11/06/2555 10:44 น. |
อยากศึกษางานmicrocontroller จะต้องเริ่มเรียนรู้อย่างไรบ้าง |
16/06/2555 16:15 น. |
หาใน google พิมพ์ microcontroller เข้าไป แล้วเจออะไรก็อ่านๆไปเลย มันจะมีบทสรุปเขียนไว้เยอะมาก เพราะคนถามแบบนี้เยอะมาก |
27/02/2556 15:15 น. |
อยากศึกษางาน Microcontroller - เรียกว่า Embedded System ประกอบด้วยความรู้ ในส่วนต่างๆๆดังนี้ - Electronic ,Digital ต้องเข้าใจหลักการทำงาน ของวงจร ตัวอุปกรณ์ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น MOSFET, Relay, Resistor, Capacitor, Regulator, Power supply, Gate IC, เลขฐานต่างๆๆ หน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้อง - C Programming for Embedded System - ให้ดีเราต้องออกแบบวงจร เป็นด้วยครับ PCB Design, Altium, OrCad - Microcontroller ปัจจุบัน มี 32Bit, 16 bit, 8 bit ค่ายหลักๆที่นิยมเล่นกัน Atmel,NXP,ST,Microchip PIC, TI ครับ หาความรู้เพิ่มเติมได้ ที่ www.es.co.th สำหรับศึกษาตัว Component ต่างๆ www.ett.co.th แผงทดลอง www.electoday.com ความรู้ต่างๆ |
28/03/2562 23:38 น. |
สมัยนี้เห็นฮิต Arduino แต่ถ้าจะเล่นให้สนุกควรเรียนรู้ให้เข้าใจถึงสถาปัตยกรรม จะเริ่มจากของบริษัทไหนก็ได้จะกี่บิทก็ได้ แล้วแต่จะหาทูลพัฒนาได้ โดยเริ่มตั้งแต่ภาษา Assembly แล้วค่อยไปภาษา C ถ้าไปแนวนี้คุณจะสามารถวิเคราะห์ไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละ clock ที่มันทำงานได้ คุณจะรู้วิธีบริหาร Resource ภายในให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนอินเตอร์เฟสสมัยนี้มีบอร์ดมีโมดูลให้เลือกใช้หลากหลาย ไม่ค่อยมีปัญหาต้องออกแบบวงจรเองเหมือนสมัยก่อน นอกจากคุณจะต้องการอะไรที่มันพิสดารจากชาวบ้านเขา สมัยก่อนผมทำโปรเจครับส่งข้อมูลแบบไร้สายระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง ต้องทำเครื่องรับส่งเอง ปรับจูนไม่ใช่ง่ายๆ เครื่องมือก็ไม่ค่อยมี สมัยนี้โมดูลรับส่งเยอะแยะ อย่างของ XBee-PRO ส่งได้เป็นกิโลในที่โล่ง แถมยังโยนข้อมูลส่งกันเป็นถอดๆเป็นเครือข่ายได้อีก |
29/03/2562 02:44 น. |
อีกตัวที่น่าลองเล่นคือ Propeller ของ Parallax สถาปัตยกรรมมันค่อนข้างล้ำในระดับไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยกัน เป็นชิพระดับ 32 บิต 8 ซีพียูในตัวเดียวทำงานร่วมกัน เขียนด้วยภาษาสปิน ผมลองเขียนดูแล้วผมว่ามันเขียนง่ายกว่าภาษา C ภาษา C ไวยากรณ์รกกว่า เหมาะกับโปรแกรมการทำงานที่ไม่ซับซ้อนมาก แต่ถ้าเขียนจริงๆจังๆภาษา C ดีกว่า |
01/04/2562 03:31 น. |
ความสามารถในการเขียนโปรแกรมแบบ Object ของภาษาสปิน ส่วนตัวผมว่าไม่ค่อยมีประโยชน์สักเท่าไรสำหรับการเขียนโปรแกรมประเภท Embedded ที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับฮาร์ดแวร์ ความสามารถในการโปรแกรมแบบ Object เหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่ต้องรันบน OS มากกว่า |
19/04/2562 10:31 น. |
คุณควรมีสิ่งที่อยากจะทำก่อน แล้วกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน มันจะทำให้คุณถึงจุดหมายเร็วกว่าเรียนไปแบบไม่มีจุดหมาย เรียนแบบความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ผมยกตัวอย่างเมื่อประมาณยี่สิบปีที่แล้วมีลูกค้าเจ้าหนึ่งอยากให้ทำวงจรควบคุมความเย็นแบบฟัซซี่ลอจิกให้ ยกเอาแอร์จากต่างประเทศมาเลย ปรากฏมาถึงบ้านเราแอร์ไม่ทำงาน สรุปสาเหตุคือมันเรียนรู้ค่าอุณหภูมิที่ต่างประเทศมาซึ่งต่างจากประเทศไทย พอเจอสภาพอากาศแบบไทยที่มันไม่คุ้นเคยมันเลยไม่ทำงาน ปัญหาแบบนี้บางทีคนเขียนโปรแกรมก็ไม่ได้คิดถึง |
03/05/2562 19:11 น. |
ที่จริงงานประเภท embedded เหมาะกับงานผลิตสินค้าประเภท mass production คือสามารถผลิตออกมาในจำนวนมากและราคาต่อหน่วยถูก ไม่ใช่งานประเภทเอาของที่ดีที่สุดแพงที่สุดมาทำเป็นผลงานระดับ masterpiece ชิ้นเดียวในโลก เหมือนกับปลากระป๋องทำไมต้องใช้ปลาซาร์ดีนปลาแมคเคอเรลมาทำปลากระป๋อง ไม่ใช่เพราะมันอร่อยที่สุด แต่เพราะมันมีปริมาณมากพอจะผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้อย่างต่อเนื่องและมีราคาถูก งานทั่วไปที่เห็นทำขึ้นมาใช้งานกันในโรงงานที่ไม่เกี่ยวกับตัว product ผมว่าไมโครคอนโทรลเลอร์ระดับ 8 บิต 16 บิต ก็เหลือๆแล้ว ไม่จำเป็นต้อง 32 บิต 64 บิต ส่วนงานที่ต้องประมวลผลหนักๆที่ PLC ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ก็ใช้ Industrial PC ไปเลย |
31/05/2562 00:35 น. |
สมัยนี้ทูลพัฒนาถูก แต่ปัญหาของการออกแบบแผ่น PCB ที่เป็นงาน Prototype สั่งจำนวนน้อยแค่แผ่นสองแผ่นคือ ระยะห่างระหว่างขอบลายวงจรและลายวงจรการันตีงานน้อยสุดแค่ 0.2032 mm และได้แค่ดับเบิ้ลเลเยอร์ แต่อันหลังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ถ้าจะเอางานละเอียดกว่านี้ หรือแม้แต่งานมัลติเลเยอร์เขาก็ทำให้ได้แต่ต้องสั่งเยอะและใช้เครื่องจักรผลิต ซึ่งเขาต้องเซทอัทเครื่องจักร เพราะเขาใช้เครื่องจักรวางอุปกรณ์ อุปกรณ์พวก Surface mount เครื่องมันวางพรืดเดียวเสร็จ ส่งผ่านสายพานลำเลียงไปอบ ไม่ได้ใช้คนบัดกรี แต่ราคาแพง ไม่เหมาะกับงานจำนวนน้อย ถ้าเป็นงาน Prototype สมมุติใช้ PIC32MZ ตัวถัง TQFP-144 ตามสเปคระยะห่างของขอบลายวงจรระหว่างขากำหนดให้ห่างอย่างน้อย 0.2 mm ขนาด Pad ยังไม่พอเลย มันก็ไม่ได้แล้ว แล้วยังเรื่องการบัดกรีอีก ถ้าผิวสัมผัสไม่สะอาดพอก็ฉาบตะกั่วเหลวไม่ติด ใส่ตะกั่วมากไปก็ไหลรวมกันเป็นก้อนตอนบัดกรี ขนาด ATmega128 ตัวถัง TQFP-64 ระยะห่างระหว่างขา 0.8 mm (PIC32MZ ตัวถัง TQFP-144 ระยะห่างระหว่างขา 0.4 mm) ผมยังเคยเป่าลมร้อนใส่จนแผ่น PCB ไหม้ ของเล่นใช้เป็นบอร์ดทดลองมาต่อกันได้ แต่ของใช้งานควรจะทำเป็น PCB |