19/05/2555 12:19 น. |
ขอให้ความเห็นส่วนตัวอย่างนี้ครับ ถ้าเป็นทฤษฏีก็คงไม่รู้เยอะไปกว่าในคู่มือนะครับ เพราะอ่านจากเล่มเดียวกัน จากความเข้าใจของผมที่ได้จากการอ่านสรุปได้ว่า 1. เสริทเทสจะเปรียบเทียบ ค่าอินดักแตนซ์หรืออิมพีแดนซ์ของขดลวด 2 ชุดในขณะที่มีการวัด ความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่บอกถึงความผิดปกติ ที่อาจจะเกิดขึ้นที่ขดลวดใดขดลวดหนึ่งขณะวัด เป็นแต่เพียงบอกว่าขดลวด 2 ขดนี้มีค่าอินดักแตนซ์หรืออิมพีแดนซ์ที่แตกต่างกัน ความเสียหายหรือความผิดปกติของขดลวด เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งและ่ส่วนใหญ่ที่จะทำให้ค่าอิมพีแดนซ์ของขดลวดทั้งสองในขณะทดสอบไม่เท่ากัน 2. นอกจากค่าอิมพีแดนซ์ที่แตกต่างแล้ว เสริทเทสยังนำหลักการที่ว่า หากฉนวของขดลวดมีสภาวะอ่อนแอหรือไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดการเบรคดาวน์หรือลัดวงจรชั่วขณะ ในเวลาที่มีเกิดแรงดันตกคร่อมขดลวดมากกว่าแรงดันปกติ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความแตกต่างของอิมพีแดนซ์ และแสดงผลให้เห็นความแตกต่างด้านรูปร่างขณะลัดวงจร (Fickering ) ถ้าเป็นประสบการณ์จากการใช้งาน ในส่วนตัวก็ใช้เสริทเทสมานาน ตั้งแต่ยังไม่นิยมแพรหลาย (ตั้งแต่ปี 1991 ) ถึงแม้จะไม่ไ้ด้ใช้โดยตรง ส่วนมากจะใช้การทดสอบขณะมีโรเตอร์ประกอบอยู่ด้วย และใช้การหมุนโรเตอร์ร่วมด้วย ถ้าเห็นว่าภาพที่แสดงออกมาไม่ทับกันสนิทพอดี ประกอบกับถ้าขดลวดมีปัญหาเรื่องฉนวน กราฟของขดลวดที่เสียหาย มักจะสั่นหรือแสดงค่าที่ไม่แน่นอนออกมาให้เห็น หากมีกรณีที่ต้องมีกาีรวิเคราะห์ปัญหาที่ขดลวดมีโอกาสเสี่ยงที่เป็นต้นเหตุด้วย ก็จะนำเอามาเสริทดูอีกครั้งหลังจากที่ถอดโรเตอร์ออกแล้ว (กรณีพิเศษ ) อย่างกับที่บอกไปแล้วในกระทู้ก่อนหน้านี้ ว่าเนื่องจากรูปแบบขั้นตอนการทำงานของโรงซ่อมที่ผมทำงายอยู่ จะมีการตรวจสอบ เทสรันขาเข้าก่อนการถอดรื้อ ทำให้ต้องมีการตรวจสภาพขดลวดก่อน ซึ่งจะมีน้อยมากที่จะเอามาทดสอบซ้ำ และอย่างกับที่เขียนไปแล้วเช่นกัน ที่ผมเข้าใจไปเองว่าการมีโรเตอร์ประกอบอยู่ทำให้อิมพีแดนซ์ของมอเตอร์มีค่ามากกว่าตอนไม่มีโรเตอร์ ทำให้เข้าใจทีแรกว่า เสริทเทสเครื่องเดียวกัน ถ้าเซตแรงดันจ่ายมอเตอร์เท่ากัน เทสมอเตอร์ขณะมอเตอร์มีโรเตอร์อยู่ จะสามารถเทสมอเตอร์ได้มีขนาดที่ใหญ่กว่า ขณะไม่มีโรเตอร์อยู่ ซึ่งในความถูกต้อง มันตรงกันข้าม ซึ่งผมมาพิจารณาจากการอ่านดูคู่มืออีกที อาจจะสรุปได้ว่าที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเข้าใจเดิมของผม สอดคล้องกับที่ว่า เสริทเป็นแหล่งจ่ายโวลเตท ในขณะที่ความจริง เสริทเป็นแหล่งจ่ายกระแส (ไม่รู้เข้าใจถูกหรือไม่ ) ยินดีแชร์ความรู้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลครับ ผิด ถูกอย่างไร เชิญวิจารณ์ได้ครับ |
20/05/2555 23:00 น. |
ผมขออธิบายตามความเข้าใจของผม ผิดถูกอย่างไร ให้คำชี้แนะนะครับ จากรูปข้างบนจะเห็นว่า เสริทเทสจะมีอุปกรณ์อยู่ 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. แหล่งจ่ายไฟดีซี 2. คาปาซิเตอร์ที่ใช้ในการประจุไฟ 3. SCR คืออุปกรณ์สวิทตัิดต่อ การทำงานจะเริ่มจากการปรับแรงดันดีซี เพื่อเพิ่มแรงดันจ่ายให้กับขดลวด ในสภาวะเริ่มต้น สวิทตัดต่อยังไม่ทำงานทำให้มีกระแสไหล ผ่าน คาปาซิเตอร์ทั้งสองตัว ต่อไปยังขดลวดที่ใช้ในการทดสอบ ในสภาวะนี้ คาปาซิเตอร์จะชาร์ทประจุ และขดลวดมีแรงดันตกคร่อมเนื่องจากมีกระแสไหลผ่าน ค่าแรงดันที่ตกคร่อมนีจะถูกตรวจจับด้วย อุปกรณ์วัดรูปร่างสัญญาน ทำให้สัญญานในสภาวะนี้เกือบเป็นเส้นตรง ต่อมาในขณะที่ สวิทตัดต่อทำงาน กระแสจากแหล่งจ่ายจะไหลผ่านสวิทช์ตัดต่อแทนคาปาซิเตอร์ ทำให้แรงดันตกคร่อมคาปาลดลง คาปาจะดิสชาร์ทประจุที่เก็บไว้ออกมาผ่านสวิทช์ไปครบวงจร ที่ขดลวด ในสภาวะนี้สัญญานที่ได้แรงดันตกคร่อมขดลวดจะเริ่มเปลี่ยนทิศทาง เนื่องจากกระแสไหลเปลี่ยนทิศทาง และต่อเนื่องกันไปเป็นสัญญานทรานเชี่ยน (Ringing ) รูปร่างของสัญญาณจะทับกับสนิทพอดีก็ต่อเมื่อ สัญญาน Ringing มีความถี่เท่ากัน และจากสูตรจะเห็นว่าความถี่ของสัญญาณ Ringing จะขึ้นอยู่กับค่า L หรือ อินดักแตนซ์ของขดลวด โดยที่ ความผิดปกติของขดลวด และอื่นๆ มักจะทำให้ค่า L เปลี่ยนไปหรือไม่เท่ากับขดลวดที่ปกติ หลักการทำงานเบื้องต้นก็คงมีเพียงคร่าวๆเพียงเท่านี้ครับ |
22/05/2555 08:39 น. |
ใช้แทนเลยคงไม่ได้ เพราะไม่มีชุดที่เป็น C discharge ค่าแรงดันให้กับขดลวด ซึ่งต้องทำงานสอดคล้องกับอุปกรณ์สวิทช์ ผมเคยไปเยี่ยมชม โรงซ่อมที่นึง ที่นำเข้าเสริทเทสจากประเทศจีนเข้ามา โครงสร้างของเขาจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนที่สร้างแรงดัน และส่วนที่แสดงผล ( สโคป ) ตามความเห็นของผม จริงๆแล้วเสริทเทสก็เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบ ค่าความเสียหายของขดลวดวิธีหนี่ง ซึ่งยังมีอีกหลายๆวิธี ที่สามารถตรวจสอบได้เหมือนกัน แต่ด้วยความง่ายในการใช้งานทำให้ ช่างส่วนใหญ่(ในสมัยนี้ ) ติดการเสริทเทสเป็นอย่างมาก ไม่มีเสริทเทสแล้วทำงานไม่ได้ ทำให้ไม่สนใจขั้นตอนการตรวจสอบต่างในแต่ละขั้นตอนในการทำงาน ซึ่งถ้าทำตามขั้นตอนนั้นแล้ว เสริทเทสเกือบจะไม่มีความจำเป็น บางครั้งหัวใจแทบวายเมื่อเห็นช่างเข็นรถใส่เสริมเทส ราคาครึ่งล้าน ไปหามอเตอร์ที่รับมาพันใหม่ราคาไม่ถึง 2 พันบาท เพราะว่าหลายๆที่มีเสริทเทสคงเป็นแบบนี้เหมือนกัน |
27/05/2555 09:43 น. |
ตามความเข้าใจผมคือจะมีการ Charge/Discharge คาปาซิเตอร์ที่เกิดขึ้นเร็วมากนะครับ ทำให้ได้สัญญาณลักษณะคล้าย Switching Surge ครับ สาเหตุที่ต้องเป็น Impule คือ เพื่อให้เกิดความต่างศักย์ที่สูงมากๆระหว่าง Turn to Turn ครับ นึกภาพ เหมือนมีคลื่นแรงดันสูงวิ่งไปบนขดลวดครับ (Travelling Wave) ถ้าเจอฉนวนอ่อนแอ ก็จะทำลาย คือ เกิด Dielectric Breakdown ขดลวดช้อตถึงกัน ทำให้ค่า L เปลี่ยนครับ การ Charge/Discharge จะทำอย่างต่อเนื่อง เป็นคาบๆ และ สัญญาณที่ได้จากการวัดคล่อมขดลวด มีการ Oscisllate ไม่ใช่แบบ Switching Surge (ขึ้นลง) อันนี้เป็นผลมาจากค่า RL ครับ ลองนึกถึงวงจร RLC ที่เราเคยเรียนใน Circuit ครับ ส่วนความถี่ในการ Oscillate คือ 1/2*pi*sqrt (LC) ครับ ถ้าเกิด Turn-to-Turn Fault ค่า L จะลดครับ ทำให้ความถี่เพิ่มขึ้น รูปกราฟจะขยับไปทางซ้ายของขดลวดปกติครับ |
07/06/2555 09:40 น. |
พอดี supplier จากอินเดียที่ขาย Surge Test บอกว่าจะมีการจัดอบรมให้เร็วๆนี้ ผมเองเีคยคุยกับเขาแล้วช่วงสั้นๆ ก็ OK มีความรู้เยอะดี อย่างไรแล้วถ้าเขาจัดอบรมแบบไม่ใช่ Exclusive (เจาะจงเฉพาะบางโรงซ่อม )ผมจะให้คนจัดติดต่อเจ้าของกระทู้ไปครับ |
17/10/2557 19:09 น. |
ในส่วนของผม รับ สอบเทียบ( calibration) Surge Comparison tester ภายใต้ ISO/IEC 17025 นะครับ ยินดีบริการ ครับ 086-1112591 |