12/05/2555 14:55 น. |
ใครเคยทำ Surge Test โดยไม่ชัก Rotor ออกบ้างครับ ให้ผลถูกต้องมั้ยครับ เข้าใจนะครับ ว่าการทำ Surge Test คือการยิง Voltage Gradient ลักษณะเหมือน Surge Voltage ที่แรงดันสูงๆเข้าไปในขดลวดของมอเตอร์ เนื่องจากลักษณะที่เป็น Inductance ของขดลวดมอเตอร์ และ Capacitance ของฉนวน ทำให้ได้สัญญาณที่กลับมาเป็นแบบ Attenuated Oscillation หากมี Weak Point แรงดันสูงจาก Surge ก็จะไปทำลายความเป็นฉนวน และ ทำให้เกิดรูปคลื่นที่ผิดเพี้ยนไปทั้งขนาดและความถี่ แต่ความเข้าใจส่วนตัวผมคือ Surge Test ส่วนใหญ่จะทำในโรงซ่อม ในตอนที่มีการชัก Rotor ออกแล้ว เพราะการที่มี Rotor อยู่อาจส่งผลต่อค่า Inductance ของขดลวด ไม่ทราบว่าท่านใดเคยทำ Surge Test ในขณะที่มอเตอร์ยังไม่ได้รื้อบ้างครับ ได้ผลเป็นงัยช่วย Share ด้วยครับ |
12/05/2555 19:58 น. |
คุณElec_Prew ผมขออนุญาติแสดงความเห็นครับ เคยทำครับ เมื่อปี 2553 iduction motor 350 kw โดยพยากรณ์ว่าจะสามารถยืนระยะได้ถึงสงกรานต์หรือไม่ โดยเสริ์จเทสเป็นวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ ไม่ถอดโรเตอร์ออกนะครับ ปรากฎว่ามีกราฟ2ชุดเส้นซ้อนกัน แต่ไม่สามารถการรันตรีได้ จึงเปลี่ยนไปใช้การวัด 2line fruqency และนำกราฟมาวิเคราะห์จากนั้นพล็อตกราฟแนวโน้มการเบรคดาวน์และลดระยะเวลาความน่าเชื่อถือลงครึ่งนึง ปรากฎว่าสามารถให้ได้จนถึงช่วงโอเวอร์ฮอร์ลสงกรานต์ ok ถ้าถอดไป shop จะวัดอย่างไรก็ได้ แต่ปัจุบันนั้น ทางบริษัทมีนโยบาย ต้องทำPREDICTIVE AND TPM ดังนั้นการวิเคราะห์จึงเพิ่มขึ้นมาก และมีทฤษีมารองรับ จึงต้องมีการเก็บข้อมูลไว้อย่างน้อย3ปี บางที่อาจมากหรือน้อย ตามระบบISO/TS16949 บางทีลูกค้าขอดูการวิเคราะห์แบบFTA FAULT TREE ANALYSIS อันนี้ก็ต้องจัดให้เขาไป ที่ผมเคยทำงานเป็นแบบนี้ครับ ผิดหรือถูก มันคือการแสดงความคิดเห็นนะครับ |
14/05/2555 14:46 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ เป็นที่ทราบกันว่า โรเตอร์ส่งผลต่อค่าอินดักแตนซ์ หรืออิมพีแดนซ์ของขดสเตเตอร์ ฉะนั้นโดยปกติจะทดสอบขณะที่มีโรเตอร์ประกอบอยู่ด้วยครับ มิฉะนั้น ถ้าเป็นมอเตอร์ตัวใหญ่ จะต้องใช้ Surge ที่มีขนาดใหญ่มาก ถึงจะทำให้มีแรงดันเอาว์พุทเท่ากับค่าที่เราต้องการได้ แต่ในการเสริทขณะมีโรเตอร์์อยู่ ก็ต้องระวังเรื่องอิทธิพลของบาร์โรเตอร์ที่กระทำต่อขดลวดสเตเตอร์ด้วย โดยเฉพาะมอเตอร์รอบเร็ว ที่มีบาร์โรเตอร์ห่างกัน ต้องมีการหมุนหรือจูนบาร์ให้ได้สมมาตรกันกับขดลวดสเตเตอร์ในขณะทดสอบ ไม่เช่นฉะนั้นเราอาจจะสรุปได้ว่าขดลวดมีปัญหา ถ้าถามว่าอินดักแตนซ์หรืออิมพีแดนซ์ที่เปลี่ยนแปลงที่มีผลมาจากโรเตอร์ ทำให้เรามีโอกาสสรุปผิดได้หรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่ เนื่องจากค่าจะต่างกันมาก และความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่ขดลวดเมื่อเสริทแล้ว ปรับหรือจุนโรเตอร์อย่างไร ก็ไม่สามารถทำให้กราฟ 2 เส้นทับกันสนิทได้ สรุป โดยทั่วไปโรงซ่อมจะเสริททั้งตัวก่อน และเมื่อตรวจพบว่าการเสริทเทสไม่ผ่าน ถึงจะมีการเสริทเทส ในขั้นตอนการถอดรื้อแล้วอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาสาเหตุ และตัดประเด็นเรืองขดลวด |
15/05/2555 19:45 น. |
ท่านช่าง : 1) ลองดู Link นะครับ http://www.skf.com/files/692660.pdf คือ มันจะทำให้ค่าเพี้ยนจริงครับ ทำให้ต้องปรับ Test ค่าที่ยอมรับได้มากขึ้น 2)ผมลองโทรไปสอบถามโรงซ่อมที่ MARC (ขออภัยที่ต้องอ้างอิง) ทางโรงซ่อมแจ้งว่าทำตอนที่ชัก Rotor ออกแล้วครับ 3)ส่วนเรื่องแรงดันการทดสอบผมว่าไม่น่าเกี่ยวนะ เพราะแรงดันทดสอบคือ 2*Nameplate Volateg + 1 kV สำหรับ New Winding และ ลดเหลือ 75% สำหรับ Used Winding ผมว่าไม่น่าเกี่ยวกับขักหรือไม่ชัก Rotor นะ และ การสร้างแรงดันสูง DC ที่เป็น Surge ไม่น่ายากเหมือน AC ท่านอื่นที่มีประสบการณ์ ทำ Surge Test ที่ Site รบกวน Share ด้วยครับ |
16/05/2555 09:40 น. |
โอว!!!!! ขอขอบคุณ คุณElec_Prew เป็นอย่างมากครับ ที่เข้ามาทักถ้วง ทำให้ผมต้องกลับไปอ่านคู่มือ Surge Test ใหม่ ซึ่งสิ่งที่พบมีบางอย่างที่ผมเข้าใจผิด และพอจะสรุปได้ดังนี้ 1. เสริทเทสสามารถทดสอบในขณะที่มีโรเตอร์ ประกอบอยู่ด้วย แต่ต้องระวัง เรื่องของ Rotor Coupling Effect.เหมือนกับที่ผมพูดในตอนแรก 2. การเสริทเทสที่ไม่มีโรเตอร์อยู่ด้วย แน่นอนว่าดีกว่า เนื่องจากตัดปัญหาเรื่องของ Rotor Coupling Effect และที่ผมได้บอกไปว่า ในโรงซ่อมบางแห่งจะใช้เป็นวิธีการทดสอบขั้นที่สอง ถ้าขั้นตอนในการทดสอบขั้นที่ 1 ไม่ผ่าน 3. การที่มีโรเตอร์หรือไม่มีโรเตอร์ มีผลต่อเอาว์พุทโวทเตส ตามคู่มือระบุ ตรงนี้ผมเข้าใจถูกต้องแต่ตรงกันข้ามเรื่องรูปแบบ ซึ่งคู่มือบอกว่า การที่มีโรเตอร์ประกอบอยู่ด้วยจะทำให้แรงดันเอาว์พุท ดรอบลง เนื่องจาก Transformer Effect. 4. การเสริทเทสยังไม่เพียงแต่ทำได้ในขณะที่โรเตอร์ประกอบอยู่ แต่ยังสามารถทดสอบได้ในขณะมอเตอร์มีสายเพาว์เวอร์ต่ออยู่ด้วย ( รายละเอียดดูในคู่มือ ) ข้างบนเป็นข้อมูลที่ผมอ่านได้จากคู่มือ ส่วนการนำมาใช้งาน อาจจะมีการนำมา Apply ที่ไม่เหมือนกันในแต่ละที่ ยกตัวอย่างเช่น ในการซ่อมมอเตอร์ ขั้นตอนการซ่อมมอเตอร์ของโรงซ่อมขนาดกลางและขนาดใหญ่ จะมีขั้นตอนคล้ายกันมาก ต่างกันตรงการตรวจสอบขาเข้า บางโรงซ่อมจะเซทเป็น Routien Process เลยที่จะต้องมีการทดสอบค่าคุณสมบัติของขดลวดทุกตัว ก่อนการถอดรื้อ ถ้าค่าที่ไ้ด้อยู่ในเกรณฑ์ปกติ ก็จะมีการทดสอบจ่ายไฟเข้าไปในตัวมอเตอร์เพื่อทดสอบด้าน Dynamic และการทดสอบคุณสมบัติขดลวดในขั้นตอนนี้ก็มีจะมีการ เสริทเทสรวมอยู่ด้วย ประกอบกับ เสริทเทสยังเป็นเครื่องมือทดสอบในขั้นตอนตรวจสอบคุณสมบัติขดลวดหลังการซ่อม หรือโอเวอร์ฮอล ซึ่งจะทำการทดสอบหลังการประกอบเป็นตัว เพื่อเป็นการยืนยันก่อนการจ่ายไฟในการทดสอบ Final Test ในบางโรงซ่อม จะไม่มีการทดสอบ Test Run ในการทดสอบขาเข้า (ถ้าไม่มีการระบุเป็นพิเศษ)เมื่อมอเตอร์มาถึง หลังจากลงทะเบียนก็จะยกไปถอดรื้อเลย แล้วจึงค่อยยกแต่สเตเตอร์ไปที่หน่วยงานทดสอบ ก็จะได้การเสริทเทสในสภาวะไม่มีโรเตอร์อยู่ด้วย และได้ค่าความเป็นฉนวนที่ไม่มีโรเตอร์อยู่ด้วย ถ้าใครเคยสังเกตุให้ดีก็จะเห็นว่า ขนาดค่าเมกเกอร์ของมอเตอร์ประกอบเป็นตัว เทียบกับค่าที่วัดเฉพาะสเตเตอร์ ก็ยังมีค่าต่างกัน (แล้วเราควรที่จะเอาค่าไหนมาพิจารณาดี ) เป็นความเห็นที่ได้จากประสบการ์ณ และการกลับไปอ่านคู่มือ ท่านใดคิดต่างหรือเห็นเป็นอย่างอื่นยินดีรับคำวิจาร์ณครับ และดีใจมากท่าน Elec_Prew เขามาแสดงความคิดเห็นต่างเชิงสร้างสรรค์ เพราะเป็นสิ่งที่ผมอยากให้เกิดกับการเข้ามาอยู่และตอบคำถามในเวปบอร์ดนี้ ข้างล่างเป็นลิงค์คู่มือการใช้เสริทเทสครับ http://www.skf.com/files/883918.pdf |