Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,608
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,810
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 174,188
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 174,107
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,545
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,621
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,578
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,950
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 162,127
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,413
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,338
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,538
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 69,021
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,774
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,836
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,628
17 Industrial Provision co., ltd 40,716
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,349
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,313
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,630
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,535
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,856
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,288
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 32,106
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,538
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,547
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,918
28 AVERA CO., LTD. 23,638
29 เลิศบุศย์ 22,626
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,407
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,292
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,975
33 แมชชีนเทค 20,904
34 มากิโน (ประเทศไทย) 20,147
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 20,100
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,893
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,528
38 SAMWHA THAILAND 19,419
39 วอยก้า จำกัด 19,160
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,613
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,433
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,336
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,317
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,288
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,165
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 18,140
47 Systems integrator 17,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,681
49 Advanced Technology Equipment 17,520
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,471
07/11/2555 16:05 น. , อ่าน 7,955 ครั้ง
Bookmark and Share
สอบถามเรื่องหม้อแปลงครับ
Knowless
07/11/2555
16:05 น.
มีเครื่องจักร2รุ่น ระบบไฟที่โรงงาน เป็น 22KV 3P 380V
3Phase Power
Automatic M/C (2 Unit)(เครื่องจักรอัตโนมัติจำนวน2เครื่อง)
Power Source : 3Phase AC 180-242V 1Phase 207-242V 50/60 Hz 10A

100V Power
SemiAuto M/C (5 unit)(เครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติจำนวน5เครื่อง)
Power Source : 1Phase 100V 10A

ผู้รับเหมาเตรียมหม้อแปลง ขนาด 30KW 3P 400/200
วัด ระหว่างเฟส ได้ 195V ดึงมาเส้นเดียวแล้ววัดเทียบ N ได้ 110 V
ไม่ทราบว่าการใช้งานจะมีปัญหารึเปล่าครับ?
ความคิดเห็นทั้งหมด 9 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
9kapip
07/11/2555
20:06 น.
ผมคิดว่าไม่เหมาะครับ สำหรับ automatic machine
ความคิดเห็นที่ 2
Knowless
08/11/2555
08:08 น.
รบกวนอธิบายหน่อยได้มั๊ยครับ ว่าไม่เหมาะอย่างไร ควรจะแก้ไขอย่างไรครับ? แล้วสำหรับ เครื่องจักร ที่ต้องการไฟ 100V แต่ตัวหม้อแปลงทำออกมาได้ 110V นี่ไม่มีปัญหาใช่มั๊ยครับ? คือผมสงสัยว่า หากหม้อแปลง 3P 400/200V วัดเฟสเดียวเทียบ N ได้ 110V แต่ถ้าเป็นหม้อแปลง 3P 400/220V วัดเฟสเดียวเทียบ N มันจะได้มากกว่า 110V ใช่หรือเปล่าครับ?
ความคิดเห็นที่ 3
9kapip
08/11/2555
08:53 น.
หม้อแปลงควรใช้ที่มีแรงดันเท่ากับหรือไกล้เคียงโหลดที่สุด ส่วนกระแสไม่ควรเกิน 20%
จาก หม้อแปลง 400/220V นั่นคือ Primary คือ 400 V,Secondary วัดระหว่างเฟสได้ 220 V,วัดระหว่าง L-N ได้ 110 V รอท่านอื่นด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 4
acilis
08/11/2555
17:40 น.
โหลดของคุณสามารถใช้ลักษณะ 1 เฟสได้ แต่ไม่ใช่ L-N นะครับ ต้องเป็น L –L เท่านั้น และไล่บาลานซ์เฟสเอานะครับ หรือจะต่อแบบ 3 เฟส ก็ได้ ในเครื่องกลุ่มแรกของคุณ 2เครื่อง
ในกลุ่มที่2 จำนวน 5 เครื่อง ต้องต่อที่ L-N เท่านั้น แต่อยากให้พิจารณาดีๆ ว่า เนมเพลท 100 V ไม่แวรีเลยเหรอ มี 2 กรณี 1เครื่องจักรซีเรียสนะ ต้องใช้ตัวปรับแรงดัน ไอโซเรเตอร์ ที่จำกัด 100 โวลต์ จริงๆ กรณีที่ 2 เครื่องจักรแย่จัง ทำมาได้ยังงัย จำกัดแค่ 100 โวลต์ ปกติ จะเผื่อไว้ 100 -125 หรือ 170 -250 โวลต์ เพราะเขาเผื่อผลรวมของระบบไฟฟ้าไว้ แรงดันมันไม่นิ่งหรอก อาจมาจากฮ์โมนิกส์ ระบบไฟฟ้ามีการกระชากขึ้นลง เป็นต้น
ต่อมา หม้อแปลง ปกติจะบออกมาเป็นหน่วย VA ไม่ได้บอกมาเป็น W จะสามารถแครี่โหลดได้ถึง 86.6 A การใช้หม้อแปลงที่ปลอดภัยคือใช้ 80 % ของพิกัดกระแส เกินได้ แต่ไม่ดี ถึง 120 % แต่ขอบอกอย่างหนึ่ง หม้อแปลงลูกนี้ประสิทธิภาพต่ำไปนะครับ ดูจากแรงดันที่วัด น่าจะเป็นแรงดัน โนโหลด
ฝากไว้นิดนึงส่งท้าย ด้านออกของหม้อแปลงคุณต่อแบบ Y ดังนั้น แรงดันไลน์ = 1.732*แรงดันเฟส อยากทราบว่าแรงดันเท่าไร ทำแบบนี้ครับ เช่น 400/220 ดังนั้น 1 เฟส = 220/1.732 = 127.02 v ถ้าเป็น 400/200 ก็ 200/1.732 = 115.47 v. เป็นต้น
ความคิดเห็นที่ 5
Knowless
09/11/2555
09:33 น.
ขอบคุณมากๆครับ สำหรับการอธิบายอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย ขอรบกวนถามต่ออีกนิดนะครับ
๑.ระบบไฟ สามเฟสบ้านเราเป็น 380V ทำไมสเปคของหม้อแปลงถึงเป็น 400V ครับ เผื่อไว้สำหรับการแกว่งของแรงดันอย่างที่ท่านได้กล่าวไว้ใช่มั๊ยครับ?
๒.หากผมรันเครื่องทั้ง7เครื่องพร้อมกัน แรงดัน จะตกประมาณกี่%ครับ ยังสามารถอยู่ในพิกัด 180-242V หรือไม่ครับ?

ขอบคุณอีกครั้ง สำหรับคำชี้แนะของทุกท่านครับ
ความคิดเห็นที่ 6
acilis
09/11/2555
21:03 น.
๑.ไม่ใช่นะครับ สเปคหม้อแปลง ส่วนมากจะมี เทอรฺ์มินอล ๓๘๐ . ๔๐๐ . ๔๑๕ . ๔๔๐ โวลต์ โดยทั่วไป ผมจะแนะนำให้ต่อที่ขั้ว ๔๐๐ หรือ ๔๑๕ โวลต์ เพราะเผื่อเรื่องแรงดันตกปลายทางของโหลดที่อยู่ไกลหม้อแปลงออกไป เช่นกัน เมื่อเป็นไฟ ๑ เฟส การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะเป็น ๒๒๐ หรือ ๒๓๐ โวลต์ การไฟฟ้านครหลวง จะเป็น ๒๓๐ หรือ ๒๔๐ โวลต์ การแกว่งของแรงดัน เกิดมาได้หลายสาเหตุเช่น เกิดซิงเกิลไลน์ทูกราวด์ฟอลต์ รีโครสซิ่งทำงาน ไฟกระพริบ แรงดันจะสวิง หรือ มีการเข้าออก ตัดต่อของโหลดใหญ่ๆในระบบไฟฟ้า ฟ้าผ่าลงสายส่ง ในมุมของหม้อแปลง ไม่ได้มีการเผื่อตรงนี้ไว้นะครับ ที่บอกว่าเผื่อคือ เรื่องการรับแรงดันของอุปกรณ์ไฟฟ้า๑เฟส คือต้องออกแบบให้มีย่านในการรับแรงดันได้ระหว่าง ๑๗๐ ถึง ๒๕๐ โวลต์ คนละเรื่อง คนละประเด็น ต่างกรรม ต่างวาระกันนะครับ
๒.ในเรื่องแรงดันตกนั้น มีกล่าวไว้ตามตำราที่เราท่องกัน เช่น
-แรงดันตกจากสายประธานจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า (Load) ไม่เกิน ๕ %
-แรงดันตกในสายป้อน (Feeder) ไม่เกิน ๒%
-แรงดันตกในวงจรย่อย ไม่เกิน ๓%
ในหม้อแปลงก็มีมาตรฐานว่า แรงดันเมื่อวัดโนโหลด เท่าไร ออนโหลดเท่าไร จะกล่าวแยกกันออกไป
โดยหม้อแปลงลูกย่อย ๓๐ เควีเอ ของคุณ ผมขออนุมานว่า เป็นวงจรย่อย ดังนั้น แรงดันตกไม่เกิน ๓% ถ้าเราจ่าย สามเฟส สี่ร้อยโวลต์ แรงดันด้านออกเมื่อเทคโหลดต้องไม่ต่ำกว่า ๑๙๔ โวลต์ แต่ของคุณ สามเฟส ๓๘๐ v ไม่เป็นไร ใช้ได้ครับ แต่ใส่อุปกรณ์ป้องกันเข้าไป โอเวอร์ อันเดอร์โวลต์เตจ สรุปว่าโหลดของคุณใช้ได้ครับ
คุณเทคโหลดทั้งหมดเจ็ดเครื่อง ก็ตกไม่ถึง ๑๘๐ โวลต์หรอกครับเพราะนั่นตกเข้าไป ๑๐% แล้วครับ ขายหม้อแปลงทิ้งเถอะครับ
ความคิดเห็นที่ 7
acilis
10/11/2555
16:47 น.
ผิดจุดไปนิดนึงครับ เรื่องแรงดันตก ยังไม่ต้องขายหม้อแปลงทิ้งนะครับ ตราบใดที่ยังหาผู้ร้ายตัวจริงไม่ได้ แรงดันตก ส่วนใหญ่ มาจากแรงดันตกในสาย เพราะว่าสายเล็กเกินไป สามารถคำนวณได้ครับ เปิดตารางเทียบค่าเลย แล้วเลือกสายไฟ ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจจะใช่ หรือไม่ใช่ อาจจะเป็นที่ตัวอุปกรณ์ หรือระบบ อย่าเพิ่งไปชี้ชัดโต้งๆ ถ้าเรายังไม่มีเอกสารคู่มือ เมนวล คุณสมบัติของอุปกรณ์ อาจผิดพลาดได้ ถ้าเรามั่นใจ 99 เปอร์เซ็นต์ คุณว่าคุณมั่นใจไหม เป็นผมผมไม่มั่นใจหรอกครับ เพราะ 1 % ที่เหลือ มันน่ากลัวมาก โอกาสเกิดน้อย แต่เกิดแล้วรุนแรง เช่น เครื่องบินตก โอกาสเกิดน้อย เกิดแล้วรุนแรง ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าออกแบบหม้อแปลผิด หรือระบบผิดเล็กน้อย 1% แต่ส่งผลให้ต้องเปลี่ยนหม้อแปลงลูกใหม่ แล้วเราจะโตในสายงานได้กระไรกัน จบข่าว
ความคิดเห็นที่ 8
Knowless
12/11/2555
08:41 น.
ขอบคุณ คุณ acilis มากๆนะครับ จะลองรันดูนะครับ หากไม่ผ่าน คราวหน้าอาจะเป็นโพสขายหม้อแปลง 555555
ความคิดเห็นที่ 9
Unknow
20/03/2561
08:21 น.
ขอรบกวนสอบถามนะครับ ถ้าผมนำ motor 3P 400V 50Hz มา
ก็สามารถใช้กับไฟฟ้าบ้านเราได้เลยโดยไม่ต้อแปลงก่อนึเปล่าครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 9 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
1 July 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD