04/03/2556 23:23 น. |
กระแสไฟฟ้าเกินจากv380 เป็นv410 มีผลต่อเครื่องจักรไหมครับ จากช่างกล |
06/03/2556 21:55 น. |
แรงดันไฟฟ้า 380V เป็นชื่อเรียกระดับแรงดัน แต่ค่าจริงมันเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 10% คือ 342-418 V เป็นเรื่องปกติ |
07/03/2556 11:26 น. |
เป็นช่างกล สนใจในภาคส่วนไฟฟ้า ยอดเยี่ยมครับ ที่เราบอกว่ากระแสไฟฟ้าเกินจาก 380v เป็น 410 จริงๆแล้วผิดจุดไปนิดนึงนะครับ ถ้าพูดถึงกระแสมีหน่วยเป็นแอมป์นะ แรงดันจะมีหน่วยเป็นโวลต์ บางตำราเรียกความต่างศักย์ ในเรื่องของผล มีครับ แต่อยู่ที่โรงงานนั้นๆ ว่าอยู่ในเขตการไฟฟ้าเขตไหน ใกล้ไกลแหล่งจ่ายแค่ไหน อยู่ท้ายฟีดเดอร์ไลน์หรือเปล่า ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา เรื่องแรงดันตก แรงดันเกิน ผลที่เห็นได้ชัดคือ ค่าการสูญเสียนั่นเอง จะเห็นว่าบางบริษัท ทำแผนเสนอกรมอนุรักษ์พลังงานในเรื่องเปลี่ยนแทปหม้อแปลงจาก415 โวลต์ ลงมาที่ 380 โวลต์ แล้วก็คำนวณผลประหยัด ใช่ครับ ทำได้ แต่ปัจจัยทางด้านไฟฟ้าล่ะ โรงงานที่เลือกแทป 400-415 โวลต์ เขาก็มีการแก้ปัญหา ของเขาเช่น เมื่อเทคโหลดทั้งหมดแล้ว แรงดันตกเกินพิกัดยอมรับ หรือ โรงงานอยู่ปลายฟีดเดอร์ แรงดันปลายทางต่ำ หรือ เครื่องจักรตัวสุดท้ายอยู่ไกลมาก สายก็เปลี่ยนใหญ่แล้ว แก้ไม่หาย ปรับแทปเลย ผลน่ะมีครับ แต่ปลีกย่อย ถ้าจะเทียบกับความจำเป็นต่อผลผลิตแล้ว มักละเลยกันไป ทำอย่างไรก็ได้ เครื่องต้องไม่เสีย และมีผลผลิตที่ดีออกมา จะได้เอาออกไปขายได้ เดี๋ยวปลายเดือนจ่ายเงินเดือนช้าไปจะว่าอย่างไรครับ ในมิติของอุปกรณ์เครื่องจักรไม่ได้สร้างมาแค่ 380 โวลต์แป๊ะๆ มักแวรีเช่น 380-440 โวลต์เป็นต้น นอกจากเครื่องจักรซีเรียสมากๆ ก็ติดตั้งตัวสเตบิไลท์ เข้าไปครับ รักษาแรงดันแป๊ะๆ กันไป ในการคำนวณ เข่น แรงสูงเข้ามาหม้อแปลง จะมีแรงดัน 2 ตัว คือ Nominal system voltage ( เช่น 22 KV / 415/230 OR 400/220กับ Nominal system design เช่น (24KV / 415/240) สรุป มีผลในเรื่องของการสูญเสีย กำลังขับ แต่ไม่ถึงขนาดกับทำให้เครื่องจักรโดยส่วนมากต้องเปลี่ยนดีไซด์ ใช้ไปเถอะครับ รายละเอียดปลีกย่อย ค่อยไปว่ากันอีกที เอางานหลักๆไปก่อนนะครับ |
08/03/2556 00:28 น. |
ปัหาหลอดไฟแสงสว่างโรงงานระเบิดเกี้ยวกับโวลต์เกินจาก220v -235v มีส่วนไหมครับ ที่โรงงานใช้หม้อแปลง 2000A ครับ |
08/03/2556 07:00 น. |
แรงดันเท่านั้นหลอดไฟไม่ระเบิดหรอกครับ ผมว่าฮาร์โมนิกส์ในโรงงานสูงหรือเปล่า |
08/03/2556 08:39 น. |
ขอวิธีการตรวจเซ็คครับและวิธีแก้ไขครับเพราะเซ็นรับงานแล้วรับเหมาไม่รับผิดชอบโทษอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ได้คุฌภาพครับ |
08/03/2556 17:01 น. |
ทะแม่งๆ ครับ เซ็นต์รับงานแล้ว รับเหมาไม่รับผิดชอบ (รับประกันหรือเปล่าครับ) อันนี้ต้องไปดูรายละเอียดการจัดจ้าง หรือ เอกสารสั่งซื้อ PO ว่าครอบคลุมแค่ไหน คงต้องไล่ไปพร้อมๆกัน เอกสารด้วย งานด้วย คนเซ็นต์รับงานด้วย มีการจ่ายไฟทดลองระบบเมื่อไร ถ้าไล่ไปลึกๆแล้วเจอตอ ก็ปล่อยว่างเถอะครับ ถ้ามีคอนเนคชั่นบางอย่าง อย่าไปหามันเลยต้นสายปลายเหตุ win-win กันไป มาดูหน้างาน ไล่ตั้งแต่ สายไฟ วิธีการต่อ และ วัสดุอุปกรณ์ ปัญหาคือ ไม่บอกรายละเอียด ผมตีความเอาละกัน ผิดถูกไม่รู้ คงไม่หลงเข้าป่าละนะ หลอดที่ว่า จะเป็นหลอดเมตัลฮาไลด์ หรือ ฮาโลเจน ขนาด 250-500 วัตต์ 220-250 โวลต์ อาจจะมีหรือไม่มี บัลลาสต์ หรือ อินิกต์เตอร์ สอบถามคนจ่ายไฟ หรือ อยู่ในเหตุการณ์ ว่า ระเบิดที่ว่าระเบิดอย่างไร 1.ถ้าจ่ายไฟแล้ว โคมหลอดระเบิด กระจัดกระจาย เปรี๊ยะๆ พึบ โพล๊ะ ทันทีทันใด เบรกเกอร์ทริป นั่นแหละครับ แรงดันเกิน เช่น จ่ายไลน์ ทู ไลน์ เข้ากับหลอด หรือ ใส่หลอด 120 โวลต์ เข้าไป ประมาณนี้ 2.ถ้าเกิดใส่ไปแล้ว ค่อยๆ สว่าง หรือ สว่างจ้า สักพัก มีเสียง พรุ หรือ ฟิ้วววว แล้วดับสนิท ไม่บัลลาสต์ ก็ อินิกเตอร์ การวัด วัดไม่ยาก เอาง่ายๆ วัดค่าความต้านทานบัลลาสต์ หรือ อินิกเตอร์ เปิด ตารางดู แล้ววัดเทียบค่าเอานะ มีบางอันวัดยาก ต้องอาศัยเครื่องมือเข้าช่วย เช่น แรงดันสไปท์ จุดไส้หลอด กระแทกให้อิออนแตกตัว มันจะอยู่ ราวๆ 5000- 12000 โวลต์ ถ้ามันจุดไส้หลอดไม่ได้ค่าที่กำหนด หลอดมันจะสว่างไม่เต็มที่ หรือ แสงเพี้ยนไป พยายามจัดหลอด บัลลาสต์ อินิกเตอร์ให้สัมพันธ์กันนะครับ ถ้าไม่กำหนด เป็นผมผมก็ต้องลด cost เพื่อเพิ่มกำไรล่ะครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอให้ดูข้อมูลอื่นๆประกอบร่วมด้วยนะครับ ผมว่าไม่ยากแล้วหละครับ |
09/03/2556 09:49 น. |
-ขอบคุณมากครับ |