28/12/2555 17:33 น. |
ผมอยากทราบวิธีหาเบอร์ลวดและจำนวนรอบของ มอเตอร์ 3 phase 380 v 6 poles 1 hp 1120 rpm class e กระแส /2.85 A 36 สล็อต ของเก่า พันลวดเบอร์ 26 จำนวน 90 รอบ แต่ผมอยากทราบที่มาที่ไป ขอบคุณครับพี่ |
02/01/2556 14:32 น. |
ต้องขอโทษด้วยที่ตอบช้า เพราะช่วงหลังมานี้ กระทู้ไม่ค่อยขยับเท่าไหร่ เข้ามาทีไร ก็ไม่มีกระทู้ที่จะให้ออกความเห็นซะที และติดช่วงปีใหม่ซึ่งผมเองไปต่างจังหวัดด้วย คำถามที่จขกท. ถาม เป็นคำถามที่เมื่อ 20 ปีมาแล้ว ช่วงที่ผมเองเข้าสู่วงการซ่อมมอเตอร์ใหม่ๆ ผมเองก็อยากได้คำตอบ และบ่อยครั้งที่พยายามหาข้อมูลก็จะได้คำตอบกลับมาว่า ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ซึ่งในตอนนั้นผมเองมั่นใจว่าคนที่ตอบเป็นคนไม่รู้จริง ตอบแบบขอไปที แต่ต่อมาเมื่อผมเอง เริ่มศึกษาเพิ่มมากขึ้น ได้มีโอกาสที่ เมลคุยกับ คนที่มีความรู้ ผมเองคงต้องยืมคำตอบนั้นมาตอบหลุ่ะครับ ว่าขึ้นอยู่กับ การออกแบบ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดมากขึ้น จะเห็นว่า มอเตอร์ขนาดกิโลวัตต์เดียวกันแต่ต่างยี่ห้อกัน ทำไม ค่ากระแสพิกัด ถึงไม่เท่ากัน ความเร็วรอบพิกัดถึงไม่เท่ากันทุกยี่ห้อ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ คนออกแบบ จะออกแบบคำนวณเพียงเบื้องต้นตาม รูปแบบของโมเดลที่แต่ละยี่ห้อกำหนด เช่น โมเดลนี้ไม่ร้อน โมเดลนี้ ประสิทธิภาพสูง สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อจำนวนรอบที่ใช้พัน และขนาดของลวดตัวนำที่ใช้ ส่วนค่าที่กำหนดในเนมเพลท จะเกิดจากการนำไปทดสอบการขับโหลดจริง ฉะนั้นข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดก็คือข้อมูลที่มาจากบริษัท ผู้ผลิตที่ได้จากการนำไปทดสอบกับการใช้งานจริงแล้วว่าเป็นไปตามเนมเพลท ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะขอข้อมูลการพันขดลวดจากบริษัทผู้ผลิต ทำให้ร้านซ่อมมอเตอร์ส่วนมากจึงมักจะทำฐานข้อมูลเอาไว้เอง เพื่อใช้ในการอ้างอิงกับการซ่อมครั้งต่อไปหากมีมอเตอร์ยี่ห้อและขนาดเดียวกันเข้ามาให้ซ่อมอีก คำถาม ถ้าไม่มีข้อมูลเดิมจะทำอย่างไร คำตอบคือ ใช้การคำนวณครับ การคำนวณจะสามารถให้ค่าความเป็นกลางๆ ที่เน้นไม่ให้มอเตอร์กินกระแสสูงหรือกระแส ต่ำในขณะไม่ได้ขับโหลด และใช้ได้ดีกับมอเตอร์ทั่วๆไปที่ไม่ได้ออกแบบ อะไรมาเป็นพิเศษ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณก็จะใช้ มิติของแกนเหล็ก และเนมเพลทของตัวมอเตอร์ ถ้าข้อมูลที่มีอยู่มั่นใจว่านับจำนวนรอบไม่พลาด วัดเบอร์ลวดไม่ผิด ก็พันตามเดิมไป จะสะดวกกว่าครับ เพราะมอเตอร์ขนาดเล็กซึ่งเป็นมอเตอร์ที่ลดต้นทุนการผลิต มักจะออกแบบ มาพิเศษ (เช่น มีความร้อนสูงขณะทำงาน ) ถ้าพยายามไปหาวิธีคำนวณ จะทำให้ยุ่งยากไปกันใหญ่ เพราะจุดอ้างอิงมันอยู่คนละจุดกัน สรุป แนะนำให้พันตามเดิมครับ ถ้าได้ผลการทดสอบไม่เป็นที่พอใจก็โพสขึ้นมาปรึกษาวิธีแก้ไขครับ [U][/U] |
02/01/2556 23:02 น. |
ขอบคูณครับพี่ แต่ผมสงสัยว่า ลวดเบอร์ 26 ทนกระแสได้ 0.547 A แต่มอเตอร์กินกระแส 2.85 A ทำไมไม่ใช้ลวดเบอร์ 19 ซึ่งทนกระแสได้ 2.701 A หรือเบอร์ 18 ซึ่งทนกระแสได้ 3.890 A ผมดูจากตารางแสดงขนาดลวดมาตรฐาน |
03/01/2556 10:14 น. |
ในการหาเบอร์ลวด จะสัมพันธ์กันหลายส่วน และค่าที่จขกท. อ้างถึง ผมไม่รู้ว่าเอามาจากไหน เพราะในการพันมอเตอร์ จะใช้ตัวเลข ที่เป็นความหนาแน่นของกระแส เทียบกับ ขนาดพท.หน้าตัดลวด ซึ่งก็จะแล้วแต่ที่มา ถ้าเป็นทางอเมริกา จะใช้ Circular mil per Amp แต่ถ้าทางยุโรปก็จะเป็น Amp per Sq.mm. ตัวเลขที่ผมมีทางยุโรป จะอยู่ที 7-14 A/Sq.mm. ขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์ (ตัวยิ่งเล็กค่ายิ่งมาก ทางอเมริกา 330 ถ้าเป็น ODP และ 450 ถ้าเป็น TEFC หน่วยเป็น Circular mil per Amp ตัวอย่างจากคำถาม ลวดเบอร์ 26 จะมีขนาด 0.4 มม. มีพท.หน้าตัด 0.12 Sqmm. มอเตอร์ มีพิกัดกระแส 2.85 แอมป์ ซึ่งมอเตอร์ขนาดเล็ก น่าจะมีวงจรการต่อเป็น สตาร์ (กระแส ไลน์ เท่ากับกระแสเฟส ) และ ต่อขนาีน 2 เพราะฉะนั้นจะได้ค่า ความหนาแน่นของกระแส เทียบกับพท.หน้าตัดลวด = 2.85 / 2 / 0.12 = 11.87 แอมป์ ต่อ ตารางมม. ซึ่งจะอยู่ในช่วงที่ผมมีตัวเลขอยู่ ซึ่งในทางปฏิบัติแน่นอนว่าเราต้องพยายามเพิ่มลวดให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะลงสล๊อตได้ แต่นั่นก็คงจะขึ้นอยู่กับจำนวนรอบที่เราจะ้ใช้ด้วยว่า จะเพิ่มหรือลดลงด้วยหรือไม่ |
03/01/2556 22:48 น. |
ขอบคูณครับพี่ที่แนะนำและให้ความรู้ ผมลองทำตามคำแนะนำแล้ว แต่ผลที่ได้รับมอเตอร์กินกระแสประมาณ 7 A และค่อยๆลดลงประมาณ 5 A สงผลให้ร้อนและใหม้ ผมคิดว่าผมลงลวดผิดสล็อตหรือเปล่าเพราะว่าผมทำตามเวปนี้ http://moter3phese.blogspot.com/ ในตัวอย่างการออกแบบการพันมอเตอร์ 3 เฟส แต่เป็นแบบ 4 poles แล้วถ้าผมลงสล็อตถูก พี่พอมีข้อสังเกตเพื่อหาสาเหตุในการใหม้หรือตั้งข้อสงสัยให้ผมลองศึกษาความน่าจะเป็น บ้างไหมครับ ผมโชคดีมากที่เปฺิดเจอเวปนี้และโชคดีที่มีพี่ช่างซ่อมมอเตอร์คอยให้คำแนะนำ และคำปรึกษา ขอขอบคุณครับพี่ |
04/01/2556 08:31 น. |
ลองแจ้งข้อมูลข้างล่างนี้มาให้ผม จะลองคำนวณให้ครับ 1. ความยาวแกนเหล็ก ( Core Length ) 2. ขนาดรูในแกนเหล็ก ( Bore Dia. ) 3. ระยะพิช 1- ? ( Pitch ) 4. พันที่คอยล์กรุป (Coils per Group) 5. จำนวนกรุ๊ป (No. Group ) 5. ต่อแบบไหน อนุกรม / ขนาน ( Series / Parallel ) 6. จำนวนสล๊อต น่าจะเป็น 36 7. แรงดันต่อเฟส น่าจะเป็น 380/1.732 = 220 V. 8. จำนวนรอบที่ใช้พัน (Turn per Coil ) 9. ขนาดลวด และจำนวนเส้น ( Conductor Size and Strand ) |
04/01/2556 21:33 น. |
มาตรฐานขดลวดทองแดงเป็นมาตรฐาน S.W.G ครับ ส่วนข้อมูลครับ 1. ความยาวแกนเหล็ก ( Core Length ) 65 mm. 2. ขนาดรูในแกนเหล็ก ( Bore Dia. ) กว้าง 3 mm. สูง 5 mm. 3. ระยะพิช 1- ? ( Pitch ) 1-6 4. พันที่คอยล์กรุป (Coils per Group) ขอโทษครับที่ผมไม่เข้าใจ 5. จำนวนกรุ๊ป (No. Group ) 6 6. ต่อแบบไหน อนุกรม / ขนาน ( Series / Parallel ) สตาร์ 7. จำนวนสล๊อต 36 8.แรงดันต่อเฟส ไม่ทราบว่าวัดที่แหล่งจ่ายใช่ไหมครับ 9.จำนวนรอบที่ใช้พัน (Turn per Coil ) 90 รอบ 10.ขนาดลวด และจำนวนเส้น ( Conductor Size and Strand ) เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.45 mm. พันทีละ 1 เส้น รบกวนพี่แสดงตัวอย่างและต้องขอโทษที่ทำให้พี่เสียเวลาด้วยนครับ นี่ mail ผมครับ tomjang@hotmail.co.th กลัวว่าพี่จะไม่สะดวก ผมขอบคุณพี่มากครับ |
06/01/2556 20:38 น. |
ผมขอไปตอบทางเมล แทนก็แล้วกันนะครับ เพราะดูเหมือนจะเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลเดียวไปแล้ว จะได้ไม่รบกวนพื้นที่เวปบอร์ด |