06/03/2556 22:37 น. |
การต่อแบบสตาร์ ทำไม กระแสไลน์ กับ กระแสเฟสถึงเท่ากันครับ จากสมการ IL=IP ช่วยอธิบายหน่อยครับๆๆๆๆ ขอบคุณครับ |
07/03/2556 11:32 น. |
อย่างนี้แล้วกัน สมการน่ะมี ยกมาจะเข้าใจยากไปกันใหญ่ เอาเป็นคำพูดแล้วกันนะ ที่กระแสไลน์กับกระแสเฟส เท่ากัน เพราะมองอนุมานว่า มันต่ออนุกรมกัน กระแสที่ไหลผ่าน คือกระแสตัวเดียวกัน ทั้งไลน์และเฟส อย่างที่เราบอกนั่นแหละ IL = IP แต่แรงดันที่ตกคร่อม ไลน์ กับ เฟส จะไม่เท่ากันนะครับ ค่อยๆศึกษาเรียนรู้ไปเรื่อยๆนะครับ |
09/03/2556 23:43 น. |
จากการอ่านคำถาม และพยายามจะเข้าใจคำถาม ผมเองเข้าใจว่าคนถามอาจจะตีความหมายของคำว่ากระแสเฟส กับกระแสไลน์ ไม่เข้าใจมากกว่า ฉนั้นขอให้คำอธิบายดังนี้ กระแสไลน์ จะหมายถึงกระแสที่มอเตอร์ดึงมาจากระบบแหล่งจ่าย ( Line Source ) ก็คือกระแสที่มอเตอร์ใช้ทั้งหมดในการเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลเพื่อไปขับโหลด ซึ่งไลน์ในที่นี้ก็จะหมายถึง ไลน์ R, S และ T กระแสเฟส จะหมายถึง กระแสที่ไหลเข้าไปในขดลวดแต่ละเฟสของมอเตอร์ แน่นอนว่ามอเตอร์ที่เรากำลังพูดถึง มีอยู่ด้วยกัน 3 เฟส ซึ่งแต่ละเฟสของขดลวดจะประกอบไปด้วย เฟส U-X , V-Y และ W-Z ในการรนำเอาขดลวดมอเตอร์มาต่อแบบสตาร์ จะเห็นได้ว่าขดลวด U-X , V-Y และ W-Z จะรับหรือดึงกระแสโดยตรงจาก line R ,S และ T โดยตรง จึงจะเป็นคำพูดที่ว่า กระแสไลน์เท่ากับกระแสเฟส ซึ่งถ้าจะพูดให้เต็มแล้วๆ ก็จะหมายถึง การต่อขดลวดมอเตอร์แบบสตาร์ จะทำให้มอเตอร์มีกระแสไหลเข้าขดลวดแต่ละเฟสของมอเตอร์ เท่ากับกระแสที่ไหลมาจากไลน์จากแหล่งจ่าย แต่ในการต่อแบบเดลต้า (น่าจะถามมากกว่าจะสตาร์ด้วยซ้ำ) จะเห็นว่าจะมีปลายขดลวด 2 ปลายของเฟสที่ต่างกันของขดลวดมอเตอร์ ไปต่อที่แต่ละไลน์ของแหล่งจ่าย แต่เราคงจะเคยได้ยินว่า การต่อแบบเดลต้า กระแสไลน์ เท่ากับ 1.732 ของกระแสเฟส ทั้งๆที่มันควรจะเป็น 2 เท่าของกระแสเฟส ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ศักย์อีกปลายหนึ่งของเฟสที่ต่ออยู่ด้วยกันมีการเปลียนแปลง ตามเฟสซีเควนซ์ของของระบบหรือไลน์ ซึ่งส่งผลให้กระแสที่ไหลในแต่ละเฟสของขดลวดที่ต่อเข้ากับไลน์เดียวกัน มีมุมทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน แต่มีขนาดเท่ากัน และเมื่อนำมารวมกันทางเวกเตอร์แล้วจะได้ ค่า 1.732 เท่าของกระแสที่ไหลในแต่ละเฟสขดลวด มีค่าเท่ากับกระแสที่ไหลจากไลน์ จึงเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า การต่อเแบบเดลต้า จะได้ กระแสไลน์ เท่ากับ 1.732 ของกระแสเฟส คงต้องลองศึกษาเพิ่มเติมไปเรื่อยๆจะทำให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะเข้ามาถามในเวปบอร์ดนี้ จะมีผู้รู้หลายท่านที่เข้ามาตอบให้หายข้องใจได้ |
10/03/2556 20:30 น. |
1.กลับไปทำความเข้าใจระบบไฟฟ้า 3 เเฟส ถ้าเป็นtextbook ก็เรื่อง ELECTRIC CIRCIUT ANALYSIS V1 = Vmsinωt and I1 = Imsin(ωt − φ) V2 = Vmsin(ωt − 120o) and I2 = Imsin(ωt − φ − 120o) V3 = Vmsin(ωt + 120o) and I3 = Imsin(ωt − φ + 120o) จากนั้นก็พิสูจน์สมการว่า เหตุใดผลที่เราท่องกันติดปาก และจำกันมาใช้มันมีที่มาที่ไปอย่างไร สำคัญทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะสตาร์หรือเดลต้า และดูเรื่องนัมเมอริคอลกับ คอมเพล็กนัมเบอร์ การบวกลบ เวกเตอร์ในรูป โพล่าร์ฟอร์ม ทำไม่ได้ ต้องบวกลบกันในรูปเรกเทง***ลาร์ฟอร์ม แล้วแปลงกลับเป็นโพลาร์ฟอร์มอีกครั้ง (เครื่องคิดเลขรุ่นใหม่บวกลบกันได้เลย แต่ถ้าไม่รู้ที่มาก็ยังยากครับ) คุณจะเห็นว่า เหตุใดมันจึงเป็น เช่น แรงดันไลน์ เท่ากับ สแควรูทสามของแรงดันเฟส และจะได้เข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องตามมาด้วย เพราะมันมีมุมเข้ามาเกี่ยวข้อง ระบบสามเฟส คุณต้องมองทั้งด้านจ่าย เช่น หม้อแปลง และด้านรับ เช่น มอเตอร์ ฮีตเตอร์ และโหลดสามเฟสอื่นๆ หากไม่ย้อนกลับไปเปิดตำรา ก็คงให้ความเข้าใจเบื้องต้นว่า ในวงจรสตาร์ กระแสไลน์กับกระแสเฟสเป็นกระแสตัวเดียวกัน |