02/01/2556 14:47 น. |
อยากจะสอบถามนิดนึงค่ะว่า ทำไมคำนวณหา Main Breaker ที่หม้อแปลง เราจะต้องเผื่อไว้ 25% เพราะอะไรค่ะ |
02/01/2556 20:24 น. |
สำหรับความเห็นของผมเป็นความเห็นส่วนตัวครับ ผมว่าน่าจะเป็นค่าที่เผื่อไว้เพื่อความปลอดภัยของหม้อแปลงที่ปลอดภัยตามมาตรฐานครับ คือยอมไห้แค่นี้สูงสุด ไม่งั้น หม้อแปลงระเบิด สถานเดียว แต่หากต่ำกว่านี้ ไม่เป็นไร แต่ว่าคนลงทุนจะยอมจ่ายค่าหม้อแปลงลูกใหญ่ราคาแพงๆ ไว้ใช้ผ่านกระแสน้อยกว่า พิกัดเยอะๆ ผมว่ามันก็ น่าคิดนะ อิอิ |
03/01/2556 14:04 น. |
ขอบคุณนะค่ะช่างวรเดช แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ |
03/01/2556 22:16 น. |
ไม่ค่อยเข้าใจคำถามครับ Main Breaker ฝั่งไหนครับ แรงต่ำ หรือ แรงสูง ที่บอกว่าต้องเผื่อ 25% แล้วที่เผื่อ 25% นี่เอามาจากหนังสือการออกแบบเล่มไหนคับ |
05/01/2556 18:45 น. |
ลองไปอ่านดูหลักการหาขนาดอุปกรณ์ป้องกันดูนะครับ เวลาคำนวณกระแสโหลดได้แล้วไมไช่ว่าจะเอากรแสนั้นมาเป็นพิกัดของอุปกรณ์ป้องกันเลย อย่าลืมว่าอุณหภูมิหน้าร้อน หน้าหนาว มีผลต่อพิกัดของอุปกรณ์ป้องกัน ดังนั้นตามที่เรียนกันมาเขาจะเผื่อให้อุปกรณ์ป้องกันทำงานที่ 80% ของกระแสที่คำนวณได้ เช่นกระแสคำนวณได้ 100A ถ้าให้ 100A เป็นกระแสที่ 80% ของอุปกรณ์ป้องกัน ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันต้องมีพิกัดกระแส 100% ที่ 125A พูดกันง่ายๆว่าคำนวณกระแสได้เท่าไรเอา 1.25 คูณ จนลืมว่า 1.25 มายังไง คงเป็นวิทยาทานสำหรับหลายๆคน |
07/01/2556 09:06 น. |
ขอบคุณคุณ Leks นะคะ |
07/01/2556 15:44 น. |
ในปัจจุบัน ACB และ MCCB ก็สามารถปรับตั้งกระแสโหลดได้นี่ครับ หรือไม่ก็เปิดตารางดูก็ได้ ดังนั้นการคูณพิกัดเผื่อ มีที่มาที่ไปนะครับ |
27/03/2556 23:11 น. |
จิงๆการเผื่อ 25% นี่รับมาจาก NEC (National Electrical Code) เลยครับ เนื่องจาก Breaker จะทำงานตามพิกัดที่กำหนด เมื่อเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ไม่อยู่ในกล่อง แต่เวลาใช้งานจิง Breaker จะอยูในกล่อง การระบายความร้อนที่ด้อยลง ทำให้ Thermal Unit (ซึ่งอาศัยหลักการขยายตัวไม่เท่ากันของโลหะสองชนิด) ของ Breaker อาจจะทำงานเร็วกว่ากระแสพิกัด เวลาเลือก Breaker จึงต้องชดเชยตรงจุดนี้เข้าไปครับ |