16/05/2555 15:11 น. |
ดังนั้นเมื่อกำหนดตัวเลขไปแล้ว ถ้ามันรอดปลอดภัย ก็ถือว่าเสมอตัว ถ้าไม่ใช่ก็ต้องไปอธิบายยาวครับ ผมมีประสบการณ์ด้านนี้น้อยมากครับ ขอบคุณครับ |
16/05/2555 15:23 น. |
|
17/05/2555 07:24 น. |
ดูยากจังคับ ดูเป็นคณิตศาสตร์มาก ลองเอาไปใช้จิงยังคับ ใช้แล้วดีมั้ยคับ |
17/05/2555 10:34 น. |
เรียน เพื่อนสมาชิก Elec_Prew เอามาใช้งานจริงแล้วครับ ผมนี่พูดแบบตรงๆเลยล้มไม่เป็นท่า พยายามไปอบรมมาหลายๆที่ หลายๆวิทยากร เวลามาใช้งานจริงมันการันตรีไม่ได้ครับ เช่นผมคำนวณมาสามารถการรันตรีอายุการใช้งานอยุ่ที่1ปี ผมลดลงครึ่งเลย เหลือ 6 เดือน ปรากฎว่าในระหว่างนั้นมีแจ้งซ่อมเข้ามา มีเบรคดาวน์ด้วย ไม่ใช่แล้ว เลยมีเพื่อนร่วมงานมาแซวผมว่านั่งเทียนหรือเปล่า พอดีสนิทกันเลยบอกกลับไปว่าเดี่ยวก้อนั่งยางซะนี่ ครับอาจจะเป็นที่สภาพการใช้งานหรือต่างพื้นที่หรือเปล่า และที่สำคัญคนนี่แหละครับแก้ยากสุดแล้ว มีแบริ่งทนความร้อนวิ่งที่รอบบต่ำใช้ในตู้ฮอทแอร์คอนเวเยอร์ เครื่องเยอรมันครับ แบริ่งผลิตในสวีเดน ในเมนวลเขียนไว้ free maintenance เปลี่ยนที่ 18 เดือน เอากับเขาสิช่วงสงกรานต์ลองถอดตรวจสอบ มันการันตรีแบริ่งได้จริง แต่เพลาแบริ่งนี่คอดเลยครับพี่ จึงไปนำเหล็ก SNCM439 มากลึงใช้ชั่วคราวไปก่อน ในเชิงลึกที่ผมเข้าไม่ถึงข้อมุลการวิเคราะห์นั้น ผมเคยเห็นตัวเลขการการันตรีของลูกค้าบ้าง เลยคิดว่าเขาคำนวณอย่างไร เวลาไปอบรมก็เช่นกัน มันเป็นฟังก์ชั่นคณิตศาสตร์ครับ นี่ผมก้อเอาตำราที่อบรมนานั่งเปิดดู แต่ก้อตอบโจทย์ไม่ได้ ในเชิงการค้าการผลิต เครื่องจักรไม่เสียหาย ไม่ค่อยมีใครมายุ่งครับ เอาผลผลิตอย่างเดียว พอเครื่องมีปัญหาทีนี้แหละรุมทึ้งกันเลย ผมเลยใช้วิธีการPREDICTIVE MAINTENANCE ใช้เครื่องมือวัดค่าเอาครับ แล้วดูกราฟดูแนวโน้ม แล้วก็โมเมไปในเรื่องของการเชื่อมั่น มีคำตอบอยู่ในใจแล้วครับว่าอายุการใช้งานชัวว์ๆ 1 ปี ผมก็ย้อนกลับหาทฤษฎีเพื่อทำรีพอร์ทส่งหัวหน้า ผมใช้วิธีการนี้แหละครับคุณ Elec_Prew ค่อยมีเวลาได้หายใจหายคอบ้าง แต่ถ้ามองในมิติของช่างผมก็ทำลิงหลอกเจ้าอ่ะนะ เพราะงานไม่ได้มีแค่จุดนี้งัยครับ หากคุณ Elec_Prewมีแทคติคอื่นๆแนะนำผมบ้างนะครับ (ความคิดเห็นส่วนตัวนะ เล่น เราเกินคุ้มเชียว) Khun Elec_Prew อันนี้เรื่องโจ๊กนะครับ ผมคิดเล่นๆว่า เราเรียนแคลคุลัส กันมาใช้ทำอะไร ในฟังก์ชั่นที่ว่า dc/dt = 0 when c =constant ดิฟค่าคงที่เทียบกับเวลาเท่ากับศุนย์ ถ้าให้ t = เวลา 30 วัน ให้ c เป็นค่าคง คือเงินเดือน ดังนั้นดิฟเงินเดือนเทียบกับเวลาก้อเท่ากับศูนย์ จึงสรุปได้ว่า ขยันมากขยันน้อยเงินเดือนเท่าเดิมครับ |
02/06/2555 00:55 น. |
เคยใช้ Weibull Analysis กับ RAM Analyis มั้ยคับ น่าจะได้ผลกว่านะ |
02/06/2555 14:43 น. |
ขอบคุณครับ คุณพี่ ผมใช้ทั้ง2แบบแล้วนะครับ รวมทั้งหลากหลายวิธีที่เหล่าอาจารย์สอนผมในปัจจุบัน ผมยังพึ่งพาท่านอยู่เลย เจออาจารย์ท่านหนึ่งเมื่อปีที่แล้วเขียนผลวิจัยส่งIEEE แกถนัดฟังก์ชั่นคณิตศาสตร์มาก เมื่ออาทิตย์ที่แล้วไปพบอาจารย์อีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนศิษย์ไปหลายรุ่น แต่ที่ผมสนใจคือการก้าวไปข้างหน้าและวิธีการคิด เช่น อย่าคิดในแบบที่คนอื่นคิด อย่าคิดว่าจะเก่งเท่ารุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ 20 ปี เพราะรออีก20ปีจะไหวหรือ และที่ผมสนใจมากคือความรู้ที่แท้จริง ไม่ใช่ถ่ายทอดกันมา ที่ผมชื่นชอบแก คือ การเป้นที่ปรึกษาให้ไทยออย ปตท หลังจากถ่ายทอดเสร็จ วันรุ่งขึ้นแกบินไปสเปนต่อ มันเป้นแรงบันดาลใจ ให้ก้าวเดินครับพี่ ทั้งงานบริษัท งานของตนเอง งานของพลพรรคยังหาจุดเปลี่ยนที่แท้จริงไม่ได้ ผมจึงมานั่งทบทวนใหม่ว่าวิศวกรรมความเชื่อมั่นเหมาะสำหรับการผลิตเพื่อการค้า คิดไปเองนะ งานที่หากินในงานอุตสาหกรรมไม่ยากคืองานพรีดิก เช่นไปวัดแรงสั่นสะเทือน ไปเทอร์โมสแกน ครับ ขอบคุณที่ท่านยังกลับมาตอบเพราะกระทู้นานแล้ว |
02/06/2555 16:21 น. |
ทุกวันนี้ผมก็ใช้ RAM Analysis กับข้อมูลจาก OREDA อยู่นะคับ เพราะจำเป็นต้องใช้ในการวางแผนเวลาขึ้น Project ใหม่ๆ ก็ใช้ได้ผลดีนะคับ ส่วนเรื่อง Reliability Engineering ผมยังไม่ค่อยเจออาจารย์เก่งๆนะคับ ไม่แน่ใจว่าท่านใช้ Software ของที่ไหนในการทำ RAM ครับ ผมใช้ BlockSim กับ MAROS มีอีกเรื่องคือ ไม่แน่ใจว่าท่านเคยทำ RCM มั้ย ถ้าเคยช่วยแนะนำผมหน่อยคับ |
05/06/2555 06:55 น. |
ท่าน acilis ที่บอกว่าใช้ Weibull ท่านเอาไปใช้กับ Application อะไรคับรบกวนถ้ามีตัวอย่างที่ทำจิงขอรบกวนได้มั้ย |
05/06/2555 11:36 น. |
เรียน ท่านElec_Prew เรื่อง RCM ผมไม่ค่อยรู้เรื่องครับ อันนี้ตอบตรงๆ ผมเหมือนลูก***ที่เพิ่งคลอด เดินต้วมเตี้ยมในทุ่งหญ้าที่มีหมู่สิงโตจำนวนมาก โอกาสรอด1ในล้าน ผมเปรียบเทียบนะครับ RCM ที่ผมทำ อันนี้เล่าให้ฟังนะครับ คำนวณเหมือน reliability ทั่วๆไปครับ ผมจะไปเจาะเรื่องน้ำมันหล่อลื่น จาระบี การเสียสภาพแล้วเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ บางทีบอกจัดซื้อซื้อน้ำมันหรือจาระบียี่ห้อนี้ เกิดประเด็นเรื่องแย่ๆ ทำไมต้องยี่ห้อนี้ อันนี้เขาใช้มาตั้งแต่คุณยังไม่เข้างาน ก็ไม่มีปัญหา(คิดในแง่ลบ มันมีอะไรกับเจ้านี้หรือเปล่า) และไปเจอเจ้าของมีหุ้นน้ำมันบริษัทนี้ ทำงานยากพี่ น่าเบื่อ อธิบายไม่ฟังหรอกครับ ทฤษฎีคำนวณไปก็เป็นกระดาษรียูท “ค่าของคนอยู่ที่คนของใครจริงๆ” สู้ทำเองไม่ดีกว่าหรือพี่ วุ่นวายกับหลายๆเรื่อง แต่ปัจจัยก็เป็นของเรา มีอีกวิชาที่น่าศึกษา วิชา TRIBOLOGY แต่เรื่องเหล่านี้ผมเพลาๆ ไปเยอะ เหลือแต่วิชาการตลาดที่ผมมองว่ามันเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีทีเดียว อาจาย์ที่ผมจะแนะนำคือ อาจารย์ที่สอนคิงส์มงกุฎท่านหนึ่ง จบป.ตรีจากทางใต้ จบโทจากจุฬา จบเอกจากเวลส์(อังกฤษ) ท่านนี้เก่งมากในเรื่องเหล่านี้ อีกท่านหนึ่งแกถนัดเรื่องวิจัยมากกว่าหน้างาน งานวิจัยแกมักทำร่วมกับการไฟฟ้า |
05/06/2555 11:40 น. |
ลืมเล่าให้ฟังอีกอัน ผมใช้มาตรฐานDIN50320 อ้างอิง เรื่องการยึดติด ขูดขีด การล้าตัวที่ผิวและการเกิดปฏิกิริยาไทรโบเคมีคอล เอกสารอ้างอิงมักใช้ SKF และ ABB เป็นหลักครับ |
30/07/2556 11:42 น. |
ถ้าจะทำ RCM หรือ RAM ติดต่อ SKF ได้เลยครับ มีทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะครับ |