12/07/2556 23:12 น. |
อยากสอบถาม ว่าหลอดไฟ 3 วัตต์ ต้องมีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ เท่าไหร่ ถึงจะอยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน และ ช่วยประหยัดไฟ ได้จริงคะ |
14/07/2556 02:36 น. |
3 วัตต์เนี่ยนะ |
28/07/2556 09:33 น. |
ไงดี3wเอง |
09/08/2556 12:29 น. |
ถ้าคุณออกแบบ หลอดชนิดใหม่ ก็ขอ มากกว่า 0.9 ก็ดี โรงแรม จะได้ลดภาระ Cap-Bank ผมยังไม่เคยเห็นข้อกำหนดจากรัฐ เรื่องนี้ อาจมีก็ได้นะ แต่หลอดฟลูออเรดเซ้น ทั่วไปที่ บาบาสต์ ลวด ยังมี PF 0.6 ก็ยังมีขายเลย เพราะผู้ผลิต ทุกรายก็เข่งขันกันเองทางเทคโนโยีอยู่แล้ว ถ้าเป็นหลอดใ้ส้ หรือ incandescent lamp หลอดชนิดนี้ เป็น ความต้านทาน ธรรมดา PF = 1 ถ้าเป็นหลอดประหยัด ที่ใช้ บาลาสต์อิเลคทรอนิกส์ ก็มี PF มากกว่า 0.95 จะมีก็ ฮาโมนิคส์ เสียมากกว่า คำว่าประหยัดไฟฟ้านั้น ถ้าคุณกำหนด 3 วัตต์ มันก็คือ 3 วัตต์ นะครับ ประหยัดไม่ได้อีกแล้ว แต่ถ้าคุณบอกหลอด 1 วัตต์ให้แสงสว่าง เท่ากับหลออด 3 วัตต์ นี่คือเป้าหมายที่แท้จริง เช่น หลอดฟลูออเรสเซ้น 36 วัตต์ ถ้าใช้ บาลาสต์ แบบขดลวด จะใช้พลังงานประมาณ 50 วัตต์ แสง 3000 ลูแมน แต่เมื่อ ใช้บาลาสต์อิเลคทรอนิคส์ กับหลอดเดียวกันนี้ จะใช้พลังงานประมาณ 40 วัตต์ แต่ได้แสง 2500 ลูแมน เท่านั้น แต่ในทางปฎิบัติ เขาถือว่าแสงแตกต่างน้อยมาก รับได้กับแสงที่ลดลง แต่เราได้ลดพลังงานมากมาย ยังถืือว่ากฎทรงพลังงาน ของนิวตัน ก็ยังใช้ได้ตลอด เพราะทันทีที่เราลดพลังงานงาน รูปพลังงานที่ต้องการให้เปลี่ยนไป ก็ต้องลดลงเสมอ เพียงแ่ทุกวันนี้เน้น การเปลี่ยนรูปพลังงานให้มีความสูญเสียให้น้อยที่สุดเท่านั้น |
06/09/2556 22:26 น. |
PF กับเรื่องประหยัดไฟฟ้า ไม่เกี่ยวกันนะครับ ลองศึกษาดูนะครับ แต่มันจะเป็นเรื่องของกระแสที่เพิ่มขึ้นเพราะ MVAR เพิ่มนะครับ |
06/09/2556 22:28 น. |
ใน คห.4 ขอแก้ไข MVAR เป็น VAR นะครับ พอดีติดจากโรงงาน >< |
04/12/2557 09:57 น. |
กระแสเพิ่มก็เปลืองไฟสิครับ แล้วบอกไม่เกี่ยวกับการประหยัดได้อย่างไร |