28/06/2555 13:30 น. |
ไม่รู้ว่าเราสามารถคำนวณหรือหาค่ากระแส ขณะสตาร์ท ด้วยสตาร์-เดลต้าได้หรือเปล่าครับ ใครพอทราบบ้าง |
28/06/2555 15:23 น. |
มีบทความมากมายใน 9engineer เราควรให้เครติดกับผู้เขียนบทความ ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ เช่นเรื่องที่คุณถามมา รบกวนเข้าไปดูในเวปนี้นะครับ www.tinamics.com/download/tinamics_com/star-delta.pdf ส่วนตัว ถ้าเราใช้ PLC ควบคุมการออกตัวแบบสตาร์-เดลต้า การใช้เวลา3-5วินาทีในการเปลี่ยนสภาวะจากสตาร์ไปสู่เดลต้า แมกเนติคจะทำงานไม่ทันและแรงดันไลน์ทูไลน์จะชนกันพอดิบพอดี ต้องเปลี่ยนชุดเพาเวอร์นะครับ อันนี้เป็นข้อสังเกต |
29/06/2555 08:37 น. |
ขอบคุณครับ คุณ อคิลิส พอดีโหลดไปอ่านแล้ว ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่าว่า สมมุติว่าถ้ามอเตอร์เดิมสตาร์ทด้วยเดลต้าแบบต่อตรงกินกระแส 100 แอมป์ แล้วไปใช้สตาร์ทด้วยสตาร์-เดลต้า ตอนสตาร์ทสตาร์ มอเตอร์จะกินกระแส 100/1.732=57.7 A. ปัญหาจะอยู่ตรงที่ถ้าเราไม่มีค่ากระแสสตาร์ทตอนที่ต่อตรงเป็นเดลต้า เราจะพอคำนวณได้ไหมครับ |
29/06/2555 15:00 น. |
Ok. เพื่อนสมาชิกมาคุยกันดีกว่า 1.กรณี การสตาร์ทตรง จะกินกระแส 5-7 เท่า หรือ 6-8 เท่า แล้วแต่ว่าตำรามาจากสำนักไหน 2.ดูข้อมูลจาก www.tinamics.com/download/tinamics_com/star-delta.pdf แล้วนะครับ หน้าที่ 2 ซ้ายมือด้านล่างดูที่กราฟอันแรกนะ การสวิทช์จากสตาร์ ไปเป็นเดลต้า กระแส ณ.วินาที 0 คือกระแสทรานเซี้ยน บางตำราเขียนว่า switching transient ถ้าอยู่ในช่วงเวลาเหมาะสมกระแสจะอยู่ที่ ประมาณ 2 เท่าของกระแสฟูลโหลด ถ้าต่อในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม(เร็วไป)กระแสจะอยู่ประมาณ 3 เท่าของกระแสฟูลโหลด วิธีการคำนวณ ถ้าไม่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ต้องทำวงจรสมมูลของมอเตอร์ออกมาก่อน คำนวณค่า R และ XL เพื่อจะนำมาใช้ในวงจร RL TRANSIENT จากนั้นนำมาเข้าสูตร ตรงแหล่งจ่ายจะเป็น Vm sin omega (t) คิดว่าประเด็นจะถามกระแสตรงจุดที่เปลี่ยนจากสตาร์ไปเป็นเดลต้า ใช่หรือเปล่า จากคำถามของคุณ ปัญหาจะอยู่ตรงที่ถ้าเราไม่มีค่ากระแสสตาร์ทตอนที่ต่อตรงเป็นเดลต้า เราจะพอคำนวณได้ไหมครับ ถ้าเราจะไปสอบหรือติวให้รุ่นน้อง ข้อสอบเรื่องทรานเซี้ยนจะไม่ออกตรงนี้ นะครับ กรณีเราทำงานดูกราฟง่ายสุดแล้วครับไม่ต้องคำนวณมาก ขอบคุณครับ |
30/06/2555 04:11 น. |
ถ้าเป็นมอเตอร์เล็กละครับจำเป็นไหมครับ ผมคิดว่าถ้า P น้อย ไม่จำเป็นต้องวิ่ง ดาว-สามเหลี่ยม ซ่ะอีก |
30/06/2555 09:44 น. |
ครับ เจ้า ดาว-สามเหลี่ยมนี่นะ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการสตาร์ทมอเตอร์ ยังมีอีกหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับโหลด มอเตอร์ขนาด P น้อยอย่างที่นายช่างว่านะ น้อยกว่าสัก 5 แรงม้าลงมา สตาร์ทตรงก็ได้ สตาร์ทแบบ ดาว-สามเหลี่ยม พิกัดเท่าไร ใครกำหนด บอกไม่ได้ครับ เพราะหน้างานไม่เหมือนกัน การที่มอเตอร์จะเริ่มเดินแบบใด มันแปรผันตรงกับแรงบิด หรือที่เราบอกเป็นนัยๆว่า การออกตัวนั่นแหละครับ งานบางงาน มอเตอร์ 125 แรงม้า ยังสตาร์ทตรงเลย เพราะว่าเขายอมรับการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า แต่เขาได้ผลผลิตที่คุ้มค่า เวลามีเรื่องอนุรักษ์พลังงานเข้ามาเขาก็ปรับเปลี่ยน ไปใช้ AUTO TRANSFORMER START บ้าง อินเวอร์เตอร์บ้าง |
30/06/2555 11:39 น. |
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ จากการพิจารณาตารางแสดงคุณสมบัติการสตาร์ทด้วยวิธีต่างๆ สตาร์-เดลต้า , รีแอคเตอร์สตาร์ท , ออโต้ทรานส์ฟอร์เมอร์ จากสื่อๆต่าง จะได้ข้อสรุปว่า กระแสสตาร์ทในสภาวะลดแรงดันจะเป็นสัดส่วนกับกระแสสตาร์ทในขณะจ่ายแรงดันเต็มพิกัด เช่นถ้ามอเตอร์มีกระแสสตาร์ทเต็มพิกัด 6 เท่าของกระแสเนมเพลท เมื่อเราจ่ายแรงดันขณะสตาร์ทลดลงไปครี่งหนี่ง กระแสสตา์ร์ทก็จะลดลงไปครึ่งหนึ่งด้วย ก็คือจะเหลือ 3 เท่าของกระแสพืกัด ซึ่งต้องระวังว่าการเปลี่ยนแปลงแรงดันกระทำที่แรงดันเฟส หรือแรงดันไลน์ และเรากำลังพิจารณากระแสเฟส หรือกระแสไลน์ ในบทความที่อ้างถึงในคำตอบที่ 2 ข้างต้นก็บอกว่าการสตาร์ท สตาร์ กระแสเฟส จะลดลงไป เท่ากับ กระแสเดิมกระเดิม / 1.732 (ต้องเป็นกระแสเฟส ) แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ กระแสเนมเพลทเป็นกระแสไลน์ ฉะนั้น กระแสที่นำมาใช้ต้องเป็น กระแสที่เนมเพลท หารด้วย 1.732 สมมุติว่า มอเตอร์ตัวหนึ่งมีกระแสเนมเพลท อยู่ที่ 100 แอมป์ และมีการต่อเป็นเดลต้า 380 โวลท์ เมื่อไปดูแคตตาล๊อกของของมอเตอร์ตัวนี้ ได้ค่า Is/In 6 แสดงว่ามอเตอร์ตัวนี้ขณะสตาร์ทด้วยแรงดัน 380 โวลท์กระแสสตาร์ท (ไม่ใช่กระแสทรานซ์เชี่ยน )เท่ากับ 100 x 6 = 600 A. ฉะนั้นมอเตอร์ตัวนี้ขณะสตาร์ท ที่แรงดันพิกัด มอเตอร์จะมีกระแสเฟส = 600/1.732= 346.4 A. แต่เมื่อเรานำมาสตาร์ทด้วยวิธี สตาร์-เดลต้า แรงดันขณะสตาร์ทจะมีค่าแรงดันตกคร่อมเฟสลดลงจาก 380 เป็น 220 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.732 ฉะนั้นผลของการลดแรงดันจะทำให้กระแสลดลงไปด้วย = 346.4/1.732 = 200 A. แต่เนื่องจาก ในการต่อวงจรขดลวดเป็นสตาร์ กระแสเฟส = กระแสไลน์ ก็จะทำให้มอเตอร์ดึงกระแสไลน์ = 200 A. หรือประมาณ 2 เท่าของกระแสที่เนมเพลท ไม่แน่ใจคำตอบของผมจะตรงคำถามเรื่องการคำนวณที่พูดถึงหรือเปล่า |
30/06/2555 15:38 น. |
1.วงจรเดลต้า VL = Vph . IL = 1.732*Iph 2.วงจรสตาร์ VL = 1.732*Vph . IL = Iph 1.กรณีสตาร์ทตรง ต่อเดลต้า 380 โวลต์ 100 A จาก IL = 1.732*Iph และ VL = Vph = 380 v สตาร์ทตรงที่เดลต้ากระแส6เท่า = 600A 2.กรณีต่อสตาร์-เดลต้า จังหวะสตาร์ แรงดันตกคร่อมเฟสเท่ากับ 220 โวลต์ จาก VL=1.732*Vph ส่วนกระแสก็ตามความเห็นด้านบนที่คำนวณมา ลักษณะนี้คือกระแสปกติธรรมดาทั่วๆไป จากบทความ www.tinamics.com/download/tinamics_com/star-delta.pdf หน้าที่3 และหน้าที่4 กรณีศึกษามอเตอร์ไหม้ เนื่องมาจากกระแสทรานเซี้ยนส์ ซึ่งมีวิธีการลดกระแสทรานเซี้ยนส์ลง โดยการต่อ R เข้าในวงจร ในจังหวะที่เปลี่ยนสภาวะจากสตาร์สู่เดลต้า ในการคำนวณจึงต้องใช้วงจรทรานเซี้ยนส์เข้าร่วม แต่บทความนี้ดีมีกราฟสำเร็จรูปมาแล้ว เพียงแต่อ่านค่าจากกราฟก็เพียงพอ |
30/06/2555 15:43 น. |
ประเด็นที่2 คือ ผมเข้าใจว่าจะถามตรงนี้ (ผมคงตีความผิดไป ) คือกระแสในช่วงที่เปลี่ยนไปเป็นเดลต้า ไม่เป็นไร เก็บไว้ก็ไม่เปล่าประโยชน์ครับ มาดูกระแสจากกราฟครับ |
30/06/2555 15:45 น. |
|
01/07/2555 08:04 น. |
ขอขอบคุณสำหรับทุกๆคำตอบครับ และต้องขอโทษที่เขียนคำถามไม่ชัดเจน ใจจริงก็อยากจะถามแค่เรื่องของกระแสที่วัดได้ขณะสตาร์ท แต่มีพี่อคิลิส ที่ขยายความไปจนถึงขณะเปลี่ยน จากสตาร์ เป็นเดลต้า ทำให้ได้รับข้อมูลครบถ้วนดีครับ และต้องขอขอบคุณช่างซ่อมมอเตอร์ และคุณอคิลิส อีกครั้งในการพยายเขียนอธิบายอย่างชัดเจน โดยเฉพาะคุณ อคิลิส ขยายมุมมองได้เป็นอย่างดี ผมคิดว่าถ้าใครเข้าในบอร์ดนี้แล้ว ไม่เข้ามาอีกก็น่าจะไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมตัวจริง และจะทำให้มีคนเข้ามาในบอร์ดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ |
01/07/2555 08:06 น. |
ขอขอบคุณสำหรับทุกๆคำตอบครับ และต้องขอโทษที่เขียนคำถามไม่ชัดเจน ใจจริงก็อยากจะถามแค่เรื่องของกระแสที่วัดได้ขณะสตาร์ท แต่มีพี่อคิลิส ที่ขยายความไปจนถึงขณะเปลี่ยน จากสตาร์ เป็นเดลต้า ทำให้ได้รับข้อมูลครบถ้วนดีครับ และต้องขอขอบคุณช่างซ่อมมอเตอร์ และคุณอคิลิส อีกครั้งในการพยายเขียนอธิบายอย่างชัดเจน โดยเฉพาะคุณ อคิลิส ขยายมุมมองได้เป็นอย่างดี ผมคิดว่าถ้าใครเข้าในบอร์ดนี้แล้ว ไม่เข้ามาอีกก็น่าจะไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมตัวจริง และจะทำให้มีคนเข้ามาในบอร์ดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ |
01/07/2555 11:16 น. |
ผมว่าถึงมีวงจรสมมูลของมอเตอร์ก็ไม่น่าจะคำนวณหาได้นะ ต้องรู้แรงบิดโหลด และ moment of inertia ของโหลด กะ มอเตอร์ด้วย ดูกราฟน่าจะดีที่สุด |