21/07/2555 16:45 น. |
ผมต้องการทราบว่ามีวิธีการตรวจสอบได้อย่างไรว่ามอเตอร์ที่ผ่านการพันขดลวดมาแล้ว กี่ครั้ง ถึงจะหมดสภาพการใช้งาน เนื่องจากการรื้อขดลวดด้วยวิธีการเผา มอเตอร์ตัวนี้ขนาด 22 kW. แกนเหล็กของมอเตอร์อิ่มตัวหรือไม่ จะทราบได้อย่างไร ขณะ No Load กระแสกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วเมื่อนำไปติดตั้งใช้งานจริงจะมีผลกับความร้อนได้หรือไม่ ค่ากระแสการใช้งานกี่เปอร์เซ็นต์ ของเนมเพลท (ก่อนหน้านี้ไม่ราบข้อมูลการซ่อมมาก่อนครับว่าพันขดลวดแล้วกี่ครั้ง) |
22/07/2555 08:46 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ การตรวจสอบแกนเหล็กมีว่ามีการเสื่อมสภาพเนื่องจากการซ่อมหรือไม่ จะใช้วิธีการตรวจสอบโดยการทำ Coreloss Test ซึ่งผลที่ได้จะออกมา 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นการหาจุดที่ร้อนแตกต่างจากจุดอื่น ( Hot Spot ) ว่ามีหรือไม่ และอีกส่วนหนึ่งคือ ฉนวนระหว่างแผ่นลามิเนทมีการเสื่อมสภาพหรือไม่ ซึ่งจะใช้ดูอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิแกนเหล็กทั้งหมดอยางไม่ปกติ (หลังเทส หักลบด้วยก่อนเทส )และจะสอดคล้องกับค่า ลอสที่วัดได้จากการทดสอบก็จะสูงกว่าค่าโดยปกติโดยทั่วๆไป ผลการทดสอบถ้าปรากฏว่า Hot Spot เกินค่าที่กำหนด โดยส่วนมาก จุดที่เกิด Hot Spot จะเป็นจุดที่ทำให้มอเตอร์ไหม้ เนื่องจากความร้อนจากจุดนี้ไปทำลายฉนวน ส่วนค่าคอร์ลอสที่มีค่าสูงขึ้นเกินค่าปกติ แน่นอนว่าจะส่งผลต่อเรื่องของอุณหภูมิที่จะสูงขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับการใช้งานก่อนที่จะมีการซ่อมมอเตอร์ ส่วนเรื่องแกนเหล็กมอเตอร์อิ่มตัวเนื่องจากความร้อนที่ใช้ในการเผาแกนเหล็ก เท่าที่ศึกษามายังไม่พบว่าความร้อนจากการเผาจะทำให้คุณสมบัติด้านโครงสร้างของแผ่นเหล็กเปลี่ยน จะมีแต่คุณสมบัติของความเป็นฉนวนระหว่างแผ่นลามิเนท ที่อาจจะทำให้เกิดการช๊อตถึงกัน และเกิดกระแสไหลวน และเป็นเหตุให้เกิดความร้อน ฉะนั้นผมจึงจะสรุปว่าความร้อนเนื่องจากการเผาแกนเหล็กจะไม่ทำให้แกนเหล็กอิ่มตัว ส่วนเรื่องกระแสขณะไม่ขับโหลด ผมได้แนบ ตารางแสดงตัวเลขคร่าวๆ ของ EASA มาเป็นแนวทางแล้วครับ และเท่าที่ทราบ ไม่มีการกำหนดหรือสแตนดาร์ต ที่กำหนด ค่ากระแสไม่ได้ขับโหลด ต่อค่ากิโลวัตต์ เพราะมีความหลากหลายในการออกแบบ ของแต่ละยี่ห้อ |
22/07/2555 08:48 น. |
|
22/07/2555 14:38 น. |
ขอบคุณครับ ช่างซ่อมมอเตอร์ ผมขอถามต่ออีกนิดครับ มอเตอร์ที่ลามิเนตเสื่อมสภาพเนื่องจากการเผาจะมีผลกับการใช้งานมากน้อยเพียงใด เมื่อค่าสูญเสียเพิ่มขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ว่าความสามารถในการขับโหลดเดิมที่ 100% ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ |
22/07/2555 19:25 น. |
ขอให้ความคิดเ็ห็นอย่างนี้ครับ เมื่อแกนเหล็กเกิดความเสียหาย วิธีแก้ไขสามารถทำได้โดยการทำรีสแตก การรีสแตกมีขั้นตอนการซ่อมคือ การรื้อแกนเหล็กออกมาเป็นแผ่นๆ ก่อนที่จะมีการสลับจุดที่เกิดความเสียหาย หรือแก้ไขจุดที่มีการช๊อตติดกัน อาจจะทำฉนวนใหม่หรือไม่ก็แล้วแต่กรรมวิธีของโรงซ่อมแต่ละที่ ก่่อนที่จะนำมาอัดรวมกันเข้าที่เดิม แต่จากประสบการ์ณของผม แผ่นเหล็กที่รื้อออกมาจะไม่สามารถนำไปอัดรวมกัน และดันเข้าที่เดิมได้ความหนาแน่นเท่าเดิม ซึ่งก็จะหมายถึง อัดแกนเหล็กที่รื้อออกมาไม่หมด หรือถ้าอัดเข้าไปได้หมดความยาวแกนเหล็กก็จะมากกว่าเดิม เนื่องจากการรื้อแกนเหล็กออก จะทำให้แผ่นลามิเนทไม่่เรียบเกิดช่องว่างในระหว่างการจัดเรียง ความหนาแ่น่นของแกนเหล็กที่เปลี่ยนไปจะส่งผลต่อเส้นแรงแม่เหล็กที่ขดลวดสเตเตอร์ผลิตขึ้น และแรงม้าที่มอเตอร์ผลิตได้ในที่สุด มอเตอร์ที่ผ่านการรีสแตก จะทำให้เกิดกระแสขณะไม่ขับโหลดที่สูงขึ้น ทำให้เกิดกระแสขับโหลดที่น้อยลง (เมื่อเทียบกับค่ากระแสขณะไม่ขับโหลดก่อนการซ่อมแกนเหล็ก )มีผลทำให้มอเตอร์ขับโหลดได้น้อยลง หรือพูดอีกนัยยะหนึ่งว่า ถ้านำไปขับโหลดเดิม มอเตอร์ก็จะกินกระแสเพิ่มมากกว่าเดิม ซึ่งก็อาจจะยังมีค่าน้อยกว่ากระแสพิกัดมอเตอร์ มอเตอร์ก็ยังคงที่จะใช้งานต่อไปได้ ยกเว้นว่าเดิมขับโหลด 100 เปอร์เซนต์อยู่แล้ว มอเตอร์ก็อาจจะทำงานอยู่ในสภาวะโอเวอร์โหลด ฉะนั้น ตามความเห็น มอเตอร์ที่ผ่านการรีสแตก จะไม่สามารถที่จะขับโหลดได้ 100 เปอร์เซนต์ตามพิกัดเนมเพลท ครับ |