25/06/2555 12:54 น. |
อยากสอบถามเรื่องถ้าเราจะนำลูกหมุนระบายอากาศมาผลิตกระแสไฟฟ้ามันมีหลักการอะไรบ้างครับ พอดีอยากจะหาความรู้เรื่องพวกนี้ หรือไม่ก็ตัวนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับการทำงานลักษณะแบบนี้หน่อยครับ |
28/06/2555 16:13 น. |
สอบถามครับ นำไปทำใช้เอง หรือว่าทำโปรเจค เห็นน้องๆนักศึกษาทำโปรเจคนี้กันเยอะ ลองคำนวณดูนะครับว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือเปล่า เพราะในความเป็นจริง การมีอยู่จริงของพลังงานทางลักษณะนี้มักไม่เสถียร การมีอยู่จริง เช่น เมื่อเรากลับบ้าน ทันทีที่กดสวิทช์ไฟ ไฟแสงสว่างติดและมีแสงสว่างเพียงพอ ทันทีที่เปิดก๊อกน้ำ มีน้ำไหลปกติ ไม่ใช่ไหลแบบใจจะขาด นั่นคือมีอยู่จริงและมีอย่างเพียงพอ แต่พลังงานลักษณะนี้จะเป็นพลังงานทางเลือก ใช้โหลดได้ไม่มาก เช่นโคมไฟแสงสว่างเป็นหลอดLED เอาอย่างนี้นะครับ เข้าไปที่ google แล้วพิมพ์คำว่า ลูกหมุนระบายอากาศผลิตไฟฟ้า จะมีบริษัทที่เขาผลิตขาย บางอันมีผลงานนักศึกษา ลองอ่านดูนะครับ เช่นในเวปหนึ่ง ขายเจ้าตัวนี้ขนาด200 วัตต์ วัสดุเป็นสแตนเลส อยู่ที่ 28500 บวก น่าจะเป็นราคาตั้ง ไปต่อรองราคาอีกทีหนึ่งนะ มาคำนวณจุดคุ้มทุนผลประหยัดกันดีกว่า กำหนดให้ใช้กับโคมแสงสว่าง โคมคู่ 2*36 w จำนวน 2 โคม ใช้งาน 6 ชั่วโมง (ต้องไปคำนวณอีกทีนะว่าแบตเตอรี่ที่จ่ายออกมามีค่าAhเท่าไร)ค่าไฟคิดเฉลี่ยยูนิตละ 5 บาท ตัดแฟคเตอร์เรื่องการอัดประจุแบตเตอรี่ออกไปก่อน และละเลยเรื่องการเสื่อมของอุปกรณ์ชุดนี้ ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดต่อเดือน = 0.144kw * 6 hrs*30 day * 5 ฿ = 129.6 baht/month จุดคุ้มทุน = 28500/129.6 = 18.32 ปี ไม่ไหวครับ ไปต่อรองไม่เอาสแตนเลสดีกว่า เอาแบบสังกะสี ราคากดลงมาบอกมีบัดเจ็ทไม่เกินหมื่น จุดคุ้มทุนอยุ่ที่ 10000/129.6 = 6.43 ปี ก็ว่ากันไป |