13/03/2556 12:33 น. |
ผมขอถามนะคับ 1. ถ้าคาปาซิเตอร์ขนาดไม่เท่ากัน ไม่เหมือนทั้งลักษณะ แต่เหมือนกันตรง 4.0uf ครับมันมีผลหรือไม่ (ตัว c original หาไม่ได้ครับ ต้องนำเข้าหรือต้องซื้อเยอะๆ ) ถ้าร้านมีซีที่เหมือนกันหมดลักษณะ แต่ต่างตรงค่า เป็น 5.0uf และ แรงดัน 400vac ครับ มันจะมีปัญหาหรือไม่ครับ 2. ช่างพันขดลวดใหม่หมด อบน้ำยาวานิชใหม่ ช่างบอกว่าค่าของขดลวด ขนาดและการพันเท่าเดิม 3. การทดสอบเอามาเสียบปลั๊กไฟ และ เปิดเครื่อง ยังไม่ได้ประกอบเข้าเครื่องทดสอบเฉยๆ ครับ มันหมุนจากความเร็วปรกติ และ ช้าลง ใช้เวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้น 4. มอเตอร์พัดลมจำเป็นต้องทำงาน 24 ชั่วโมงในสภาวะที่ร้อนตลอดเวลา พัดลมของเดิมใช้ได้มาตลอดครับ ตามอายุการใช้งาน แต่พัดลมที่พันใหม่ มันก็น่าจะทนความร้อนและสภาวะการทำงานได้พอๆ กับของใหม่ใช่หรือไม่ครับ ขอบคุณทุกๆ คำตอบนะครับ |
13/03/2556 13:30 น. |
ผมขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ (ตามคำถามทีละข้อ ) 1. ถ้าคาปาซิเตอร์ขนาดไม่เท่ากัน ไม่เหมือนทั้งลักษณะ แต่เหมือนกันตรง 4.0uf ครับมันมีผลหรือไม่ (ตัว c original หาไม่ได้ครับ ต้องนำเข้าหรือต้องซื้อเยอะๆ ) ถ้าร้านมีซีที่เหมือนกันหมดลักษณะ แต่ต่างตรงค่า เป็น 5.0uf และ แรงดัน 400vac ครับ มันจะมีปัญหาหรือไม่ครับ ค่า C จะมีผลต่อแรงบิดของมอเตอร์ (ในเงื่อนไขขดลวดพันเหมือนเดิมทุกประการ ) ค่า C น้อย มอเตอร์จะมีค่าแรงบิดน้อย และ ค่า C มากก็จะมีผลตรงกันข้าม แต่จะมีผลร่วมด้วยคือ มอเตอร์จะร้อนขึ้น เพราะมีกระแสไหลผ่านขดลวดที่ C ต่อร่วมอยู่เพิ่มมากกว่าปกติ ส่วนค่าแรงดันจะเป็นตัวบอกอัตราทนแรงดันตกคร่อม ซึ่งต้องมากพอและต้องสูงกว่าแหล่่งจ่าย 2. ช่างพันขดลวดใหม่หมด อบน้ำยาวานิชใหม่ ช่างบอกว่าค่าของขดลวด ขนาดและการพันเท่าเดิม ถ้าไปถามช่างคนไหน ก็คงบอกแบบนี้แหละครับ ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ ลูกน้องผมเองไม่ เจอจะๆ จริงๆ ก็ไม่ยอมรับเหมือนกัน 3. การทดสอบเอามาเสียบปลั๊กไฟ และ เปิดเครื่อง ยังไม่ได้ประกอบเข้าเครื่องทดสอบเฉยๆ ครับ มันหมุนจากความเร็วปรกติ และ ช้าลง ใช้เวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้น นั่นก็จะเห็นได้ว่ามอเตอร์มีความร้อนเกิดขึ้น และเนื่องด้วยมอเตอร์ตัวเล็ก พันด้วยลวดเส้นเล็กรอบมาก ค่าความต้านทานขอลวดจะมีผลต่อค่า อิมพีแดนซ์รวมของวงจรขดลวดเป็นอย่างมาก การทดลอง อาจจะไม่ได้มีการประกอบใบพัดให้มีลมพัดผ่านระบายความร้อนของมอเตอร์ออกไป จึงทำให้เกิดความร้อนสะสมและร้อนในที่สุด แนะนำให้ลองประกอบใช้งานจริงเลยครับ 4. มอเตอร์พัดลมจำเป็นต้องทำงาน 24 ชั่วโมงในสภาวะที่ร้อนตลอดเวลา พัดลมของเดิมใช้ได้มาตลอดครับ ตามอายุการใช้งาน แต่พัดลมที่พันใหม่ มันก็น่าจะทนความร้อนและสภาวะการทำงานได้พอๆ กับของใหม่ใช่หรือไม่ครับ อ้างอิงจากข้อ 1 เนื่องจากค่า C ที่หาได้ สูงกว่า แน่นอนว่ามอเตอร์จะกินกระแสมากกว่า และร้อนกว่าแน่ ให้ลองหา C ที่มาค่าน้อยกว่ามาต่อดูครับ อาจจะช่วยได้ แต่สิ่งที่จะตามมาคือ ความเร็วรอบพัดลมจะลดลงตามค่าแรงบิดที่ลดลง หรืออาจจะลองหา C ค่า 8 ไมโคร มาขนานกันเพื่อให้ได้ 4 ไมโคร และลองต่อใช้งานดูใหม่ การพันมอเตอร์ใหม่ที่ถูกต้องและถูกวิธีแน่นอนครับว่า จะได้มอเตอร์เกือบจะดีกว่าของใหม่เสียด้วยซ้ำด้วยปัจจัย ระบบฉนวนที่ใช้ในการซ่อมจะสูงกว่าของซื้อใหม่ และอื่นๆ แต่ก็มีบางปัจจัยที่อาจจะทำให้ไม่เป็นเป็นเช่นนั้น เช่นความเสียหายทางแมคคานิคส์ ที่ถ้าไม่อาจจะหาอะไหล่แท้มาเปลี่ยนทดแทนได้แล้ว การซ่อมอะไหล่ทางแมคคานิคส์ทำได้ยากมาก หรือเกือบจะทำไม่ได้เลยในบางชิ้นส่วน ทำให้ช่างซ่อมมอเตอร์ขนาดเล็ก ละเลยที่จะซ่อมชิ้นส่วนเหล่านี้ ส่งผลให้คุณภาพการซ่อมมอเตอร์ขนาดเล็กในบ้านเรา ผมว่ายังไงก็สู่ซื้อมอเตอร์ใหม่ไม่ได้ครับ |
13/03/2556 13:57 น. |
งั้นสรุปได้ว่า ปัญหาน่าจะเกิดจากการพันขดลวดมากกว่า หรือ การซ่อมแซมของทางร้านซึ่งอาจจะไม่เคยทำงานซ่อมกับมอเตอร์ที่มีขนาดเล็กมากใช่ไหมครับ ผมไม่ได้บอกไปอีกอย่างครับ ผมเอามอเตอร์ไปซ่อมทั้งหมด 3 ตัว ใช้ C แบบเดียวกัน การพันแบบเดียวกัน 1 ในสองใบพัดติดอยู่ขณะทำการทดสอบครับ และ ผลจากการทดสอบคือ ร้อนและไหม้ในที่สุด ในสภาวะ ไม่มีโหลด และ ไหม้ไล่เลี่ยกันแต่เฉลี่ยเวลา 2 ชม ครับ ทางร้านเขาปัดว่าน่าจะมาจากคาปาซิเตอร์ทำให้ไหม้ แต่ค่าของ C ทุกอย่างเท่าเดิม แรงดัน vac 450v ยกเว้นแต่ลักษณะของ C ที่มันไม่เหมือนรูปครับ แต่เขายังยืนยันว่าไม่ได้มาจากขดลวด ปัญหานี้จะจบยังไงดีครับ ให้ช่างเขายอมรับว่าความผิดปรกติมันเกิดที่จุดไหนกันแน่ |
14/03/2556 09:51 น. |
ถ้า Cap ที่ใช้มีขนาดความจุเ่ท่าเดิม และอุปกรณ์ทางแมคคานิคอย่างอื่นไม่มีอะไรเสียหาย ฟันธงได้เลยว่าเป็นที่การพันขดลวด Cap ในภาพเป็น Cap ประเภทน้ำมัน ซึ่งอาจจะหาไม่ได้ง่ายในปัจจุบัน และสามารถหา Cap ประเภทอื่นที่มีขนาดเท่าเทียมกันแทนได้ครับ ในการขั้นตอนการซ่อมมอเตอร์ที่ถูกต้อง จะต้องมีการนับจำนวนรอบ และวัดขนาดขดลวด ให้ได้อย่างถูกต้อง เพราะค่าเหล่านี้เป็นค่าที่ได้ทดสอบมาแล้ว ว่าจะทำให้มอเตอร์มีค่าแรงบิดตามเนมเพลท และไม่มีความร้อนสูงเกินกว่าที่มอเตอร์จะทนได้ ข้อแตกต่างกันระหว่างมอเตอร์ตัวเล็กกับตัวใหญ่ มอเตอร์ตัวเล็กขนาดลวดเกือบจะสำคัญมากกว่า จำนวนรอบ เพราะมอเตอร์ตัวเล็กจำนวนรอบมาก จำนวนรอบที่ผิดพลาด จะเป็นเปอร์เซนต์ที่ต่ำกว่า ความผิดพลาดที่ใช้ขนาดลวดที่ไม่ถูกต้อง และแน่นอนว่าร้านซ่อมมอเตอร์ อาจจะใช้ลวดที่เล็กกว่าในการพันมอเตอร์มาให้ เพราะอาจจะไม่มีเบอร์ตามที่รื้อออกมา และไม่อยากใส่ลวดที่ใหญ่กว่า เพราะจะทำให้ลงขดลวดได้ยากกว่า มอเตอร์ตัวใหญ่จำนวนรอบน้อย ความผิดพลาดเรื่องจำนวนรอบเพียงเล็กน้อย จะส่งผลต่อแรงบิดของมอเตอร์เป็นอย่างมาก ข้อแนะนำ 1. Modify เอามอเตอร์ใหม่ไปใช้แทน 2. ถ้าทำตามข้อ 1 ไม่ได้ เปลี่ยนร้านซ่อมมอเตอร์ใหม่(เพราะร้านเก่าคงคุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว ) และคุยปัญหาที่เกิดขึ้นให้เขาทราบ 3. เนื่องจากข้อมูลด้านขดลวดถูกบิดเบือนไปแล้ว ถ้ามีมอเตอร์ที่ยังไม่เสียอยู่ อาจจะต้องยอมถูกรื้อมาทำเป็นแบบ 4. สั่งนำเข้ามอเตอร์ใหม่ จากตัวแทนจำหน่ายของตู้อบ |