Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,609
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,811
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 174,188
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 174,110
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,547
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,622
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,579
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,955
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 162,128
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,415
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,340
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,541
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 69,023
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,775
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,838
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,628
17 Industrial Provision co., ltd 40,716
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,350
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,313
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,633
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,536
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,858
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,289
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 32,107
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,540
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,548
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,920
28 AVERA CO., LTD. 23,640
29 เลิศบุศย์ 22,627
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,409
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,294
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,975
33 แมชชีนเทค 20,904
34 มากิโน (ประเทศไทย) 20,147
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 20,100
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,896
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,529
38 SAMWHA THAILAND 19,422
39 วอยก้า จำกัด 19,161
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,614
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,435
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,339
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,319
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,290
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,165
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 18,141
47 Systems integrator 17,717
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,684
49 Advanced Technology Equipment 17,521
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,472
24/04/2556 15:26 น. , อ่าน 7,192 ครั้ง
Bookmark and Share
DC Motor 75 kW

24/04/2556
15:26 น.
รบกวนผู้รู้หน่อยครับ
พอดีได้ทำการเปลี่ยนมอเตอร์ดีซี และใช้งานไปประมาณ 2 วัน แล้วไหม้ครับ
ถามช่างที่เปลี่ยนบอกว่า ไม่ได้มีการ Set jumper ที่ DS-1200 ใหม่หลังจากการเปลี่ยน
คือเปลี่ยนมอเตอร์เสร็จแล้วก็รันเลยอ่ะครับ
อยากจะถามว่า สาเหตุที่ทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ เป็นเพราะการ Set parameter ไม่ถูกต้อง
ใช่หรือเปล่าครับ
ปัญหาต่อมาก็คือ เมื่อมอเตอร์ Overheat ทำไม DS-1200 ไม่ Alarm และตัดระบบ
แต่พอมาทดสอบแบบ Manual ก็ทำงานปกติ งงครับ
รบกวนด้วยครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
24/04/2556
21:56 น.

เฮ้อ... อ่านดูแล้วเหมือนคนอ่าน จะอยู่ในโรงงานเดียวกับ เจ้าของกระทู้เลย เขียนย่อซะขนาดนี้ ผมเองในส่วนที่พอจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การซ่อมมอเตอร์ได้บ้าง แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่า ไอ้ DS-1200 มันคือ อะไร

ถ้าให้ขอเดาก็น่าจะเป็นชุดคอนโทรล จ่ายเพาเวอร์ให้กับมอเตอร์ ในเมื่อมอเตอร์ สามารถรันได้ตั้ง 2 วัน เข้าใจว่าการเซต พารามิเตอร์ไม่น่าจะเกี่ยว และที่บอกว่ามอเตอร์ดีซีไหม้ ก็ไม่รู้ไหม้ในส่วนไหน อาร์เมเจอร์ หรือสเตเตอร์ แต่ก็ไม่แน่เหมือนกัน ถ้าเป็นพารามิเตอร์ที่เกี่ยวกับ การจ่ายโวลท์ให้ฟิลด์คอยล์ คงต้องให้เพื่อนสมาชิก ที่รู้จัก DS-1200 อย่างแท้จริงเข้ามาให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม
ความคิดเห็นที่ 2
สมภพ
27/04/2556
10:30 น.
ผมเข้าใจว่า DS-1200 เป็นอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์
การที่มีการเปลี่ยนมอเตอร์ หากเป็นมอเตอร์ขนาดเดียวกัน ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่หากว่าเป็นมอเตอร์คนละขนาด เช่น แรงดันไม่เท่ากัน หรือ KW ของมอเตอร์ไม่เท่ากัน ค่า Parameter ของ DS-1200 จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงด้วยครับ
กรณีที่ Run มาได้ 2 วัน แล้วไหม้ เป็นไปได้ทั้งตัวมอเตอร์ และตัว DS-1200 ครับ ซึ่งอาจเกิดจากความร้อนสะสมจนไหม้ หรือมอเตอร์ทำงานเกินกำลัง ในวันที่ 2 จนไหม้ก็ได้
กรณีที่ มอเตอร์ Overheat แล้ว DS-1200ไม่ตัดระบบ คงต้องตรวจสอบ
1.สายสัญญาณที่ใช้วัดอุณหภูมิของมอเตอร์ตัวใหม่ ได้ต่อเข้ากับ DS-1200 หรือไม่
2.อุปกรณ์วัดอุณหภูมิของมอเตอร์ตัวใหม่ เสียหรือไม่
3.การตั้งค่า Parameter ของ DS-1200 ในส่วนที่ทำการตัดระบบเมื่อเกิด Overheat ที่มอเตอร์อาจไม่ถูกต้อง

หากต้องการปรึกษาเพิ่มเติม โทรคุยได้ครับ
สมภพ
089-0208884
ความคิดเห็นที่ 3
Ton2081
30/04/2556
14:32 น.
@K.สมภพ & ช่างซ่อมมอเตอร์
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
คือมอเตอร์ไหม้ที่ขดลวดฟิลคอยล์ครับ
อยากทราบสาเหตุว่ามาจากอะไรได้บ้าง
สมมุติว่า เราเปลี่ยนแค่ตัวมอเตอร์ แต่ไม่ได้เซ้ท Jumper ของ DS-1200
คือไม่ได้เปลี่ยน Parameter ของระบบ Control เลย
จะมีผลมากน้อยแค่ไหนครับ
กระแสฟิลด์ของเดิมคือ 385 แอมป์ อาร์เมเจอร์ 16.2/9.4 แอมป์
เปลี่ยนมอเตอร์ใหม่กระแสฟิลด์ 372 แอมป์ อาร์เมจอร์ 19.0/9.5 แอมป์
ในกรณีนี้จะทำให้ขดลวดฟิลด์คอยล์ร้อนใช่ไหมครับ
รบกวนขอความเห็นอีกทีครับ ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 4
สมภพ
30/04/2556
15:29 น.
การเปลี่ยนมอเตอร์ที่มีพิกัด ไม่เท่าของเดิม จำเป็นต้องเปลี่ยนค่า Parameter ของอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบด้วยครับ และในกรณีนี้ ค่าพิกัดมอเตอร์ต่ำกว่าของเดิม (กระแส Field) จึงทำให้เกิดความร้อนสะสมเฉพาะใน Field Coil จึงทำให้ขดลวดดังกล่าว ไหม้ได้ครับ แต่ถ้ามอเตอร์ตัวนี้ มีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิที่ Field Coil ระบบก็จะส่งสัญญาณไปให้ DS-1200 หยุดการทำงาน

หมายเหตุ การปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ ของอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบสำคัญมาก ซึ่งหากตั้งค่าไม่เหมาะสม อาจทำให้มอเตอร์ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ หรืออาจทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างซ่อมมอเตอร์
30/04/2556
16:00 น.
เข้าใจว่าน่าจะเขียนค่ากระแสสลับกันระหว่างกระแส อาร์เมเจอร์กับกระแสฟิลด์

ตัวเดิมน่าจะเป็น Iarm. = 385 A. , If = 16.2-9.4 A.
ตัวที่นำมาติดตั้งแทนน่าจะเป็น Iarm. = 372 A. , If = 19.0- 9.5 A.

ปัญหาคือฟิลด์คอยล์ไหม้น่าจะเกี่ยวกับการเซทพารามิเตอร์ของไดรว์หรือเปล่า

จากความคิดเห็น ถ้าไม่มีการรีเซตค่าชุดไดรว์ไปอย่างอื่น ชุดไดรว์น่าจะจำค่าเดิม และปล่อยให้กระแสไหลผ่านฟิลด์คอยล์อยู่ในช่วง 16.2 - 9.4 A. ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีค่าต่ำกว่ากระแส พิกัดของมอเตอร์ที่นำมาติดตั้งทดแทน และไม่น่าจะทำให้ขดลวดฟิลด์คอยล์ไหม้

พอดีไม่ได้บอกขนาดมอเตอร์ และข้อมูลอื่นๆ เลยไม่รู้เหมือนกันว่าการที่จ่ายกระแสฟิลด์คอยล์ ไม่ถึงเนมเพลทแล้วจะไปมีผลต่อค่าอื่นๆ เช่น กระแสอาร์เมเจอร์ขณะขับโหลดหรือไม่
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างวรเดช
04/05/2556
14:01 น.
ถ้าอากาศร้อน คงไม่เกี่ยวนะครับ อิอิ
ความคิดเห็นที่ 7
เด่นไฟฟ้าEP26
07/05/2556
22:59 น.
ขอทราบค่าแรงดันของขดลวดฟิลด์ด้วยครับ ถ้าเนมเพลทไม่ได้บอกมาก็ขอเป็นความต้านทานของขดลวดก็ได้ครับ
เพื่อสามารถเปรียบเทียบแรงดันที่ใช้งานอย่างแท้จริง เพราะ มีการใช้งานของกระแสอยู่สองช่วง คือ16.2 และ 19 A.
ส่วน 9.4 และ 9.5 A. ไม่มีปััญหาครับ ผมเคยเจอปัญหาเหล่านี้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เดิมแรงดันฟิลด์ 380 V. ความต้าน
ทาน 60โอห์ม กระแส 6.5 A. เปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ กระแส 6.2 A. ความต้านทาน 30โอห์ม แต่แรงดัน 200 V.
ลองคำนวณง่ายๆ เมื่อใช้แรงดัน 380V. ความต้านทาน 30 โอห์ม ก็จะได้กระแส 12.7 A.
เปรียบเทียบแล้วก็เป็นไปได้ที่ขดลวดจะโอเวอร์ฮีทครับ เพราะมอเตอร์ดีซีบางตัวจะไม่บอกพิกัดแรงดันของขดลวดฟิลด์มา
แต่จะบอกความต้านทานที่ 25 องศามาแทน
ความคิดเห็นที่ 8
lm311
12/05/2556
11:50 น.
ส่วนใหญ่ field coil มี Drive บางยี่ห้อเท่านั้น ที่จะทำ current control ทั่วไปมักจะจ่ายโวลท์ ออกมา มอเตอร์เดิม If = 16.2-9.4 A. แสดงว่าแรงดันสูง จึงกระแสต่ำ ส่วนตัวใหม่ กระแสสูงIf = 19.0- 9.5 A.แสดงว่าแรงดันต่ำ แต่คุณเปลี่ยน motor แต่ไม่set-up แรงดัน Drive ใหม่ จึงยังแรงดันสูงอยู่ จึงเกิดไหม้ได้ ประมาณว่าที่ใช้เวลา 2 วันจึงไหม้ เพราะ field coil มีกำลังต่ำจึงไหม้ช้า และถามว่าทำไม ไม่ Over Heat Trip เพราะ sensor อุณหภูมิ มักไม่มีในขดลวด filed ครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
2 July 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD