13/02/2557 08:25 น. |
ผมอยากจะทราบว่าการทำการตั้ง neutral zone มีขั้นตอนในการตั้งอย่างไร และค่าที่นำมาพิจารณาคือค่าอะไรครับ ขอบคุณครับ[color=blue][/color][B][/B] |
14/02/2557 16:05 น. |
ความหมายของนิวตรอลโซน ตามลิงค์ด้านล่าง http://www.9engineer.com/index.php?m=webboard&a=show&topic_id=15604 |
14/02/2557 16:18 น. |
วิธีต่อไปนี้เป็นเพียงวิธีหนึ่งของการหา นิวตรอลโซน |
14/02/2557 16:19 น. |
|
14/02/2557 16:21 น. |
|
14/02/2557 16:22 น. |
|
14/02/2557 16:23 น. |
|
14/02/2557 16:26 น. |
|
14/02/2557 16:27 น. |
|
14/02/2557 16:32 น. |
จากวิธีด้านบน ในทางปฏิบัติ มักจะไม่มีใคร ทำแปรงถ่านให้เป็นไปตามรูปภาพประกอบ เพราะเสียเวลา และการใช้ ดีซีโวลท์มิเตอร์ที่มีเข็มตรงกลาง ก็หาไม่ได้ง่าย ฉะนั้น ส่วนมากใช้แปรงถ่านปกติ และใช้มิเตอร์เข็มธรรมดา ก็พอที่จะให้ความแม่นยำในการหานิวตรอลโซนได้ดีพอสมควร |
16/02/2557 09:26 น. |
ขอบคุณมากครับ คุณช่างซ่อมมอเตอร์ ได้ความรู้มาก รบกวนถามอีกอย่างครับ ถ้าขดลวดฟิลด์มีปัญหา หรือเสื่อมสภาพ จะมีผลกับตำแหน่ง นิวตรอนโซนหรือไม่ครับ เช่นการเกิดประกายไฟ |
16/02/2557 19:58 น. |
เมื่อมอเตอร์มีการใช้งานหรือจ่ายโหลด จะเกิดกระแสขึ้นและเส้นแรงแม่เหล็กขึ้นที่อาร์เมเจอร์ เส้นแรงแม่เหล็กของอาร์เมเจอร์จะพยายามเบี่ยงเบน จุดที่เป็นนิวตรอลโซน (อาร์เมเจอร์รีแอคชั่น ) วิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มอเตอร์จึงถูกออกแบบมาให้มีขั้วอินเทอร์โปล สร้างสนามแม่เหล็ก มาเสริมกับสนามแม่เหล็กของฟิลด์คอยล์ โดยมีขนาดตามกระแสของอาร์เมเจอร์ เพื่อที่จะยังคงตำแหน่งนิวตรอลโซน ไว้เหมือนเดิม ฉะนั้นหากฟิลด์คอยล์ เกิดความเสียหายหรือเกิดความผิดปกติ ผลรวมของสนามแม่เหล็กก็จะไม่เพียงพอที่จะทำให้ จุดนิวตรอลโซนยังคงไว้ที่ตำแหน่งเดิม มีผลให้เกิดการคอมมิวเตชั่นนอก ตำแหน่งนิวตรอลโซน ส่งผลให้เกิดการสปาร์ค |
16/02/2557 21:57 น. |
ต้องขอขอบคุณมากครับที่เสียสละเวลามาตอบคำถามให้ความรู้ ความรู้ที่ได้นี้เป็นประโยชน์มากครับ กับคนที่ยังไม่รู้หรือไม่เข้าใจอีกมาก |