13/10/2555 20:47 น. |
spinning machine ใช้จีโค้ดเหมือนกัน ลองดูจากคลิปนี้เลยสงสัยว่าเขียนg code ยังไงต่างกับCNCยังไง http://www.youtube.com/watch?v=nU7r2UMiDqM |
15/10/2555 09:09 น. |
เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้วเคยทำโปรเจ็คตัวนี้ คือเรื่องมีอยู่ว่าทางเยอรมันได้จ้างทำรีโทรฟิตเครื่อง spinning โดยนำโครงสร้างเก่าส่งมาให้ทางต้นสังกัดเก่าผมทำ ตอนนั้นทำไปสองเครื่องโดยการเปลี่ยน controller ใหม่ ชุด servo แกนต่างๆใหม่ ส่งกลับไปเยอรมันบอกเป็นเครื่องจักร cnc spinning ทางศุลกากรไม่เชื่อขอตรวจกล่อง (ปกติมีแต่พี่ไทยนำเข้าเครื่องจักรจากเยอรมัน ไม่เคยมีหรืออาจน้อยที่ส่งออกไปเยอรมัน) Software ที่ลงจะเป็นของเครื่องกลึงการเขียน Program G-CODE แบบเดียวกันตัวเดียวกันเลยครับ แต่ของเจ้าอื่นผมไม่รู้แต่ที่เคยทำตามที่เล่าเลยครับ CNC_TECH prs.cnc@gmail.com |
15/10/2555 10:19 น. |
แล้วการใช้งานคล้ายกับ CNC LATHE รึเปล่าคะ น่าจะใกล้เคียงกันแต่ต่างกันที่spinning ไม่กินชิ้นงาน |
15/10/2555 13:14 น. |
คำสั่ง G-Code นั้น 1.เป็นรูปแบบคำสั่ง มาตรฐาน ที่มีข้อกำหนด ISO แนะนำ และสามารถเพิ่มเติมได้ ตามที่ผู้ผลิตชุดคอนโทรลเลอร์ จะทำเพิ่มแต่ต้องไม่น้อยไปกว่าที่มีระบุอยู่ใน ISO 2.เป็นคำสั่งมาตรฐาน สำหรับใช้สั่งงาน การเคลื่อนที่ ตั้งแต่ 1 มิติขึ้นไป ที่ต้องการให้มีความถูกต้องเที่ยงตรง เหมือนเช่นการเขียนโปรแกรมทำงานให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเป็นการเคลือน ภายใต้ระบบโคออดิเนต ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือ รูปทรงใดๆ ที่สามารถบอกตำแหน่งพิกัดต่างๆในระบบโคออดิเนต เพื่อการเคลื่อนที่ได้ ดังนั้น ไม่ว่าเครื่องจักรใดๆ ที่ใช้ระบบควบคุมการเคลื่อนที่ และมีการสั่งการ กำหนดตำแหน่งการเคลื่อนที่ โดยใช้ พิกัดเลขสัมบูรณ์ (ค่าตำแหน่ง ตามระบบแกนโคออดิเนต) ก็ย่อมต้องสามารถใช้ คำสั่ง G-Code เขียนในคอนโทรลต่างๆเหล่านั้นได้ ดังนั้น จึงไม่มีข้อยกเว้นใดๆ สำหรับเครื่องจักร ที่ใช้ ระบบคอนโทรลแบบ CNC ที่จะไม่สามารถใช้โปรแกรมคำสั่ง แบบ G-Code ได้ เพราะนั่นเป็น มาตรฐานทางการค้า ของผู้ผลิตคอนโทรล ที่ถูกกำหนด แม้ว่า บางคอนโทรลจะมี ภาษาของตนเอง เช่น Hidenhien, Mazak, Siemens เป็นต้น |
15/10/2555 18:52 น. |
เอาเป็นว่าเล่าเท่าที่จำได้นะครับ ตัวเครื่อง spinning นั้นรูปแบบการทำงานตามที่ vdo นั่นแหละครับ ของผมที่ทำมันจะมี tool เดียว โดยตัวทูลจะมีลักษณะเหมือนลูกล้อและหมุนได้ หมายถึงเมื่อประกบกับชิ้นงานตัวลูกล้อนี้จะหมุนตามชิ้นงานและ spindle ส่วนแกน Z แกน X จะเป็นตัวเคลื่อนที่ตาม G-CODE ที่ระบุเพื่อให้เกิดรูปร่างชิ้นงานที่เราต้องการ แต่การทำงานชิ้นใดๆนั้น สิ่งที่ต้องมีคือตัวโมลด์หรือแม่พิมพ์รูปทรงชิ้นงานที่เราต้องการ ซึ่งตัวแม่พิมพ์นี้จะถูกติดตั้งที่ส่วนของ Spindle เมื่อเราทำการติดตั้งแมททีเรี่ยลที่เราจะทำการขึ้นรูปแล้ว จะมีอุปกรณ์อีกตัววิ่งมากดแมททีเรียลของเราเรียกว่ายันศูนย์หรือ Tall stock ในเครื่องกลึง เพื่อไม่ให้วัสดุหลุดตอนหมุน ตัวนี้อาจสั่งงานด้วย M-CODE หรือแมนนวลก็ได้ชุดนี้ควรจะเป็นแบบระบบไฮดรอลิคส์จะดีกว่า ในการเขียนโปรแกรมนั้นจะมีลักษณะเหมือนเครื่องกลึงทุกอย่าง คือผมจะใช้วิธีเขียนให้วิ่งตามแม่พิมเลย(หมายถึงให้ลูกล้อแตะกับแม่พิมพ์) แต่พอใช้งานจริงหมายถึงใส่แมทแล้ว ผมจะใช้วิธีใส่ค่า Shift ในหน้า work piece coordinated ตามขนาดความหนาของแมททีเรียล ในกรณีที่งานมีความหนาไม่มากนะครับ แต่หากหนามากก็จะเขียนโปรแกรมวิ่งกดเข้าทีละหน่อย อาจหลายรอบหน่อย ถ้าทางคุณมีคนใช้ cnc lath เป็นอยู่แล้วก็ไม่น่ายากครับ ผมอาจอธิบายไม่ค่อยดีเท่าไหร่นะครับ ผมอยู่ในส่วนสร้างและซ่อมแต่การงานใช้ไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ ส่วนใหญ่พอทำเสร็จผมเรียก operate มาทดลองอีกที หากยังไม่มีคนที่เคยใช้ cnc เป็น ก็ลองหาคนเข้าไปเทรนนิ่งดูครับ หรือจะให้ทางผมหาให้ก็พอมีอยู่แต่ติดที่เขาทำงานประจำ อาจต้องมีเวลาให้เขาช่วงวันหยุด แล้วเครื่องที่ซื้อมาติดตั้ง controller รุ่นไหนครับ เพราะบางรุ่นเขาอาจจะมี macro หรือ cancycle ที่สร้างมาให้เหมาะกับงานด้าน spinning โดยเฉพาะ หมายถึงเราแค่ใส่ค่าตัวเลข แล้วระบบมันจะทำการ generate g-code ออกมาให้เอง ผมเคยติดตั้งให้ลูกค้าบางรายเขาไม่มีความรู้ด้าน cnc เท่าไหร่แต่รูปแบบชิ้นงานเป็นแบบเดิมๆแต่มีหลายขนาด ผมเลยสร้าง macro cancycle ให้เขาเลย(cycle standard ไม่ตรงตามที่ต้องการใช้) เขามีหน้าที่แค่ใส่ค่าขนาดที่ต้องการเท่าน้ันเอง CNC_TECH prs.cnc@gmail.com |