20/02/2556 08:38 น. |
เราจะรู้ความสูงแกนzของแต่ละเครื่องได้ยังไงครับเพื่อเอาไปเซ็ทงาน คือเครื่องตัวเก่าที่ใช้อยู่(EXCEl501)ผมเอาความสูงแกนzของเครื่องคือ595ลบความสูงของชิ้นงานถึงหน้าแท่นได้เท่าไหร่ก็เอาไปใส่ใน Zที่ G54 ตอนนี้มีเครื่องตัวใหม่ VA500 มาจะเช็คได้ยังไงครับว่าZสูงเท่าไหร่ ลองให้แกนZเดินสุดให้ ALARMแล้วดูตัวเลขก็ไม่ใช่ตัวเลขที่ถูกต้องครับ |
20/02/2556 15:02 น. |
ระยะเคลื่อนที่ของ แต่ละแกน จะปรากฎในค่า Machine Position อยู่แล้ว ตอนที่ยังไม่ได้เรียก Tool คือ T0000 ซึ่งค่าการเคลื่อนที่นี้ จะปรากฏ หลังจากคุณทำ Machine Zero ซึ่งค่าของ Absolute กับ Machine ควรจะเท่ากัน และนั้นก็คือ ค่าความสูง หรือ ระยะเคลื่อนที่ ตามแนวแกน แต่ละแกน |
20/02/2556 15:14 น. |
สั่งแกน Zเข้า Home position (G28) ค่า Machine จะเป็น 0. เราก็ใส่ Tool แล้วเลื่อนมาแตะที่ผิวงาน แล้วกลับไปดูค่าในหน้า Machine เอาค่าของ Z ไปใส่ใน G 54 ค่านี้ก็จะเป็นค่า Z 0.ในโปรแกรมที่อ้างอิงจาก G54 เออ แล้วใน X Y ตั้งยังไงเหรอครับ เพราะจริงมันก็น่าจะหลักการเดียวกันนะครับ |
20/02/2556 16:17 น. |
คืองานผมทำทั้งแม่พิมพ์และงานpartนะครับต้องเปลื่อนหน้างานบ่อยๆความสูงเลยเปลื่อนไปเรื่อยๆและใช้toolหลายอันในหนึ่งโปรแกรมเลยหาค่าzแบบนี้ครับ เพื่อรักษาค่าoffsetของtoolแต่ละอันไว้ ถ้ามีงานใหม่มาเราก็สามารถเรียกtoolที่มีอยู่มาใช้ได้เลยครับแค่เปลื่อนค่าzตามความหนาชิ้นงานครับ |
20/02/2556 16:42 น. |
service เครื่องแรกเขาสอนเซ็ทงานแบบนี้มานะครับแล้วเขาก็บอกความสูงของแกนzมา แต่serviceเครอื่งที่สองนี่สอนให้เซ็ทแบบคุณphaoนี่แหละครับ ผมก็เลยอยากให้เซ็ทงาน+toolให้เหมือนกันทั้ง2เครื่องนะครับ |
20/02/2556 23:00 น. |
ถ้าจะเทียบค่า Tool length ของแต่ละตัว ก็ตัวแรกก็ทำตามขั้นตอนที่ตอบไป แล้วหาตัวเทียบค่า เค้าเรียก Tool Preseter หรือปล่าวไม่แน่ใจ ตัวที่มี Dial indicator อยู่ด้านข้าง มันจะมีค่าความสูง 50.มม 100.มม ใช้ Tool ตัวแรกแตะแล้ว จดค่า Machine ไว้ ( บางบริษัทจะทำเป็นตารางใว้ ค่าของTool ตัวแรกเป็นค่า Master Reference Point ใน Work sheet เลย เพราะเวลากัดแม่พิมพ์บางที Tool ถัดมาไม่เหลือพื้นที่ให้ Set tool length ได้เลย ) แล้วเรียก Tool ตัวถัดไปมาแตะ ดูค่า Machine ได้เท่าไหร่ เอาลบกับค่า Machine ตัวแรก คือเอาค่า Tool ตัวแรกเป็นตัวตั้ง ( ค่า Machine ใส่ตามที่โชว์ในจอเลยนะครับ มี - นำหน้าก็ต้องใส่ด้วย )แล้วผลลัพธ์ ไปใส่ในค่า Offset(H) เวลาเรียก Tool ตัวนี้มาเราก็ใช้ G43 H...ตามหมายเลขที่เราใส่ไว้ครับ Tool ตัวต่อไปก็ทำเหมือนกัน ก็เอาไปลบจากค่า Tool ตัวแรกเหมือนกัน เพราะ Tool ตัวแรกเราไปตั้งเป็นค่า Work Cordinate G54 ใว้ คงไม่งงนะครับ |
21/02/2556 07:59 น. |
ขออภัย พิมพ์ Work Coordinate ผิดไป ถ้าต้องการเอาค่า Z ของแต่ละToolไปเป็นค่า Work ก็สามารถ เอาค่า Machine มาลบกับ ก็จะได้ค่า Tool Length เหมือนกันครับ แต่ใ่ส่ไว้ใน Offset จะใส่ได้หลายค่ากว่า ถ้าเราไม่เปลี่ยน Tool ก็ไม่ต้อง Set ใหม่ เรียกมาใช้ได้เลย |
21/02/2556 08:50 น. |
ขอบคุณครับคุณphaoได้ความรู้เพิ่มมาอีกอย่างแล้วผม |
26/02/2556 20:45 น. |
ตัวอย่างวิธีการ Set Work Coordinate ของเครื่องกัด CNC ที่เคยใช้ (control HAAS) กรณี Set จาก ปากกาจับงาน (Vise)ซึ่งตั้งได้ระดับแล้ว ขั้นแรกเรียกคำสั่ง Zero Ret กด Auto All Axis ให้เครื่องวิ่งไปยังตำแหน่งศูนย์ของแกน x,y,z จะสังเกตเห็น Table แกน X เลื่อน ซ้าย – ขวา , แกน Y เลื่อน เข้า –ออก ส่วนแกน Z วิ่งขึ้นตำแหน่งบน หลังจากนั้น Set ค่าแกนทั้ง 3 ใน G54 หรือ G55,G56 แล้วแต่การใช้งาน 1)เริ่มจากแกน X กับ Y ให้ใช้ตัว Touch point Sensor ที่แตะแล้ว ขึ้นไฟ หรือแบบมีเสียง (ถ้าไม่มีก็หาแท่งกลมๆ ป้ายหมึกไว้ หรือใช้ตัว Edge Finder ก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ) ตัวอย่างเช่น ใช้ตัว Touch sensor แตะขอบปากกาแนวตั้ง เข้าด้านขวา ( ขอบที่แตะนี้ Fix กับที่ ) เมื่อแตะเสร็จ (ห้ามเลื่อน) ก็เข้าหน้า POS-OPER เลือกเซตที่ G54 เลื่อนเคอร์เซอร์ ตรงคอลัมภ์ X กด ปุ่ม Part Zero Ret ค่านี้ก็จะแสดงที่หน้าจอ ทำการชดเชยค่ารัศมีตัว Touch point Sensor ซึ่งบางรุ่นก็ไม่ต้องชดเชย ( ถ้าตัว Touch point อยู่ด้านซ้ายของขอบปากกา ก็ชดเชยค่ารัศมีบวกแกน X ใน G54 (คือบวกค่า R ของ Touch point ) ยกเว้นว่าแตะให้อยู่ด้านขวาขอบปากกาก็ต้องชดเชตค่า R ลบ) 2)เซตแกน Y ก็เช่นกัน เลือกขอบปากกาแนวนอน ( - ) ที่ Fix กับที่ ซึ่งจะเป็นขอบด้านในของปากกา เพราะเป็นตำแหน่งที่จะสัมผัสกับชิ้นงานเวลาหนีบงาน เลื่อนตัว touch point มาแตะขอบปากกาด้านใน เข้า POS-OPER ที่ G54 คอลัมภ์ Y กด Part Zero Ret เสร็จแล้ว ชดเชยค่า R + 3) เซตแกน Z ใช้ตัว Tool Presetter ซึ่งจะมีแบบตัวเลข Digital หรือแบบเข็ม ความสูงก็มี 50 หรือ 100 mm ใส่ทูลส์มาสเตอร์ที่ใช้วัด (ผิวหน้าเรียบ) เข้ากับหัว Spindle วางตัว Tool Pre-setter ( วางที่ฐานเรียบด้านในปากกา ที่ใช้สำหรับวางแท่นขนาน ) เลื่อนลงมา แล้วปรับจนเข็มหรือตัวเลขอยู่ที่ศูนย์ เข้า POS-OPER แถว G54 คอลัมภ์ Z กด Part Zero Ret ชดเชยค่าความความสูงโดยลบค่าความสูง 50 หรือ 100 mm เสร็จการ Set G54 เมื่อเวลาทำงานก็ต้อง Set ดอกกัดซึ่งจะใช้ฟังก์ชั่นคนและแบบกัน และการ Set ศูนย์ชิ้นงาน ที่ผมใช้ก็มี 2 แบบคือ Set จากผิวบนชิ้นงาน (ให้ตำแหน่ง 0 อยู่บนงาน หรือ วิธีนึงคือ บวกค่าศูนย์จากฐานด้านในปากกา(ซึ่งเป็นค่า Z อ้างอิง) โดย+ ความสูงแท่นขนาน + ความหนาชิ้นงานแล้วคีย์ที่หัวโปรแกรม G54G52 Z… ยาวหน่อยครับอาจจะงง +++ |
22/03/2556 14:07 น. |
อธิบายได้ชัดเจนมากครับคุณchaleee อ่านแล้วได้ความรู้ใหม่ๆอีกหลายอย่างที่ผมยังไม่รู้ ขอบคุณมากครับกับการแบ่งปันความรู้ |