01/02/2556 13:07 น. |
หม้อแปลง 1000 kva สองตัว N สามารถต่อร่วมกันได้หรือเปล่า |
03/02/2556 16:04 น. |
ได้ครับตอบสั้นๆ |
03/02/2556 18:36 น. |
ตอบว่าได้และไม่ได้ แล้วแต่จะทำ เอ เขียนมาได้งัยแบบนี้ ราวปี2550 ผมเห็นแบบไฟฟ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างโรงงาน เป็นลักษณะกราวด์ถึงกันหมด ทั้งด้านแรงสูง แรงต่ำ นิวตรัลต่อกับกราวด์ลงดิน ลักษณะ โซลิดกราวด์ด้วย แต่เวลาทำเข้าจริง ไม่ทำตามแบบนั้น แยกกันทุกภาคส่วน ไม่เป็นไร ต่อได้กรณี ที่มั่นใจว่าระบบกราวด์เราดี จริงๆ ดีจริงๆอย่างไร แม้ว่าหม้อแปลงแต่ละลูกจะมีระบบ3เฟส ไม่สมมาตรอย่างไร กราวด์เราสามารถทำให้นิวทรัลเป็นศูนย์ๆได้จริงๆ อันนี้ไม่มีปัญหาอะไร พ่อเจ้าพระคุณเอ๋ย ผมประสบพบเจอ ยังไม่เคยพบในไลน์การผลิตไหน นิวทรัลเป็นศูนย์จริงๆ อย่าไปเสี่ยงเอานิวทรัล ของสองหม้อแปลงมาต่อรวมกันเลยครับ ไม่อย่างนั้น โหลดที่เป็น1เฟสเราจะชำรุด ยกตัวอย่างเช่น แมกเนติค คอนเทคเตอร์ คอล์ย 220 โวลต์ เราคงต้องเตรียมไว้สักเข่ง เพราะใช้ๆไปควันจะขึ้นที่คอล์ย ไหม้ บวม ใช้งานไม่ได้ สรุป ทั้งได้และไม่ได้ ขึ้นอยู่ที่องค์ประกอบของระบบไฟฟ้า |
04/02/2556 22:31 น. |
ทั้งได้และไม่ได้ ขึ้นอยู่ที่องค์ประกอบของระบบไฟฟ้าไช่เลยครับ ก็กลมๆดีครับ แต่เท่าที่ผมเห็นมาน่ะครับ 2 TRANFORMER 1 TIE เขาก็ต่อ N หากกันได้ แต่ถ้าไม่ได้เพราะเหตุอะไรบ้างขอแบ่งปันความคิดเห็นเพื่อความรู้ด้วยครับ |
05/02/2556 16:14 น. |
เฮอๆ คุณ11 หากมีคำถามใดๆ ในเวปนี้เปิดโอกาสให้ตั้งกระทู้ได้นี่ครับ ตั้งกระทู้ขึ้นใหม่ก็ได้ การแสดงความคิดเห็นเป็นมิติหนึ่งของผู้โฟสตอบ โดยอาศัยทฤษฎีเดียวกัน แต่ศิลปะในการตอบอาจแตกต่างกันไป นั่นคือการแสดงความคิดเห็น ผมมองว่าไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก เพราะไม่ใช่ผลสรุปหรือรายงานสรุปของเหตุการณ์นั้นๆ เอาล่ะนะ ในประเทศไทย ผมฟันธงเลยครับ ไม่ควรต่อเป็นอย่างยิ่ง การต่อสามารถทำได้เช่น ด้านแรงต่ำ ต้องต่อกราวด์กับนิวตรัลของหม้อแปลงเข้าด้วยกันและลงดิน เลือกเอาว่าจะเหมาะสมตรงไหน ระหว่างที่ตู้MDB หรือที่จุดติดตั้งหม้อแปลง กราวด์แรงสูงก็เช่นกัน ลงดินเหมือนกัน บางครั้งก็ต่อกราวด์แรงสูงกับแรงต่ำถึงกัน บางครั้งก็ไม่ต่อถึงกัน บางครั้งกราวด์กับนิวทรัล ของหม้อแปลงหลายลูก วางเรียงกัน ต่อลงดินแบบโซลิดกราวด์ตัวใครตัวมัน แล้วก็จั๊มถึงกันหมดก็มี ถ้าเราเชื่อมั่นว่า ความต้านทานของระบบกราวด์ น้อยกว่า 5 โอห์มอยุ่ตลอดเวลา ก็ไม่มีปัญหาประการใด แต่ผมไม่เชื่อหรอกครับ ไม่อย่างนั้นจะต้องติดตั้งกราวด์เทสบ๊อกขึ้นมาเพื่อสิ่งใด ใช่ครับเพื่อทดสอบตรวจวัดกราวด์ในระบบครับงัยครับ เมื่อมีบริษัทประกันมาตรวจสอบเพื่อทำประกันภัย เขาก็จะเรียกดูสิ่งเหล่านี้ แม้แต่ตรวจสอบอาคาร กรมโรงงานเข้ามา ลูกค้ามาออดิท เขาขอดูเอกสารครับ อย่างน้อยสุดปีนึง ตรวจวัดทำรายงานไว้สักครั้งก็ยังดี พอระบบไฟฟ้าเข้าโรงงานแล้ว ไม่ควรอย่างยิ่ง ที่จะใช้นิวตรัล สลับกับหม้อแปลงลูกอื่นๆ (ถ้าเราคิดว่า นิวทรัลถึงกัน เลือกเส้นไหนก็ได้) เพราะโหลดของหม้อแปลงไม่เท่ากัน เมื่อเฟสไม่บาลานซ์ |
26/05/2556 05:12 น. |
According to US Specification * Two Transformers+Coupling with neutral used a circuit conductor * Thw Two transformer must have a coomon ground. But the connection of each thransformer t a separate grounding electrode. N ต่อถึงกันได้ แต่แยก Ground rod |
27/05/2556 03:04 น. |
หม้อแปลง 10ลูก ให้เก้าลูกคือลูกที่1-10โหลดไม่ Balanceจึงมีกระแสไหลที่นิวตรอลทั้งเก้าลูก มากน้อยแตกต่างกันไป ส่วนลูกที่ 1 ดีหน่อยกระแส Balance หรือเปล่าไม่ทราบ วัดแรงดันที่ L-N ของหม้อแปลงลูกที่ 1 ได้ 220 V แต่ถัาวัดแรงดันที่ N ของแต่ละลูกเทียบกับ L ของหม้อแปลงแต่ละลูกเช่นกันค่าจะเท่ากันหรือไม่(แรงดันโหลด Balance ต่างกัน) เมื่อนำ N ของทั้งหมดมาต่อถีงกัน แล้ววัดแรงดันที่ L-N ของหม้อแปลงลูกที่หนึ่งใหม่จะได้แรงดันเท่าไหร่? ทังหมดนี้สามารถไปวัดดูได้ในทางปฏิบัติ วิธืการวัด มีหม้อแปลง 2 ลูก Tie หากัน N ต่อถึงกัน ให้วัด N เทียบกับ L ของแต่ละหม้อแปลงดูว่าแรงดันเท่ากันหรือไม่ วัดเทียบทั้งสามเฟสเลยนะ จะได้รู้จริงๆไม่ต้องนึกทึกทักกันเอาเอง เมื่อทราบผลแล้วก็คิดดูว่าถ้านำ อุปกรณ์ 1 เฟสต่อเข้าไปที่หม้อแปลงลูกใดลูกหนึ่งแล้วจะมีผลกระทบระหว่างกันหรือไม่ พิจารณาจากผลที่วัดได้ |