14/06/2555 14:56 น. |
สอบถามวิธีการคำนวณหาค่าความร้อนในสายไฟขณะใช้ Load สูงสุดครับ ขอบคุณครับ |
14/06/2555 16:35 น. |
ขออนุญาตตอบ พอรู้อยู่บ้างนะครับ คำถามดิ้นได้เพราะเราระบุพิกัดต่างๆไม่ครบ เช่น สายไฟเป็น ทองแดง อลูมิเนียม ค่าสัมประสิทธิ์ความถ่วงจำเพาะจะต่างกัน ขนาดพื้นที่หน้าตัด ขนาดความยาวสาย อุณหภูมิ แวดล้อม อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ขณะรับโหลดสูงสุด ถ้าเราจะหาพลังงานความร้อน คือพลังงานที่สูญเสียในสายส่ง เกิดจากกระแสยกกำลัง2คูณความต้านทาน มันก็จะอยุ่ในรูปความร้อน ถ้าเป็นกระแสสลับ เราต้องรู้ค่าXL ด้วย ไม่ยากครับมีตารางให้ ในการทำงานเราคำนวณได้ และที่สำคัญสายนั้นบอกพิกัดแล้วว่า ทนอุณหภูมิได้เท่าไร ที่อุณหภูมิที่เท่าไร เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน ค่าความต้านทาน ค่าอินดัคแตนท์ก็เปลี่ยนไปอีก การนำกระแสของสายก็ลดลง ในการคำนวณเราก็เปิดตารางคูณด้วยตัวคูณลดงัยครับ สูตรน่ะมีครับ ในสมัยที่เราๆเรียนกัน จะมีข้อสอบอยู่ข้อหนึ่ง เช่น ในระบบ 3 เฟส 400 โวลต์ 50/60 Hz ที่มีสายthw ทองแดงขนาด 120sq.mm 3 เส้นเป็นตัวนำ ลากจากห้องควบคุม ไปโหลดขนาด 150 กิโลวัตต์ สายไฟยาวเส้นละ 200 เมตร อุณหภูมิแวดล้อม 35 องศาเซลเซียส เมื่อจ่ายโหลดไป 3 ชั่วโมง อุณหภูมิสาย เพิ่มเป็น 65 องศาเซลเซียส จงหา 1.ค่าความต้านทานของสาย ที่อุณหภูมิทำงาน ค่าแรงดันตกภายในสาย ณ. เวลา t0 และ t1 และค่าพลังงานความร้อนเป็นกิโลแคลลอรี่(จารย์ช่างให้เราแปลงหน่วยความร้อนอีกนะ) 2.ถ้าวัดค่าความความต้านทานของสายและค่าXL ของสายได้เท่ากับ r= ....ohm ,xl =…..โอห์มหรือ อาจจะให้มาเป็นมิลลิเฮนรี่ ณ. อุณหภูมิ t1 ถามว่าสายไฟขาดที่ เมตรที่เท่าไร หรืออาจจะถามกลับว่าถ้าสายไปขาดเฟสเมตรที่ 98 จะมีค่าความต้านทานเป็นเท่าไร ณ.อุณหภูมิ t1 เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ เราช่างไฟคงผ่านกันมาหมดแล้ว อย่างว่าล่ะครับ ถ้าลูกหลานเราจะไปสอบ โดยเฉพาะเหล่าอาจารย์ที่จบมาจาก USA ข้อสอบมักออกประมาณนี้ เราค่อยคำนวณก็ได้ ถ้าเราทำงานเปิดตาราง เปิดสูตรกดเครื่องคิดเลขเลยครับ ที่สำคัญใช้บริการเซลล์ให้เป็นประโยชน์ เช่น เซลล์ขายสายไฟ ถามเลยครับ เรื่องการรับโหลด บางทีเซลล์ก็ต้องกลับไปทำการบ้าน แต่มองในมุมที่ดี ก็เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ในทางปฏิบัติไปด้วยกัน แต่แนะนำว่าในทางปฏิบัติถามเซลล์แค่จุดที่จะนำไปใช้งานจริงๆก็พอ ถามเจาะลึกเดี๋ยวท่านเซลล์จะรู้สึกแย่ไป จะถามไปเพื่ออะไร? ต้องการอะไรหรือเปล่า? ประมาณนี้ |