Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,798
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,171
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,457
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,452
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,913
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,029
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,006
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,295
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,146
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,818
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,773
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,973
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,318
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,816
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,160
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,053
17 Industrial Provision co., ltd 39,850
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,798
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,713
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,041
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,974
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,322
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,741
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,469
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,975
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,969
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,347
28 AVERA CO., LTD. 23,102
29 เลิศบุศย์ 22,062
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,820
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,714
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,327
33 แมชชีนเทค 20,316
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,576
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,545
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,286
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,963
38 SAMWHA THAILAND 18,740
39 วอยก้า จำกัด 18,406
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,978
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,824
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,759
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,725
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,670
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,602
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,595
47 Systems integrator 17,156
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,101
49 Advanced Technology Equipment 16,934
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,898
12/07/2555 21:10 น. , อ่าน 29,777 ครั้ง
Bookmark and Share
inverter ชวยด้วย
nawin
12/07/2555
21:10 น.
ช่วยอธิบาย แบบละเอียดเลยนะผมอ่านวงจรแล้วไม่เข้าใจครับ คือผมต้องการต่อสวิชให้กับการควบคุมมอเตอร์อ่ะครับ รบกวนด้วยนะ ช่องไหนต่อเข้าช่องไหนบ้้างแล้ว ถึงจะทำงานได้ สายไหนต่อสวิช แหละใช้สวิชแบบไหนครับ อินเวอเตอร์ delta vfd-e 3hp นะครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 10 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ผ่านมา
13/07/2555
09:46 น.
ติดต่อคนขายเลย
ความคิดเห็นที่ 2
CNC_TECH
13/07/2555
23:31 น.
ในคู่มือเขียนค่อนข้างละเอียดลองพยายามทำความเข้าใจดูครับ
เดี่ยวผมจะแนะนำแบบคร่าวๆนะครับ น่าจะเข้าใจได้ง่าย หากสงสัยตรงไหนค่อยว่ากันอีกที
ตามแบบที่ทางคุณโพทส์ไว้
***ที่ INVERTER ตำแหน่ง R(L1),S(L2),T(L3) คือตำแหน่งต่อแหล่งจ่ายไฟ 3 เฟสเข้า ขนาดแรงดันให้ดูข้างตัว INVERTER จะเขียนว่า
INPUT : 3PH xxx-xxxV 50/60hz xxA ต้องต่อไฟให้ตรงตามแรงดันที่ระบุไม่งั้นมีปัญหาระวังด้วยครับผมเห็นช่างเก่งๆตกม้าตายกันเยอะ
***ที่ INVERTER ตำแหน่ง U(T1),V(T2),W(T3) คือตำแหน่งต่อมอเตอร์ที่เราต้องการปรับรอบครับ สิ่งที่ต้องคำนึงคือต้องรู้ว่ามอเตอร์ที่จะต่อ
ต้องต่อแบบใด แบบสตาร์หรือแบบเดลต้า และพิกัด VOLT ที่รับได้คือเท่าไหร่ ใน Parameter ของ INVETER สามารถกำหนดได้ งานบางงาน
เช่นงาน CNC มอเตอร์อาจระบุที่ Name plate ว่า INPUT 160 VOLT ดังนั้นใน PARAMETER ที่เกี่ยวกับ MAXIMUM OUTPUT VOLTAGE
ต้องไปกำหนดค่าเป็น 160V เพื่อไม่ให้ INVERTER จ่าย OUTPUT VOLT เกินที่มอเตอร์จะรับได้เป็นต้น
***ที่ INVERTER ตำแหน่ง +/B1,B2 และเครื่องหมาย - เป็นตำแหน่งที่ไว้ต่อ Braking resistor อันนี้เป็น Option เสริมครับ ไว้ในกรณีที่ต้องการ
ให้ Inverter ออกตัวอย่างรวดเร็วและหยุดอย่างรวดเร็วป้องกัน DC BUS สูงเกินค่าที่กำหนดหากไม่ได้ต่อกรณีที่เรา SET ค่า Acceleration และ
Deceleration time ไว้ต่ำๆจะทำให้ Inverter alarm Over current หรือ Dc bus over volt บางครับหาก Alarm แล้วเรารีเซ็ตและทำการ
RUN ซ้ำหลายครั้งอาจทำให้ Inverter พังได้เนื่องจาก IGBT ร้อนจัดเพราะกระแสเกินและร้อนสะสม หากคุณไม่ต้องการ START
และหยุดอย่างรวดเร็วไม่ต้องต่อก็ได้ เนื่องจากหากเป็นรุ่นเล็กจะมี Breaking resister อยู่ภายใน Inverter อีกตัว แต่หากเป็นรุ่นใหญ่นอกจาก
ต้องต่อแล้วจำเป็นต้องมี Breaking unit มาเป็นตัวควบคุมต่างหากด้วยโดยต่อที่ตำแหน่ง +B และตำแหน่ง - เอาเป็นว่าของคุณยังไม่ต้องต่อ
Acceleration time คือเมื่อสั่งให้ inverter หมุนมอเตอร์ไปที่ความเร็วที่เราต้องการจาก 0 ถึง ความเร็วที่ตั้งไว้จะใช้เวลาตามค่า Acceleration time
ที่เราตั้งไว้ใน Parameter
Deceleration time คือเมื่อสั่งให้มอเตอร์หยุดหมุนจากความเร็วที่ตั้งไว้จนถึง 0 จะใช้เวลาตามค่า Deceleration time ที่เราตั้งไว้ใน Parameter


ความคิดเห็นที่ 3
CNC_TECH
13/07/2555
23:32 น.
***ที่ INVERTER ตำแหน่ง RB,RC ที่อยู่ในกรอบเส้นประนั้นเป็นตัวเดียวกันกับ RB,RC,RA Refer to Control Terminal Explanation
ในกรอบที่เห็นนั้นคือเขายกตัวอย่างการต่อควบคุมการจ่ายไฟ Power เข้า Inverer ผมจะอธิบายให้ฟังดังนี้
***ที่เป็นสัญลักษ์ยักๆที่ต่อเข้ากับไฟจ่าย R(L1) และ S(L2) นั้นคือหม้อแปลงครับส่วนแปลงเป็นไฟเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับ Contactor ที่นำมาใช้กับวงจร
***ตำแหน่ง Off,On นั้นคือ Swith ครับเพื่อกด On,Off Magnetic contactor ให้จ่ายไฟให้ Inverter โดยผ่าน contact main ด้านบนที่เป็นขีดสอง
ขีดแนวตั้งทั้งสามเฟส
***ตำแหน่ง MC คือ Magnetic contactor ครับคงไม่ต้องอธิบายมาก
***ตำแหน่ง SA เข้าใจว่าเป็นตัวป้องกันเสริจกระมังไม่แน่ใจไม่ต้องต่อก็ได้ครับ
*** ตำแหน่ง RB,RC คือ Relay output NC Contact เอาไว้ตรวจสอบความผิดปกติของ Invereter สามารถ SET ได้ว่าจะให้ตรวจสอบอะไร แต่ปกติ
จะ SET เป็น Inverter ready ขั้นตอนคือเมื่อทำการกดปุ่ม ON แมคเนติกคอนแทคเตอร์จะทำงานทำให้ Contactor main ต่อไฟ Power เข้า Inveter
และหาก Inverter พร้อมทำงานไม่มี Alarm Relay output จะไม่เปลี่ยนแปลงทำให้ Contactor ทำงานค้าง แต่หากมีความผิดปกติที่ Inverter Relay output
จะตัดการทำงานทำให้ Contactor หยุดจ่ายไฟให้ Inverter ครับ(RB,RC เป็น Contact ปกติปิด)
***ตำแหน่ง MI1-MI6 คือ Digital input คือ Input ที่จะให้ inverter ทำอะไร เราสามารถ Set ได้ที่ parameter ว่าจะให้มันทำอะไร
***ตำแหน่ง DCM เป็น Common ครับขึ้นอยู่กับการเลือก SW1 ว่ารับ Input แบบใด หากเลือก SW1 เป็น NPN DCM จะเป็น Common แต่หากเลือก
SW1 เป็น PNP +24V จะเป็นจุด Common แทนครับ
*** ตำแหน่ง +10V,AVI,ACM เป็นตำแหน่ง Analog input แบบปรับแรงดัน คือตำแหน่งที่เราจะปรับให้มอเตอร์หมุนเร็วหรือช้าสัญลักษ์ดังกล่าวก็คือโวลลุ่มนั่นเอง ใน Spec
ที่เขาระบุคือ 5K โอห์มครับ ต้องตรวจสอบด้วยครับว่า SW2 เลือกเป็น AVI หรือไม่
***ตำแหน่ง ACI,ACM เป็นตำแหน่ง Analog input แบบปรับกระแสครับ แหล่งที่จ่ายอาจมาจากอุปกรณ์อื่นๆเช่น PLC ครับ ต้องตรวจสอบด้วยครับว่า SW2 เลือกเป็น ACI หรือไม่
(acm คือ common ของ analog input)
*** ตำแหน่ง AFM,ACM คือ Analog output ไว้สำหรับจ่าย Analog 0-10vdc เพื่อแสดงค่าเช่น แสดงค่าความเร็วรอบโดยนำไปต่อกับมิเตอร์ RPM เป็นต้นสามารถ set ค่าได้ที่ parameter
เอาแค่นี้ก่อนนะครับเดี่ยววันอาทิตย์มีเวลา จะเขียนขั้นตอนการต่อ การเซ็ตค่า parameter ที่จำเป็นจนสามารถใช้งาน inveter ตัวนี้ได้ แต่ความจริงแล้วใน manual
ก็เขียนได้ละเอียดทีเดียวลองตั้งใจอ่านดูครับจะได้เข้าใจยิ่งขึ้น
ความคิดเห็นที่ 4
CNC_TECH
14/07/2555
08:57 น.

***ขั้นแรกหา Circuit braker Rate กระแสตามที่ระบุใน Input ของ Inverter ข้างตัวมันแล้วทำการต่อเข้าที่ Input R,S,T ระดับแรงดันให้ตรงตามที่ระบุใน Name plate
อาจต่อผ่านแค่ Braker อย่างเดียว หากต้องการระบบป้องกันก็ต่อตามวงจรในกรอบเส้นประครับ
***ทำการต่อมอเตอร์เข้าไปที่ U,V,W และกราวด์ ต้องรู้ด้วยครับว่าต้องต่องมอเตอร์แบบใด ถ้าเป็นมอเตอร์บ้านเราจะต่อได้สองแบบ แบบสตาร์และแบบเดลต้า 380/220 3phase
คือถ้า Inverter เราเป็นแบบไฟเข้า 3phase 380vac Output ออกมาจะประมาณ 380vac ให้ต่อมอเตอร์แบบ Star เป็นต้น แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ของญี่ปุ่นจะเป็น 200vac สิ่งเหล่านี้
ผมคิดว่าคุณคงรู้อยู่แล้วครับ แต่ควรคำนึงด้วยเดี่ยวตกม้าตาย
*** ทำการเตรียม Push button swith ไว้สองตัวเป็นแบบ No(ปกติเปิด) Swith ตัวแรก ขาที่ 1 ต่อเข้าที่ Inverter ตำแหน่ง DCM ขาที่สองต่อเข้าที่ Inverter ตำแหน่ง MI1
ครับตัวนี้เราจะกำหนดให้เป็น Digital input สั่งให้ Inverter หมุนมอเตอร์ตามเข็มนาฬิกา
*** Swith ตัวที่สอง ขาที่ 1 ต่อเข้าที่ Inverter ตำแหน่ง DCM ขาที่สองต่อเข้าที่ Inverter ตำแหน่ง MI2 ครับตัวนี้เราจะกำหนดให้เป็น Digital input สั่งให้ Inverter หมุนมอเตอร์ทวนเข็มนาฬิกา
ตรวจสอบ SW1 ด้วยครับว่าเลือกเป็น NPN หรือไม่หากยังให้เลือกซะ
*** หา Vollume ค่า 5kโอห์ม ถ้าได้แบบ 10 รอบจะดีเพราะจะปรับได้ละเอียด ต่อขาที่ 2 กลางเข้าที่ Inverter ตำแหน่ง AVI ,ขาที่ 3 ต่อเข้าที่ Inverter ตำแหน่ง +10V,ขาที่ 1 ต่อเข้าที่ Inverter
ตำแหน่ง ACM ตัวนี้จะเป็นตัวปรับ Analog 0-10vdc สั่งให้ Inverter ปรับความถี่ที่จ่ายให้มอเตอร์เพื่อให้มอเตอร์หมุนเร็วหรือช้า
ความคิดเห็นที่ 5
CNC_TECH
14/07/2555
17:39 น.
*** การใช้งานพื้นฐานเบื้องต้นต่อแค่นี้ก็พอครับ หากต้องการ Advance กว่านี้ค่อยว่ากันอีกที เมื่อต่อเสร็จและตรวจสอบความเรียบร้อยและถูกต้องแล้วก็ทำการเปิดไฟเข้า Inverter เลยครับ
อย่างแรกที่เราต้องทำคือเซ็ต parameter ที่จำเป็น
*** Parameter ตัวเเรกคือ Parameter ที่เกี่ยวกับการ Config ค่าต่างๆของมอเตอร์ที่เราทำการต่อครับ ให้คุณทำการจดค่าที่ Name plate ของมอเตอร์ ค่าที่ต้องใช้มี ค่าแรงดัน,ค่ากระแส,
ค่า pole ของมอเตอร์,ค่าความถี่,ค่ารอบ(RPM) ประมาณนี้ครับ
*** การเซ็ตค่า parameter ต้องออกตัวไว้ก่อนนะครับสำหรับ Inverter Delta ผมยังไม่เคยใช้ที่แนะนำได้เพราะผมอ่านจาก Manual ล้วนๆหากผิดตกยังไงต้องขออภัยด้วยครับ
ขั้นแรกกดปุ่มโหมดจะเข้าหน้ากรุ๊ปของ Parameter หากต้องการเข้าไปที่กรุ๊ปดังกล่าวให้กดปุ่ม PROG/DATA จะเข้าสู่เลข Parameter กรุ๊ปดังกล่าว หากจะดูว่าค่าเป็นเท่าไรให้กดปุ่ม
PROG/DATA อีกครั้งก็จะเข้าสู่หน้าค่าที่เซ็ตไว้ของ Parameter ดังกล่าว หากกดปุ่ม PROG/DATA อีกที่จะขึ้นข้อความ END ประมาณนี้ครับดูใน Manual แล้วลองกดดูครับ
*** ผมจะพาไล่เซ็ตไล่ตามตารางใน Manual เลยแล้วกัน ตัวที่ 1 Parameter 01.00 Maximum output freqency ตัวนี้ขึ้นอยู่กับคุณว่าต้องการปรับมอเตอร์ตัวนี้ที่ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่
ตัวนี้จะจ่ายความถี่ได้ตั้งแต่ 0-600 hz แต่ต้องดูมอเตอร์คุณด้วยว่ารับได้เท่าไหร่ หากเป็น Induction ทั่วไปประมาณเต็มที่ซัก 100 hz ยังพอได้ครับ แต่ทอร์คจะไม่ได้แล้วหากคุณไปใช้กับงานที่ต้องการ
รอบจัดแต่ไม่ต้องการทอร์คเท่าไหร่ก็พอได้ ทอร์คที่ยังพอได้จะอยู่ในช่วง 30hz-60hz ใน Induction ทั่วไปยิ่งความถี่ความเร็วสูงทอร์คจะต่ำ หลักการกำหนดมีดังนี้ครับ หากคุณต้องการความเร็วสูงสุดของ
มอเตอร์ตัวอยู่ที่ 3000 rpm คำนวนดังนี้ครับอย่างแรกต้องรู้ค่า Name plate ของมอเตอร์ 2 ค่าก่อนครับ 1.คือค่า ความเร็วรอบ (rpm) 2.ค่าความถี่ของมอเตอร์ครับ สมมุติ rpm = 1500 และ Hz=50
ก็คำนวนหาค่า Hz/rpm ก่อนคือ 1500/50 = 30 rpm ดังนั้นมอเตอร์ตัวนี้หากจ่ายความถี่ 1 hz จะหมุน 30 rpm นั่นเอง ดังนั้นหากต้องการให้หมุนสูงสุด 3000 rpm ก็ 3000/30 = 100hz นั้นเอง
ดังนั้นค่าต้องป้อนคือ 100 นั่นเองครับ ค่าความถี่ตัวนี่จะขึ้นลงตามสัญญาณ Analog input 0-10vdc ที่ vollume ที่เราต่อที่ขา AVI ครับแต่จะไม่เกินค่าสูงสุดที่ตั้งไว้
ความคิดเห็นที่ 6
CNC_TECH
14/07/2555
17:40 น.
*** ตัวต่อมาคือ 01.02 Parameter Maximum output voltage อันนี้ให้ตั้งเท่ากับค่า Volt ที่ Name plate motor ครับ
*** ตัวต่อมาคือ 01.09 Accel Time 1 คือค่าเวลาในการออกตัวจากความเร็ว 0-ค่าเซ็ตพอยด์ ให้เซ็ตประมาณ 3-5 sec
*** ตัวต่อมาคือ 01.10 Decel Time 1 คือค่าเวลาในการหยุดหมุนจากความเร็วเซ็ตพอยด์จนถึง 0 ให้เซ็ตประมาณ 3-5 sec
*** ตัวต่อมาคือ 02.00 Source of First Master Frequency Command อันนี้เซ็ตเพื่อรับค่า Analog input จาก vollume ที่ therminal AVI ให้เลือกเป็น 1: 0 to +10V from AVI
*** ตัวต่อมาคือ 02.01 Source of First Operation Command อันนี้เซ็ตเพื่อรับค่า Digital input จาก Therminal MI1-MI6 ให้เลือกเป็น 1: External terminals. Keypad STOP/RESET enabled.
ประมาณนี้น่าจะ RUN ได้แล้วส่วนค่าอื่นๆขอไปอ่านอีกทีเดี่ยวมา Update ให้ครับ
ความคิดเห็นที่ 7
JORDAN
22/10/2557
22:53 น.
พี่ครับ กรณีที่จะทำให้อินเวอเตอร์ ระเบิดได้มีอะไรบ้างครับหลักๆ

หรือที่มาจากส่วนของอินพุตเพาเวอร์ แล้วหาก B1 ช็อตนี่มันจะทำให้ระเบิกได้ไหมครับ

ความคิดเห็นที่ 8
roj
25/02/2558
21:25 น.
ต่อสายสวิชสองเส้นที่ mi1 กับ dcm เปนสายสวิช
แล้วตั้งพารามิเตอร์ pr.02.01=1
เท่านี้เมื่อเปิดสวิชมันก็ ทำงาน
แต่ถ้าปิดสวิชมันก็หยุด
โดยไม่ต้องเปิดที่ตัวอินเวอร์เตอร์
ความคิดเห็นที่ 9
Ben
12/11/2558
19:48 น.
ทำไมต้องมี Acceleration time และ Deceleration time ด้วยค่ะ
ความคิดเห็นที่ 10
นพดล
17/03/2559
13:57 น.
ผมใช้ INVERTER ไม่จ่าย OUT PUT ออกมา เกิดจากสาเหตุอะไรครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 10 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
23 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD