14/03/2556 21:30 น. |
กำหนดเพิ่มเติม 22 kv / 400-230 v DYN11 50Hz จาก S = 1.732*V*I I = 2165.12 A เพิ่มโหลดเล็กๆเข้าไปเพียง 190 kw ถือว่าไม่มาก เพิ่มเข้าไปได้เลยครับ(ผมคำนวณให้แล้วครับ ไม่ได้พูดลอยๆหมุนติ้วเอานะครับ) สิ่งที่คุณเรียนมา กับสิ่งที่คุณทำงาน จะต่างกัน และคุณต้องแยกเอกสารออกมาว่า เอกสารไหนส่งราชการ เช่น กรมโรงงาน การไฟฟ้า การตรวจสอบอาคารโรงงานประจำปี การประกันภัยของบริษัท ในการส่งกรมโรงงาน คุณต้องทำเรื่องแรงม้าเปรียบเทียบ สรุปโหลดปัจจุบัน เช่น รับไฟฟ้าในระบบ 22 kvมา โหลดหรือแรงม้าเปรียบเทียบจะต้องไม่เกิน 10 MW เห็นหรือไม่ครับ หน่วยงานราชการเขาไม่ได้ให้เราบอกเป็น KVA ส่วนจะดูค่า peak ขอpassword จากการไฟฟ้ามา แล้วลิงก์เข้าไปดูได้เลยครับ ส่วนการวางแผนเครื่องจักร ส่วนมากเราจะวางแผนกันล่วงหน้า สาม หรือ ห้า หรือ สิบปี แต่ระยะนี้ผมว่าวางแผนสามปีเหมาะสมสุด เพราะระบบมีการผันแปรสูง เช่นปีที่แล้ว วางเครื่องจักรจะทำไลน์ผลิตเพื่อรองรับรถอีโคคาร์ เล่นกันตั้งแต่สร้างโรงงาน วางแผนเครื่องจักร พอยอดการผลิตผันเปลี่ยน ทุกอย่างก็ต้องปรับ แผนลงเครื่องจักรถึงปี 2016 ก็ต้อง Rev กันใหม่ จะเห็นว่าการลงทุนหรือนำเครื่องจักรเข้า ต้องมีแผน เพราะมันเป็น INVESMENT ที่มีค่าเสื่อม การนำเครื่องจักรเข้าอาจต้องเข้าร่วมวางแผนกันหลายฝ่าย ไม่ว่าฝ่ายการตลาด ฝ่ายวางแผน ฝ่ายผลิต และฝ่ายวิศวกรรม มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆในการวางแผน แต่โหลดเพียง 190 kw อาจจะอยู่นอกเหนือแผน หรืออย่างไรก็แล้วแต่ ไม่มีสิ่งใดพลิกแพลงหรอกครับ คุณต้องพูดคุยสอบถามกับหัวหน้าคุณเยอะๆ เพื่อความก้าวหน้า แต่จากสำนวนที่คุณเขียนร่ายมา ผมยังมองว่าคุณควรคุยกับผู้รับผิดชอบโปรเจคโดยตรง หรือ หัวหน้าคุณเองนะครับ จักไขข้อกังขาได้ดีเลยทีเดียว ผมคนนอกไม่รู้ข้อมูลเท่าคนในหรอกนะครับ |
26/03/2556 20:56 น. |
kW กับ kVA มันต่างกันตรงไหน คุณเคยฉุดคิดหรือเปล่า 980kW คิดแบบ PF=0.85 เอาต่ำสุดที่จะถูกปรับไปเลย จะได้ 1,153 kVA หม้อแปลงรับโหลด ไม่ควรเกิน 80% ดังนั้น 80% ของ 1,500 kVA จะเท่ากับ 1,200 kVA ต่อไปคุณก็เอาไปคิดต่อแล้วกัน ว่าจะทำยังไง ต้องเกียวข้องกับ PF หรือไม่ |
27/03/2556 10:56 น. |
คุณเจ้าของกระทู้ครับ พอแยกออกหรือยังครับ ว่า KW กับ KVA มันต่างกันอย่างไร? ถ้ามีคนออกแบบหม้อแปลงไว้ 1500 KVA ใช้มัน80% อย่าได้ไปรับมาทำงานเลย เข้าใจครับว่าหม้อแปลงมันทำงานที่เซฟตี้ 80% แล้วตอนตั้งหม้อแปลงคำนวณโหลดไว้ 1200 KVA หรืองัย งั้นก็ลดราคาลงไปใช้ ACB ที่พิกัด 1200 KVA ไปเลย ค่า PF.ไม่ต้องไปเกรงนักหรอก ผมไปรับวิเคราะห์ให้บางบริษัท PF 0.63 ทำข้อมูลเสนอทุกปี ลองกลับไปคำนวณดูนะ ว่าค่าปรับ กับยอดกำไรของผลผลิต กับการต้องเสียค่าแก้มันเท่าไร คุ้มหรือไม่ จุดคืนทุน ค่าเสื่อม เวลามองมองให้มันครบทุกด้าน บนดิน ใต้ดิน บนฟ้า ใครสายไหน ต้องจ่ายเบี้ยเปิดประตูอะไรบ้าง ทำงานสมัยนี้เดินไม่ระวัง เหยียบตาปลาใครเข้า จะเป็นบอนไซ เลี้ยงไว้ แต่ไม่ให้โต ผมเห็นหลายรายแล้ว เก่งกาจ นำเสนอในห้องประชุม สุดยอด หลังนั้นมาโดนย้ายส่วน ดับเลย ดาวประกายแสง ถ้าหัวหน้าคุณยังดันไหว แบกรับไหวก็แบกต่อไป แต่ยากถ้าหัวไม่เอาแล้ว หางจะกระดิกได้อย่างไร ไม่หางานใหม่ ก็เฉาต่อไป ลืมไป หากไลน์คุณมีอาร์โมนิคเยอะ ไม่ต้องไปแก้ PF.ด้วย cap. นะครับ เสียเงินปล่าว ทั้งนี้ทั้งนั้น ช่วยดูหน้าตาเจ้าของกิจการด้วย ว่าเขาจะเอาแบบไหน ลำพังแค่ผู้จัดการฝ่ายเข้าไปนำเสนอโดนแทงกลับหงายเงิบ มาหลายรายแล้ว รบให้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกทาง |
27/03/2556 22:48 น. |
เรื่องที่หม้อแปลงไม่ควรรับโหลดเกิน 80% นี่ผมไม่เห็นด้วยเลยครับ ไม่มีมาตรฐานมารองรับแน่นอน น่าจะเป็นแค่ Design Guideline จริงที่เวลาออกแบบเผื่อโหลดไว้ ก็ไว้สำหรับเวลาที่ต้องเพิ่มโหลดในอนาคตครับ จริงๆเพิ่มได้ครับ แต่การเพิ่มโหลดก้อจะทำให้ Temp หม้อแปลงสูงขึ้น ซึ่งก้อจะส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานหม้อแปลงครับ |