29/05/2555 12:45 น. |
ผมทำงานฝ่ายซ่อมบำรุงโรงแรม พอดีเข้าเวรต่อจากเพื่อนช่างเหมือนกัน เดินผ่านห้อง ชิลเลอร์ ก็ได้กลิ่นเหม็นไหม้ เหมือนขดลวดกำลังจะไหม้ แต่เสียงมอเตอร์ไม่ดังจนผิดสังเกตุ และยังหมุนปกติ เอามือจับตัวมอเตอร์จับไม่ได้เลยร้อนมาก ผมก็ไม่เคยเจออาการนี้มาก่อนเป็นปั๊มส่งน้ำเย็นไปตามส่วนบริการต่างๆ จากแผ่นป้ายในตัวมอเตอร์เขียนไว้ดังนี้ครับ ELEKTRIM sa TYP SSg 180 m - 4 , IP 55 380 / 660 V , 250 HP ,S1 COS 0.90 , 34.5 / 19.9 A ทั้งหมดมี 3 ตัว และก็หยุดเพื่อตรวจเช็ค ผมถอดฝาที่เป็นจุดต่อของสายไฟพบขั้วที่เป็นน็อตล็อคสาย 1 ขั้ว หลุดออกจากชุดพลาสติกที่เป็นที่ต่อสาย พลาสติกละลายและหลุดออกมาเลย ทั้งวันจับมอเตอร์ไม่ได้เลย หมุนเพลาดูเหมือนปกติ ก็เลยรื้อออกมาดูเพื่อให้แน่ใจ พบว่าสีที่พ่นบนตัวโรเตอร์คงจะโดนเสียดสีภายใน จนสีหายไปเยอะพอสมควร และพบว่าตลับลูกปืนทั้ง ด้านหน้า - หลัง เวลาหมุนดูจะติด กึ๊ก กึ๊ก เป็นช่วงๆ คำถามครับ 1. ความร้อนที่เกิดขึ้น เกิดจากการเสียดสีของโรเตอร์ และตลับลูกปืนใช่ใหมครับ ทำไมเสียง ไม่ดังจนผิดปกติืื แต่กลิ่นเหม็นไหม้ผิดปกติมากกว่าเสียง 2.ถ้าหากเปลี่ยนตลับลูกปืนใหม่ขดลวดจะสามารถใช้งานได้อีกไหมครับ เพราะตอนก่อนปิดมันก็ยังหมุนอยู่ สีขดลวดเข้มขึ้นครับ จะเช็ควิธีไหนบ้างครับ พื้นที่ทำงานแคบมาก ทั้งยกทั้งหมุน หลังผมแทบเดาะ ถ้าเปลี่ยนเฉพาะตลับลูกปืนแล้วใช้ได้ต่อคงจะดีมากเลยครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ |
29/05/2555 15:38 น. |
ปัญหาน่าจะเกิดจาก ขั้วสายหลุด ( ขั้นไม่แน่น และสาเหตุอื่น )แล้วทำให้มอเตอร์กินกระแสไฟเพิ่ม เนื่องจากไฟขาดเฟส ทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ขดลวด ความร้อนจากขดลวดทำให้ภายในห้องมอเตอร์ร้อนขึ้น จนทำให้สารหล่อลื่นของแบริ่ง หลอมละลายออกหมด และแบริ่งเสียหายในเวลาต่อมา แบริ่งที่เสียหายทำให้ศูนย์ของมอเตอร์เสีย ส่งผลให้โรเตอร์สีกับสเตเตอร์ กลิ่นเหม็นไหม้น่าจะเป็นกลิ่นวานิชที่ิเกิดจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจาก ไฟขาดเฟส แต่ก็ยังจะไม่เลวร้ายเท่ากับไม่รู้ว่าแกนเหล้กเกิดความเสียหายหรือไม่ คำถามว่จะใช้งานได้ต่อหรือไม่หากเปลี่ยนแบริ่งแล้ว ตอบว่าน่าจะได้แต่ก็คงจะได้ไม่นาน โดยเฉพาะถ้าแกนเหล็กสเตเตอร์เสียหายด้วย คงจะได้ไม่ถึงเดือน ถ้ามอเตอร์ติดตั้งยาก แนะนำให้ทำครั้งเดียว คือยกลงมาให้ โรงซ่อมขนาดกลางที่มีการทดสอบแกนเหล็ก ทดสอบดู พร้อมกับเสริทเทสขดลวดด้วย แล้วค่อยเปลี่ยนแบริ่งไปในครั้งเดียวกันจะดีกว่า แต่ถ้ามีความรีบเร่งจะใช้มอเตอร์ การเปลี่ยนแบริ่งและใช้ชั่วคราวก็สามารถทำได้ แต่ต้องอย่าลืมแก้ไขเรื่องขั้วสายที่หลุดออกมาด้วย |
29/05/2555 16:42 น. |
การขันแน่นของขั้วมอเตอร์ ไม่เสียตังค์แม้แต่บาทเดียว แต่ขาดความเอาใส่จนละเลยไป คงจะจดจำไปอีกนานครับ ผมคงต้องเลือกเปลี่ยนแบริ่งครับ แต่ก่อน 3 ตัวเดี๋ยวนี้เหลือ 2 ตัว สลับกันทำงาน อยู่ต่างจังหวัดร้านซ่อมมอเตอร์ตัวใหญ่ๆไม่มี ถ้าเปลี่ยนเรียบร้อยแล้วติดตั้งเสร็จ จะนำมาเล่าให้ฟัง เหมือนท่านเป็นคุณหมอที่คอยดูอาการของคนป่วย ผมขอบรบกวนสอบถามอีกครับ ระยะเวลาในการเปิดมอเตอร์ให้ทำงานควรจะใช้ระยะเวลานานมากที่สุด หรือ ควรจะสลับอีก อีกตัวกี่วัน หรือกี่เดือน หรือแล้วแต่เราจะกำหนดเองครับ ผมขอเป็นความรู้และจะนำมาใช้ในที่ทำงานเลยนะครับ ขอขอบคุณอีกครั้งครับที่สละเวลาให้ครับ |
30/05/2555 09:21 น. |
คำถามที่ถามว่า ควรสลับตัวในระยะเวลาเท่าไหร่ดีที่สุด ผมเองไม่มีข้อมูลครับ และคิดว่าคงต้องนำปัจจัยหลายอย่างมาพิจารณา โดยเฉพาะประเภทของโหลด แต่ถ้าในส่วนของมอเตอร์แล้วองค์ประกอบที่ทำให้มอเตอร์เสียหายเร็วกว่าปกติ ที่เกี่ยวข้องกับการสลับตัวกันใช้งาน 1. จำนวนครั้งในการสตาร์ทต่อชั่วโมง ตัวเลขคร่าวๆ ถ้าจำไม่ผิดถ้าเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ อย่าให้เกิน 2 ครั้งต่อ ชม. 2. วิธีการสตาร์ท การออกตัวที่นิ่มนวลกว่า แน่นอนว่าขดลวด จะได้รับความเครียดน้อยกว่า โอกาสที่จะเกิดความเสียหายก็จะน้อยตามกันไปด้วย การออกตัวที่นิ่มนวลจะทำให้สามารถเพิ่มจำนวนการสตาร์ทในหัวข้อที่ 1 3. อุณหภูมิรอบข้าง จะส่งผลไปยังอุณหภูมิของมอเตอร์และขดลวดในที่สุด ซึ่งก็จะหมายความว่า ช่วงที่ร้อนที่สุดบ้านเรา ก็น่าจะสลับตัวมอเตอร์ใช้งานบ่อยขึ้น เพื่อลดความร้อนสะสม 4. ความชื้นของอากาศรอบข้าง ถ้าบริเวณที่มอเตอรติดตั้งอยู่ มีความชื้นสูงควรติดตั้ง ฮีตเตอร์ไล่ความชื้น หรือถ้าไม่มีก็ควรจะสลับมอเตอร์ใช้งานให้ถี่ขึ้นเพื่อลดความชื้นเข้าไปในตัวมอเตอร์ให้น้อยที่สุด คงจะต้องเอาปัจจัยเหล่านี้รวมกับอื่นๆเข้ามาสรุปเป็นระยะเวลา การสลับการทำงานของมอเตอร์ของเราเองครับ ท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยเฉพาะท่านที่อยู่สายโรงงานผลิตเรียนเชิญให้ความเห็นครับ |
02/06/2555 01:20 น. |
ขออนุญาตนำเสนอคับ 1) ถ้าผมมองว่ามีการหลวมอยู่บ้าง แต่ไม่ถึงกับขาดเฟส (โดยปกติเวลาขาดเฟส Overload Relay น่าจะทำงานนะ) แต่ความเสียหายเกิดจาก การที่ไม่ได้หล่อลื่นแบริ่งเลย-กรณีที่เป็นแบริ่งที่อัดจารบีได้ หรือ ไม่เคยเปลี่ยนแบริ่งเลย-กรณีที่เป็นแบริ่งแบบซีล เมื่อแบริ่งเสียหาย ทำให้ศูนย์ตก โรเตอร์เลยสีกับสเตเตอร์ เกิดการดึงกระแสสูงใกล้เคียงกระแสล็อคโรเตอร์ จุดที่หลวมอยู่เลยหลอมละลาย ขณะเดียวกันควาร้อนสูงทำให้ฉนวนเกิดการกรอบ และ วานิชที่ทาทับไว้ละลายส่งกลิ่นออกมา 2)คำแนะนำในการซ่อมคือ เรื่องฉนวนคงทำอะไรไม่ได้มาก เพราะกรอบแล้วอายุการใช้งานต้องลดแน่นอน รอวัน Rewinding ส่วนแกนเหล็กฝั่งสเตเตอร์ควรทดสอบหา Hot spot ถ้าเจออาจจะต้อง Re-stack ซื้อใหม่เลยอาจจะดีกว่าหรือเปล่า ตัวเสื้อของแบริ่งควรเช็คค่าการสวมแน่นด้วย 3)คำแนะนำในการใช้งาน ความถี่ในการเปลี่ยนตัวรัน ไม่ได้ส่งผลชัดเจนนัก เพราะมอเตอร์เป็น S1 คือ ออกแบบให้รันต่อเนื่องอยู่แล้ว แต่ในระยะยาวมากๆ จะส่งผลต่ออายุฉนวน การเปลี่ยนตัวรันบ่อยเกินไป นอกจากจะทำให้มีโอกาสเกิดความชื้นในตัวมอเตอร์สูงเนื่องจากผลของการเพิ่มลดอุณหภูมิแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความเครียดและความล้าให้กับอุปกรณ์ทางกล 4) คำแนะนำในการบำรุงรักษา - ตรวจสอบการทำงานของ Overlad Relay พร้อมดูค่า Setting - ตรวจสอบการขันแน่น - อัดจารบีอย่างถูกต้อง กรณี อัดได้ - วางแผนการเปลี่ยนแบริ่งทุก 2-3 ปี กรณี อัดจารบีไม่ได้ - วัดค่ากระแส และ อุณหภูมิมอเตอร์ โดยเฉพาะแบริ่งไม่ควรเกิน 60 องศา (จารบีปกติจะเสียสภาพความหนืดที่เหมาะสมที่ประมาณ 70 องศา) |
02/06/2555 08:53 น. |
ขอบพระคุณมากครับที่สละเวลาเพื่อมอบความรู้ให้ครับ ทุกความคิดเห็นของท่านมีประโยชน์กับผม มากเลยครับ |
06/06/2555 16:39 น. |
ขอสนทนาในส่วนการหล่อลื่นครับ การอัดจาระบีต้องดูคู่มือประกอบนะครับ ว่าอัดกี่กรัม อย่าไปอัดแบบจาระบีเก่าปลิ้นออก เพราะมันเปลืองและส่งผลให้ร้อน แบริ่งเสียเร็วขึ้น มีสูตรครับ G=0.005 D*B กรัม ไม่ต้องไปคำนวณก็ได้ ดูตามคู่มือเลย เช่น SKF ,ABB เป็นต้น ลืมไป อัดแบบจาระบีเก่าปลิ้นออกให้ได้กับรอบความเร็วต่ำกว่า60 รอบ/นาที และที่สำคัญการเลือกจาระบี ต้องเลือกให้ถูกชนิด ไม่ต้องยึดยี่ห้อก็ได้ ดูส่วนประกอบ เป็นหลัก และขอMSDS กับผู้ขายมาอ่านศึกษาด้วยนะครับ ทำงานไป5 ปี 10 ปี เดี๋ยวจะเป็นมะเร็งผิวหนังไป อย่าชะล่าใจนะครับ ว่าไม่เป้นไร |
21/04/2557 18:30 น. |
แบริ่งมอเตอร์ที่ต่อกับพลูเลย์ไหม้ สาเหตุมาจากอะไรครับพี่ เราควรแก้ไขยังไงครับ และพี่มีวิธีป้องกันแบบไหนครับ ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ |
08/05/2562 16:53 น. |
ในกรณีมอเตอร์มีควันออกมีกลิ่นไหม้ใช้งานต่ออีกได้ไหมครับ |