั้ง 2 (แกน A และ B) จับชิ้นงาน (30, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>ข้อดี<br>1. ในกรณีที่เป็นเครื่องแนวนอนทำให้มีการคายเศษโลหะได้ดีเมื่อทำการขึ้นรูป<br>2. สามารถทำการชดเชยความยาวมีดตัดเฉือนได้เลยไม่ต้องคำนวณตำแหน่งใหม่ด้วย <br> Post-processor<br>ข้อเสีย<br>1. มีช่วงในการทำงานของแกนหมุนน้อย<br>2. ไม่สามารถเคลื่อนที่แกนหมุนได้เร็ว เพราะน้ำหนักของงาน<br> 2.16.6.3 แกนหมุน 1 แกนจับชิ้นงานอีก 1 แกนจับมีดตัดเฉือน ข้อดีและข้อเสียของเครื่องกัดประเภทนี้ จะนำเอาข้อดีและข้อเสียของเครื่องกัด 5 แกนในหัวข้อที่ 2.16.6.1 และ 2.16.6.2 มาผสมกัน<br>2.16.7 การทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน<br> 2.16.7.1 ขั้นตอนการทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน ในการทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน มีขั้นตอนดังแสดงในรูปที่ 2.29 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้<br>• ทำการสร้างรูปทรงของชิ้นงานโดย โปรแกรม CAD <br>• ทำการคำนวณหาทางเดนของคมมีดตัดเฉือน โดยโปรแกรม CAM<br>• ทางเดินของมีดตัดเฉือนจะถูกเก็บอยู่ในรูปของ CL data-file ซึ่งจะประกอบตำแหน่งของปลายมีดตัดเฉือน(X,Y,Z) ใดๆ และเวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) โดยทั้ง (X,Y,Z) และ (I, j, k,) เทียบกับจุดศูนย์ของชิ้นงาน โดยปกติทางเดินของมมีดตัดเฉือนของเครื่องกัด 3 แกน จะมีแค่ตำแหน่งของปลายมีดตัดเฉือน (X,Y,Z) ส่วน (I, j, k,) จะมีค่าเท่ากันตลอดโดยมีค่าเท่ากับ (0,0,0) เพราะแกนของมีดตัดเฉือนจะขนานกับแกน Z ตลอดเวลา<br>• ทำการใส่ค่าความยาวของมีดตัดเฉือน และตำแหน่งจุดอ้างอิงของชิ้นงานเทียบกับจุดอ้างอิงของเครื่องจักรลงใน NC – postprocessor หน้าที่ของ NC – postprocessor คือจะทำการเปลี่ยน CL data file (X,Y,Z,B,C) ซึ่งเทียบกับจุดอ้างอิงของชิ้นงานไปเป็น (X,Y,Z,A,B) หรือ (X,Y,Z,A,C) หรือ (X,Y,Z,B,C) ขึ้นอยู่กับชนิดของรูปแบบเครื่องกัด 5 แกน โดยพิกัดเหล่านี้จะเทียบจุดอ้างอิงของเครื่อง<br>• ตรวจสอบการชนกันระหว่างมีดตัดเฉือน เครื่องจักรและชิ้นงาน โดยโปรแกรมจำลอง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยในการขึ้นรูป<br><br> <br><br>รูปที่ 2.29 ขั้นตอนการทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน (31, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.7.2 ลักษณะการคำนวณทางเดินของมีดตัดเฉือนโดยโปรแกรม CAM <br>ดังได้กล่าวไว้ในข้างต้นว่า CL data file จะประกอบด้วยตำแหน่งของปลายมีดตัดเฉือน (X, Y, Z) และเวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) ซึ่งสามารถคำนวณได้จากโปรแกรม CAM เราสามารถแบ่งลักษณะการคำนวณเวกเตอร์ (I, j, k,) ได้ดังต่อไปนี้<br> 2.16.7.2.1 การคำนวณเวกเตอร์ (I, j, k,) โดยจุด และเส้นตรงในการคำนวณลักษณะนี้ยังแบ่งออกเป็น<br>• เวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) ออกจากจุด<br>• เวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) เข้าหาจุด<br>• เวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) ออกจากเส้นตรง<br>• เวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) เข้าหาเส้นตรง<br>• เวกเตอร์ (I, j, k,) ที่คำนวณเข้าหาหรือออกจากจุดจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบ 5 แกน<br>• เวกเตอร์ (I, j, k,) ที่คำนวณเข้าหาหรือออกจากเส้นตรงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบ 4 แกน<br>2.16.7.2.2 การคำนวณเวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) โดยตั้งฉากและสาพัทธ์ในการคำนวณทางเดินของมีดตัดเฉือนมีพื้นที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 พื้นผิว คือ Past Surface, Drive Surface, Check Surface ซึ่งอธิบายได้ดังรูปที่ 2.30<br><br> <br><br>รูปที่ 2.30 Past Surface, Drive Surface, Check Surface (31, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>ดังนั้นการคำนวณในหัวข้อนี้จะเป็นการคำนวณ โดยให้แกนของมีดตัดเฉือนตั้งฉากหรือทำมุมสัมพัทธ์ กับพื้นผิวในรูปที่ 2.30 เป็นวิธีการใส่มุมสัมพัทธ์ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ มุมนำ (Lead angle) และมุมเอียง (Tilt angle) ซึ่งสามารถนิยามมุมทั้ง 2 ได้โดย มุมนำ (Lead angle) คือมุมที่นิยามตามทิศการเคลื่อนที่ของมีดตัดเฉือน ดังแสดงในรูปที่ 2.30 มุมเอียง (Tilt angle) คือมุมที่นิยามตามทิศที่ตั้งฉากของมีดตัดเฉือนในระนาบการขึ้นรูป ดังแสดงในรูปที่ 2.31<br><br> <br><br>รูปที่ 2.31 นิยามของมุมนำและมุมเอียง (32, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br> |
15/09/2548 11:09 น. |
คุณ ie nu ตอบดีมากเลยครับ<br>ผมต้องการข้อมูลเพื่อทำรายงานพอดี<br>ผมรบกวนบอกที่มาของข้อมูลได้ไหมครับผมอยากได้รูปภาพนะครับ<br>ขอบคุณครับ<br><a href="mailto:nakorn_sai@hotmail.com" Target="_BLANK">nakorn_sai@hotmail.com</a> |
04/01/2549 02:02 น. |
เราจะหาโปรแกรมในการ simulate พวก cnc ได้จากใหนครับ<br>และโปรแกรมตัวดีๆเจ๋งแนะนำหน่อยครับ <a href="mailto:pic.c@hotmail.com" Target="_BLANK">pic.c@hotmail.com</a><br>ขอบคุณครับ |
05/02/2549 16:53 น. |
เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม cnc เป็นยังไงครับแล้วจะต้องทำยังไงครับเมื่อผมเรียนในสาขางานนี้ครับ ท่านผู้รู้ช้วยกรุณาตอบให้รุ่นน้องที่ต้องการศึกษาในสาขางานนี้ทราบด้วยครับ ขอบคุณนะครับ |
13/04/2549 00:03 น. |
อยากรู้วิธีการลงโปรแกรม ProE WildFire v.2.0 ตอนนี้งงมาก<br>ใครมีความรู้ขอความกรุณาช่วยแนะนำหน่อยครับ ขอบคุณครับ<br><a href="mailto:army_lek@hotmail.com" Target="_BLANK">army_lek@hotmail.com</a> |
13/04/2549 00:12 น. |
ตอนนี้กำลังมองหางานใหม่อยู่ครับ ความสามารถพิเศษทางด้าน cnc และ ระบบ rs232 และโปรแกรม CadCam ประสบการณ์ <br>8 ปี เงินเดือนคุยกันได้ครับ ติดต่อที่ <a href="mailto:army_lek@hotmail.com" Target="_BLANK">army_lek@hotmail.com</a> |
24/07/2549 15:03 น. |
เรียน คุณสุดยอดครับ(คำตอบที่ 7)<br><br>ทางบริษัทของเรามีโปรแกรมดังกล่าวจากประเทศเยอรมัน ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ในหลายๆสถาบันการศึกษาหลายๆแห่ง รวททั้งในประเทศไทย<br>ผมรบกวนขอข้อมูลต่างๆ ดังนี้ครับ<br><br>1. บริษัทหรือสถาบันซึ่งคุณทำงานอยู่<br>2. ชื่อนามสกุลจริงสำหรับติดต่อ<br>3. ประเถทของเครื่องจักร (เครื่องกัด หรือ เครื่องกลึง)<br>4. ยี่ห้อของเครื่องจักร<br>5. จำนวนแกนของเครื่องจักร<br>6. จำนวน tool ซึ่งติดตั้งบนเครื่องจักร<br>7. ยี่ห้อและรุ่นของระบบ control<br><br>ทางบริษัทยินดีให้บริการครับ<br><br>อัคคพล เชื้อนาคา<br>ผู้จัดการฝ่ายขาย<br>DMG (Thailand) Co.,Ltd.<br>Deckel Maho Gildemeister<br>0-1987-3035<br><a href="mailto:akkapol.c@dmgthailand.com" Target="_BLANK">akkapol.c@dmgthailand.com</a> |
24/07/2549 15:35 น. |
เรียน คุณ CNC<br><br>สำหรับระบบแกนซึ่งใช้ในเครื่อง CNC จะใช้อักษรภาษาอังกฤษเป็นสัญลักษณ์แทน เช่น<br>X, Y, Z<br>A, B, C<br>W<br>หากในเครื่องจักรเดียวกัน มีแกน X หลายแกน จะใช้สัญลักษณ์แทนด้วย X1, X2...Y1, Y2.. เป็นต้น<br><br>ในความเป็นจริงต้องแยกอธิบายตามประเภทของเครื่องจักร คือ เครื่องกัดหรือเครื่องกลึง<br><br>จากคำถามของคุณ คิดว่าน่าจะหมายถึงเครื่องกัด ผมจึงของอธิบายเฉพาะเครื่องกัดก่อนครับ<br>เครื่องกัดโดยทั่วไปจะใช้ระบบ 3 แกนและ 5 แกน<br>ระบบ 3 แกนจะประกอบด้วยแกน X, Y, Z<br>ระบบ 5 แกนจะประกอบด้วยแกน X, Y, Z, B, C<br>วิธีการสังเกตว่าแกนไหนเป็นแกนไหน มีดังนี้<br><br>แกน X, Y, Z เป็นแกนซึ่งชิ้นส่วนเครื่องจักรเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง(เชิงเส้น)<br>เมื่อผู้ควบคุมเครื่องจักรหันหน้าเข้าเครื่องกัด แกนที่ชิ้นส่วนเครื่องจักรเคลื่อนที่ซ้ายและขวาคือแกน X<br>แกนที่ชิ้นส่วนเครื่องจักรเคลื่อนที่ตั้งฉากกับแกน X และอยู่ในระนาบเดียวกับโต๊ะกัดงาน คือ แกน Y<br>แกนซึ่งชิ้นส่วนเครื่องจักรเคลื่อนที่แนวเดียวหรือขนานกับแกนกลางของสปินเดิ้ล คือ แกน Z<br><br>สำหรับแกน B, C เป็นแกนซึ่งชิ้นส่วนเครื่องจักรมีการเคลื่อนที่เชิงมุม(แนววงกลม)<br>แกน B คือ แนววงกลมที่ชิ้นส่วนเครื่องจักรหมุนรอบแกน Y<br>แกน C คือ แนววงกลมที่ชิ้นส่วนเครื่องจักรหมุนรอบแกน Z<br><br>สำหรับเครื่องแบบ 5 แกนยังมีแยกย่อยอีก 2 แบบ คือ 5 axis/5 sides และ 5 axix simultaneous หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อตามที่อยู่ด้านล่างครับ<br><br>อัคคพล เชื้อนาคา<br>ผู้จัดการฝ่ายขาย<br>DMG (Thailand) Co.,Ltd.<br>Deckel Maho Gildemeister<br>0-1987-3035<br><a href="mailto:akkapol.c@dmgthailand.com" Target="_BLANK">akkapol.c@dmgthailand.com</a><br> |
22/09/2549 20:23 น. |
Laser Sinter Machine ไม่ต้องพึ่งเครื่อง 5 แกน หากชิ้นงานมีขนาดไม่เกิน 250 x 250 x 200 ออกแบบเสร็จ <br>ส่งเข้าเครื่อง ออกมาเป็นเหล็ก ความแข็ง 20 HRC ชุบได้ 40 HRC<br>ออกแบบไว้ อย่างไร ได้งานแบบนั้น <br>ไม่ต้องกัด ไม่ต้องทำแม่พิมพ์ ยิงผงเหล็กขึ้นมาแทน <br>ทำเสร็จได้ ชั่วข้ามคืน <br> |
22/09/2549 20:24 น. |
Laser Sinter Machine ไม่ต้องพึ่งเครื่อง 5 แกน หากชิ้นงานมีขนาดไม่เกิน 250 x 250 x 200 ออกแบบเสร็จ <br>ส่งเข้าเครื่อง ออกมาเป็นเหล็ก ความแข็ง 20 HRC ชุบได้ 40 HRC<br>ออกแบบไว้ อย่างไร ได้งานแบบนั้น <br>ไม่ต้องกัด ไม่ต้องทำแม่พิมพ์ ยิงผงเหล็กขึ้นมาแทน <br>ทำเสร็จได้ ชั่วข้ามคืน <br><br>สนใจติดต่อ 08 1813 5049 |
20/10/2549 14:53 น. |
ประเภทของcnc |