31/05/2557 13:20 น. |
ค่าvolt ที่หน้าจอของinverter ไม่ตรงกับที่วัดได้ หน้าจออ่านได้ 280 v แต่ใช้มิเตอร์วัดได้380 V ต้องตั้งค่าอะไรหรือเปล่าครับเป็นmitsubishi inverter ครับ |
31/05/2557 21:36 น. |
1) ไม่ทราบว่าค่าที่วัดได้ใช้ RMS meter หรือ True RMS มิเตอร์ 2) แนะนำอ่านลิงค์นี้ก่อนครับ ทำความเข้าใจเกียวกับค่า RMS และดูคลิปอธิบายความแตกต่างระหว่าง RMS meter กับ True RMS มิเตอร์ http://www.9engineer.com/index.php?m=news&a=show&news_id=9120 |
31/05/2557 21:42 น. |
True Rms ในสัญญาณที่เห็นกันในความเป็นจริงนั้น หลายคนมักจะเข้าใจว่า สัญญาณ AC นั้น มักจะเป็น Sine wave แต่ในความเป็นจริงนั้น เรา แทบจะไม่ได้เห็นสัญญาณแบบ sine เพียงๆเลย เพราะว่า สัญญาณที่เราวัดกันนั้น มักจะมีฮาร์มอนิกปะปนกัน มาก ถ้า เรา ใช้มิเตอร์ธรรมดา มักจะ rectifier Ac เป็น sine wave เท่านั้น ในปัจจุบันสัญญาณที่พบในวงจรไฟฟ้ามีความซับซ้อนมากขึ้น เช่นเป็นสัญญาณซายน์ที่ขาดช่วง(นำกระแสไม่เต็มคาบ) ,สัญญาณเป็นรูปคลื่นหัวแตก บ้างก็เป็นสัญญาณที่มีลักษณะไม่ซ้ำเดิม สิ่งเหล่านี้เรียกว่า เกิดความเพี้ยน โดยที่ความเพี้ยนนี้อาจเกิดขึ้นจากแรงดันหรือกระแสก็ได้ หรือไม่ก็เกิดจากความเพี้ยนพร้อมกันทั้งแรงดันและกระแส ผู้ทำการวัดอาจจะไม่ทราบเลยว่าสัญญาณที่กำลังวัดอยู่นั้นเกิดความเพี้ยน เพราะแบบเข็มทั้งหลายของมัลติมิเตอร์จะมีหลักการเดียวกัน คือ ต้องทำการปรับสเกลจากค่าเฉลี่ยที่วัดได้(แต่ก็มีเครื่องวัดบางประเภทที่ตอบสนองค่า RMS โดยตรงแต่ก็พบน้อยกว่าที่ตอบสนองต่อค่าเฉลี่ย) หรือเครื่องวัดแบบตัวเลขเอง บางครั้งค่าที่แสดงได้ก็ยังไม่สอดคล้องกับรูปคลื่นของสัญญาณ ดังนั้นโอกาสที่ผู้วัดจะใช้เครื่องธรรมดา ธรรมดา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำพวกที่ตอบสนองต่อค่าเฉลี่ย) วัดสัญญาณที่เพี้ยนไปจากรูปคลื่นsine แล้วนำค่าที่วัดได้ไปใช้งานนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งก่อให้เกิดความผิดพลาดในการวัด โดยที่ผู้วัดเองอาจไม่ทราบว่าได้เกิดความผิดพลาดขึ้นแล้ว ดังนั้นจะเห็นว่าหากสัญญาณที่ต้องการวัดผิดเพี้ยนไปจากรูปคลื่นSineแล้ว ค่าฟอร์มแฟคเตอร์ของสัญญาณก็จะแตกต่างออกไป หากนำเครื่องวัดที่ทำการปรับสเกลจากค่าฟอร์มแฟคเตอร์ของสัญญาณSineมาใช้งาน ค่า RMS ที่อ่านได้ก็จะผิดไปทันที ในด้านทฤษฎีสามารถหาขนาดของสัญญาณที่ต้องการวัดแต่ไม่เป็นรูปคลื่นSineหรือเป็นรูปคลื่นSineที่เพี้ยนไปได้โดยสัญญาณที่จะวัดนั้นพบว่ามีสัญญาณSineที่มีความถี่อื่นๆปะปนอยู่ด้วยแอมพลิจูดที่ต่างกันไป และเรียกสัญญาณSineที่มีความถี่อื่นๆนี้ว่าฮาร์โมนิก(harmonic) ซึ่งจะมีความถี่เป็นจำนวนเท่าของความถี่มูลฐาน ด้วยแนวคิดนี้เราสามารถหาค่า RMS ของสัญญาณด้วยทฤษฏีการวิเคราะห์ฟูเรียร์(Fourier analysis Fourier Series คือ เป็นคู่มือทางคณิตศาสตร์ ใช้ในการวิเคราะห์หาผลตอบสนองของ ระบบเชิงเส้นที่มีต่อสัญญาณ non - sine periodic function |
31/05/2557 21:43 น. |
หลักการของเครื่องวัดไฟฟ้ากระแสสลับ โดยทั่วไปแล้วมักจะพบว่าเครื่องวัดส่วนใหญ่ในภาคปฏิบัติจะนิยมใช้มัลติมิเตอร์หรือเครื่องวัดเฉพาะอย่าง (เช่น โวลต์มิเตอร์ หรือแอมป์มิเตอร์ เป็นต้น) ซึ่งเป็นเครื่องวัดแบบชี้ค่า โดยนิยมใช้ชนิดที่มีโครงสร้างเป็นขดลวดเคลื่อนที่ (Moving Coil) ที่ตอบสนองต่อค่าเฉลี่ยของสัญญาณเท่านั้น นั่นหมายถึง เครื่องวัดชนิดนี้ตอบสนองหรือวัดเฉพาะค่าที่เป็นค่าไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น อย่างไรก็ดี เครื่องวัดที่มีโครงสร้างดังกล่าวมีข้อดีคือมีความไวสูง สิ้นเปลืองกำลังน้อย และมีระยะสเกลคงที่ (Linear Scale) แต่อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะดัดแปลงเครื่องวัดประเภทนี้ให้สามารถให้ได้กับไฟฟ้ากระแสสลับรูปคลื่นซายน์ จึงมีวงจรเรียงกระแสที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรงอยู่ภายในเครื่องวัดด้วย โดยเครื่องวัดนี้จะไม่ทำการวัดไฟฟ้ากระแสสลับโดยตรงแต่จะวัดค่าของปริมาณไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากวงจรเรียงกระแส แล้วนำมาแปลความหมายเป็นค่าไฟฟ้ากระแสสลับ โดยอาศัยค่าฟอร์มแฟคเตอร์ที่ทำให้ทราบความสัมพันธ์ของค่าอาร์เอ็มเอสต่อค่าเฉลี่ยของสัญญาณการวัดข้อมูลไฟฟ้ากระแสสลับ เช่น กระแสไฟฟ้าสามารถทำได้สองวิธี คือ วัดเป็นค่า True RMS โดยตรง และวัดเป็นค่าเฉลี่ยแล้วแปลงกลับมาเป็นค่า True RMS แต่ในยุคที่มีฮาร์มอนิก ต้องวัดแบบ True RMS โดยตรงเท่านั้นจึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง โดยสัญญาณที่จะวัดนั้นถูกค้นพบว่าสัญญาณซายน์ที่มีความถี่อื่นๆปะปนอยู่ด้วยแอมปลิจูดที่แตกต่างกันไป เรียกสัญญาณซายน์ที่ความถี่อื่น ๆ นี้ว่าฮาร์โมนิก (Harmonic) ซึ่งอาจจะมีความถี่เป็นจำนวนเท่าของความถี่มูลฐาน (หรือความถี่ของสัญญาณที่กำลังวัด) แนวคิดนี้อธิบายด้วยทฤษฎี การวิเคราะห์ฟูเรีย (fourier analysis) ที่บอกว่าฟังก์ชัน f(t) ของสัญญาณใด ๆได้ ฮาร์มอนิกเป็นตัวการทำให้เกิดความผิดพลาดในการวัดในปัจจุบันนี้การนำเอาเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังมาใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีให้เห็นทั่ว ๆ ไป การนำเอาอิเล็กทรอนิกส์กำลังไปใช้ในการควบคุมเครื่องจักรเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีประสิทธิภาพค่อนข้างดี แต่เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เป็นโหลดที่ไม่มีความเป็นเชิงเส้นและมีการเปลี่ยนแปลงทางกระแสสูง การเปลี่ยนแปลงกระแสอย่างฉับพลัน เป็นผลทำให้เกิดฮาร์มอนิกหรือสัญญาณรบกวนที่มีความถี่เป็นทวีคูณของความถี่เดิมเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าและทำให้กระแสไฟฟ้าเกิดการผิดเพี้ยนผิดรูปไป |
31/05/2557 21:45 น. |
หลักการของเครื่องวัดไฟฟ้ากระแสสลับ (ต่อ) ฮาร์มอนิกเป็นสัญญาณรบกวนอยู่รูปของแรงดันหรือกระแสไฟฟ้าทั้งแรงดันและกระแสไฟฟ้านี้ทำให้รูปคลื่นไซน์มีรูปร่างผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็นในปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญก้าวหน้ามาก หากดูผิวเผินเหมือนว่ามีนมีแต่ประโยชน์แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว มันเป็นตัวสร้างปัญญาทางไฟฟ้าไม่น้อยเลยทีเดียวเนื่องจากโหลดที่ไม่เป็นเชิงเส้นและมีการเปลี่ยนแปลงทางกระแสสูงการเปลี่ยนแปลงของกระแสอย่างรวดเร็วเป็นผลให้เกิดฮาร์มอนิก หรือสัญญาณรบกวนที่มีความถี่เป็นจำนวน n เท่าของความถี่มูลฐานในระบบไฟฟ้า ฮาร์มอนิกคือผลรวมของสัญญาณรบกวนในรูปกระแสและแรงดันรวมกับความถี่มูลฐานของระบบโดยฮาร์มอนิกนี้จะมีคามถี่เป็นจำนวนเท่าของความถี่มูลฐานซึ่งระบบไฟฟ้าในบ้านเรามีความถี่มูลฐาน 50 เฮิรตซ์ ฮาร์มอนิกที่ 2 มีความถี่ 100 เฮิรตซ์ และ ฮาร์มอนิกที่ 3 มีความถี่ 15 เฮิตรซ์ ฮาร์มอนิกที่เกิดจาการดึงกระแสจากโหลดที่ไม่เป็นเชิงเส้นจะทำให้รูปสัญญาณของกระแสและแรงดันผิดเพี้ยนไปทำให้กระแสไหลกลับสู่ระบบซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบได้ |