02/07/2555 01:14 น. |
ในการขับเคลื่อน Motor AC 380 v ,2.2 Kw , 1485 RPM เราไม่ให้ความถี่ต่ำกว่ากี่ Hz ครับ(มี Standard อะไรรับรองหรือเปล่า) ปล บางคนบอกไว้ว่าไม่ควรต่ำกว่า 10 Hz คอนโทรลแบบ V/F ครับ |
02/07/2555 14:27 น. |
ความถี่ที่ชุดควบคุมมอเตอร์สร้างขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงให้มอเตอร์สร้างแรงบิดตามที่ต้องการได้ ดังนั้นชุดควบคุมมอเตอร์และตัวมอเตอร์สามารถทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนโหลดขนาดใหญ่ที่ความเร็วรอบต่ำและขับเคลื่อนโหลดขนาดเล็กที่ความเร็วรอบสูงขณะที่มอเตอร์มีประสิทธิภาพสูงสุด ขึ้นอยู่กับว่าเอาไปขับโหลดประเภทไหน ลองอ่านบทความนี้ดูครับ http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=11945§ion=9&rcount=Y |
02/07/2555 18:13 น. |
ผมว่าปัญหาหลักๆที่จะเจอคือการระบายความร้อนครับ เนื่องจากความเร็วรอบของพัดลมจะลดลงทำให้ระบายความร้อนได้ช้า ถ้าเป็นมอเตอร์แบบ TEFC หรือ เทียบเท่าด้านในก็จะร้อนเพิ่มด้วย ซึ่ง ผมยังไม่เคยเห็น Standard นะครับว่า ต่ำสุดได้เท่าไหร่ ดีที่สุดคือถามผู้ผลิตครับ แต่ถ้าเอาแบบลูกทุ่งคือลดไปวัดไปครับ สำหรับส่วนตัวผม Bearing Temp DE/NDE ผมอยากได้ประมาณ 60-65 deg C ส่วนที่ตัว Casing ผมขอ 50-55 degC ครับ |
02/07/2555 20:14 น. |
ถามว่า Standard อะไรรับรองหรือเปล่า ? จากความเข้าใจผมมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกัยบ Standard แต่จะเกี่ยวข้องกับหลัการทำงานของตัวอินเวอร์เตอร์มากกว่า ถามว่าทำไมบางคนบอกว่าไม่ควรต่ำกว่า 10 Hz กรณีของ v/f โดยหลักการทั่วไปของอินเวอร์เตอร์ทุกยี่ห้อ จะจ่ายแรงดันเอ้าพุท/ความถี่ ด้วยอัตราส่วนที่คงที่ หรือที่เราเรียกว่า v/f นั่นเอง เพื่อพยายามควบคุมให้มอเตอร์สร้างทอร์คให้คงที่ตลอดย่านการใช้งาน ตั้งแต่ 0-base frequency (ถ้าเป็นบ้านเราก็ 50HZ) ตัวอย่างเช่น ระบบไฟบ้านเรา เราใช้ 380 v 50 z อัตราส่วนระหว่าง v/f ก็จะเท่ากับ 380/50 = 7.6 ดังนั้นถ้าต้องการลดความเร็วลงครึ่งหนี่งเช่น ที่ 25 Hz แรงดันเอาพุทก็จะเท่ากับ 25*7.6 = 190 V แต่ถ้าต้องการความเร็วลงมาอีกเช่น ต้องการความเร็วที่ 10 Hz แรงดันเอาพุท ก็จะเท่ากับ 10*7.6 = 76 V. เป็นต้น ที่นี้ถ้าหากว่าต้องการเร็วที่ต่ำกว่า 10 Hz ทำได้ไหม และทอร์คจะยังคงที่อยู่ไหม หากมองตามทฤษี ก็ต้องบอกว่าน่าจะได้ แต่ในทางปฏิบัติมันจะเป็นไปตามอุดมคติ เพราะที่ความถี่ต่ำๆ แรงดันเอาพุทจะน้อยลงตามสัดส่วน ซึ่งหากเรามองไปที่วงจรสมมูลย์ทางไฟฟ้าของมอเตอร์ เราจะเห็นว่าวงจรจะประกอบด้วยสองส่วนคือค่า R และ XL ดังนั้นถ้าที่ความถี่ต่ำมากๆแรงดันที่จ่ายออกไปมันต่ำมากๆเช่นกัน ระบบจะไม่สมดุลย์ อินเวอร์เตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายกำลังจะมองเห็นค่า R ที่อยู่ในวงจร เป็นค่าที่ไหญ่มากเมื่อเที่ยบกับแรงดัน ซึ่งจะทำให้เกิดการลิมิตกระแส และแรงดันตกคร่อมค่า R สูง (VR=i*R) ทำให้กระแสที่จะไหลไปสร้างฟลักซ์หรือสนามแม่เหล็กไม่พอ และส่งผลให้แรงบิดมอเตอร์ไม่คงที่ ในช่วงความถี่ต่ำ หรือต่ำกว่าที่ 10 Hz ลงไป ดังนั้นในคู่มือทั่วไป เขาจึงไม่แนะนำ v/f กับโหลดประเภท constant torque หรือโหลดประเภทที่ต้องการแรงบิดคงที่ โดยทั่วไป v/f จึงเหมาะกับโหลดประเภท variable torque เช่นพัดลม โบลเวอร์ ปั๊มน้ำเป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ แรงบิดสูงๆที่ความถี่ต่ำๆ หรือต่ำกว่า 10 Hz สามารถทำได้หรือไม่ ในกรณีของ v/f คำตอบคือทำได้ แต่เป็นการใช้งานชั่วขณะ ไม่ไช่เป็นการใช้แบบถาวร เพราะทุกๆอินเวอร์เตอร์จะพารามิเตอร์อยู่ตัวหนึ่งซึ่งเรียกว่า i*R compensate คุณต้องเข้าใจหลัการตรงนี้ และเซ็ตให้เป็น และที่สำคัญมันจะส่งผลต่อ copper loss ในตัวมอเตอร์ซึ่งจะให้เกิดความร้อนสูงกว่าปกติ และจะทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ |
04/07/2555 01:01 น. |
ขอบคุณมากครับสำหรับทุกคำแนะำนำ |
17/06/2563 03:56 น. |
<a href="https://aldactonefast.com/">spironolactone 50 mg</a> <a href=https://aldactonefast.com/>aldactone </a> https://aldactonefast.com - aldactone 25 mg tablet & lasic 40mg <a href="https://allegrax.com/">Generic Allegra</a> <a href=https://allegrax.com/>fe***fenadine hydrochloride </a> https://allegrax.com - fe***fenadine hcl 180 mg <a href="https://fastcymbalta.com/">duloxetine side effects</a> <a href=https://fastcymbalta.com/>side effects for duloxetine </a> https://fastcymbalta.com - duloxetine side effects |