11/05/2555 21:30 น. |
อย่างไรก็ตามการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน IGBT น่าจะทันสมัยสุด(ผมเข้าใจผิดไปหรือยัง)และDTC ก็น่าจะทันสมัยสุด มียี่ห้อไหนมี 48 pluse หรือยังครับ v/f ที่ความถี่ต่ำๆ มอเตอร์ออกตัวไม่ได้ แต่dtc ที่มีโหลด สามารถออกตัวได้ ขอเพื่อนๆเข้ามาแลกเปลี่ยนหน่อยนะครับ |
11/05/2555 21:51 น. |
ทีนี้ว่า เมื่อนำไฟ 3 เฟส 380 v 50 Hz มาเรคติฟายน์ จะได้แรงดัน ของแกน d กับแกน q เท่ากับ สแควรูท2Udc = 537 vdc จากนั้นจะเข้าภาคส่วนการทริกซ์ของIGBT ควบคุมความเร็วมอเตอร์แล้วครับ |
12/05/2555 16:22 น. |
ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยครับ ช่วยแนะนำ หรือ อธิบายหน่อยได้มั้ยครับ ว่ามันทำงานอย่างไร แกน d แกน q นี่มันคืออะไรครับ แล้ว Direct Torque Control มันเหมือนหรือต่างจาก Sensorless Flux Vector Control อย่างไรครับ |
12/05/2555 20:11 น. |
จะมาแกล้งกันทำไมครับ มาแลกเปลี่ยนกันดีกว่า ผมมาเข้าบอร์ดนี้เพื่อมาตามหาเพื่อนๆที่กำลังทำงานเกี่ยวกับวิศวกรรมความน่าเชื่อถือ ที่อีก2ปีข้างหน้าเขาอาจจะบรรจุลงในระบบคุณภาพ ผมก้อไม่ได้มีเวลามาโต้เถียงหรอกครับ รู้ก้อแนะนำกันสิครับ เพราะว่าวิศวกรไฟฟ้าทำงานด้วยกัน12คนจาก8มหาลัย ก้วิเคราะห์ต่างๆกัน ถามรุ่นพี่ แกก้อตำหนิผมว่าไม่พัฒนา ผมจึงเข้ามาสมัครในเวปนี้ เมื่อผมทำโปรเจคเหล่านี้เสร็จ ผมก้อบายแล้ว ทำงานมาตั้งนาน เอาอัตราเงินเดือนที่ขึ้นมาหารเห้นแล้วตกใจ สรุปว่าหาจุดเปลี่ยนดีกว่า อย่ามาล้อเล่นน่า แกนd กับ q มันคือไฟ dc bus งัย มันไปสวิทช์ชิ่ง 8 สเต็ป แต่มี 6 สถานะ ส่วนอันล่างที่ถาม มันต่างกันแน่นอน ก้อไล่ตั้งแต่ v/F vector control DTC |
12/05/2555 23:40 น. |
คือผมเองก็ไม่เข้าใจว่า แกน d กับ q เกี่ยวกับ dc bus อย่างไร ช่วยอธิบายให้กระจ่างหน่อยครับ ผมเคยทำงานเกี่ยวกับอินเวอเตอร์โดยตรง (ยี่ห้อที่มี DTC) สวิทช์ชิ่ง 8 สเต็ป แต่มี 6 สถานะ นี่เข้าใจได้ (2 สเต็ป ที่หายไป คือ V(000)) ตามความเข้าใจของผม แกน d กับ q จะเกี่ยวการควบคุมแบบ vector control หรือ sensorless vector เท่านั้น ส่วนการควบคุมแบบ DTC ในส่วนของ motor control software ไม่ parameter ที่เกี่ยวข้องกับแกน d และ q เลย แต่จะเป็นเรื่องของ flux และ torque เท่านั้น บอกเป็นนัยๆว่า vector control กับ DTC ใช้หลักการการควบคุมคล้ายๆกัน ต่างกันที่ DTC เป็นการควบคุม AC motor ที่ให้ผลตอบสนองใกล้เคียงกับการควบคุม DC motor มากกว่าวิธีอื่นๆ แต่ต้องเข้าใจว่าไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย อยากให้คุณ acilis เปิดใจนิดหนึ่งว่า คนเรามีต้นทุนความรู้ไม่เท่ากัน เราอาจจะไม่รู้ในสิ่งที่คนอื่นเค้ารู้กันดีก็ได้ และก็เป็นไปได้ในทางกลับกัน ยินดีครับที่จะร่วมแชร์ความรู้ |
13/05/2555 01:49 น. |
ขอบพระคุณครับ คุณพี่ ผมขออภัยหากคำเขียนมีนัยะกระทบกระเทือนสัมพันธภาพพวกเราเหล่าสมาชิก เพราะบางทีผมอาจจะหลุดไป เพราะถูกกดดันเรื่องงานมาเล็กน้อย ผมเป้นมนุษย์เงินเดือนครับพี่ ครับพี่ ไม่มีใครรู้หมดทุกอย่าง บางอย่างเราไม่รุ้ คนอื่นรู้ ผมคงจบเรื่องไดร์ฟไว้เท่านี้ เพราะว่าไดร์ฟเป็นจุด1ในไลน์การผลิตทั้งหมด ผมหาข้อมูลมาได้ว่าอุปกรณืแต่ละตัวมีอายุการใช้งานที่เท่าไร และดูจากคู่มือผู้ผลิต จากนั้นจึงมากำหนดแผน ปรากฎว่าเครื่องก็ยังเสีย ในห้วงเวลาที่จำกัด ผมเลยเซ็งครับพี่ ออกไปขายก่วยเตี่ยวดีกว่า เรื่องทำก่วยเตี่ยวผมไม่มีความรู้เลย กินอย่างเดียว ครับพี่ dc bus มันไปอยู่ภาคpower ตามที่พี่เข้าใจครับ ผมไม่สามารถสรุปได้ว่าขาcap มันหลุดร่อนได้อย่างไร มันร้อน เครื่องมันสั่น หรืออะไร ปัญหาการสวิทชืชิ่งก็เกิด ทีนี้ก้้เข้าทางเลยครับ ตรวจเช้คไม่เจอหรืองัย ก่อนเกิดมันต้องมีอาการ ขอเอกสารย้อนหลัง ไหนว่าการันตีว่าแคปมีอายุ5ปีเปลี่ยนงัย ใครทำอะไร ทีไหน อย่างไร เมื่อไร มาเป้นตับเหมือนกับปืนกล จนท้อใจเลยพี่ ตอนนี้เรื่องpredictive เจ้าอินเวอร์เตอร์ผมมต้องกับมาทบทวนว่ามันใช่หรือเปล่า และผมก้หวังใจเป้นอย่างยิ่งว่าจะผลักดันเจ้าเรื่องเหล่านี้ให้กับพนักงานในไลน์การผลิตช่วยตรวจสอบในหัวข้อการซ่อมบำรุงด้วยตนเอง ตามเสาหลักที่3ของtpm ผมขอขอบคุณทุกท่านมากครับ ที่แบ่งปันแนะนำเพื่อนร่วมอาชีพ ผมขอไปพักสักระยะ เพื่อไปทบทวนตนเองว่าจะเอายังไงต่อ |
13/05/2555 11:50 น. |
ผมไม่รู้จิงๆ สำหรับ Inverter ผมใช้งานแบบ V/F Control เป็นหลักครับ แต่แกน d แกน q ผมเคยอ่านผ่านๆ ว่ามันน่าจะเกี่ยวกับ Flux Vector Contol เพื่อให้มอเตอร์มีการตอบสนองต่อโหลดได้ดีขึ้น ทั้งในแง่แรงบิด และ ความเร็วรอบ ผมรู้แค่นี้จิงๆครับ พอเห็นคุณ Acilis เอามาโพสก้อสนใจสอบถามครับ เพราะทุกวันนี้ไม่ได้ทำงานด้านนี้แล้ว แต่ก้อยังสนใจอยู่ครับ |
17/03/2556 16:26 น. |
มาแชร์ครับ ประเด็นแรกเรื่องการควบคุม Low voltage AC drive ที่ผมรู้จัก คือ 1.Scalar control ซึ่งใช้หลักการ modulate แรงดันขาออก ที่มีกระบวนการไม่ซับซ้อน บนหลักการ V/F คงที่ คือ Frequency เพิ่ม Voltage output ก็จะเพิ่มด้วย โดยแรงดันยอดที่กระทบมอเตอร์ยังคงเท่าเดิมทุกความถี่ แต่แรงดัน RMS จะเพิ่มขึ้นตามความถี่ โดยปรับ modulation 2.Vector control หรือ Field oriented control (ชื่อในทาง academic ) ระบบนี้ใช้การประมวลผลเป็นแบบ DC ( Direct current) ซึ่งมีข้อดีในหลายๆ ประเด็น มอเตอร์ DC นั้นมีการควบคุมความเร็วที่ง่ายและให้แรงบิดสูงสุดและต่อเนื่องตั้งแต่ย่านความเร็วต่ำจนถึงความเร็วพิกัด การพัฒนาการขับเคลื่อนมอเตอร์ AC จึงพยายามเลียนแบบด้วยการแปลงระบบสามเฟส ABC ให้เป็นระบบ สองแกน D-Q ซึ่งทำให้องค์ประกอบของความเร็วและแรงบิดเป็นอิสระจากการควบคุมกัน ทำให้สามารถควบคุมแรงบิดได้สูงสุดที่ความเร็วต่ำ แต่ vector control นั้นยังมีข้อเสียเรื่องของผลตอบสนองต่อสภาวะโหลดที่ยังช้าอยู่ 3.DTC ( Direct torque control ) ระบบนี้ใช้แนวคิดเดียวกับ vector control เรียกว่าต่อยอดมาก็ว่าได้เพราะใช้การคิดแบบสองแกนเช่นกันแต่ DTC ตัดระบบการ modulation ออกใช้รูปแบบการสวิตซ์ชิ่ง 6 แบบและเก็บบันทึกในลักษณะ switching table ที่มี flux vector เป็น 6 vector ตามที่เจ้าของกระทู้แสดง ซึ่งผลของการตัดขั้นตอนการ modulation ออก แล้วใช้การเลือกรูปแบบการสวิตซ์จากตารางนั้นทำให้ระบบ DTC นั้นมีผลตอบสนองที่ไวกว่า Vector control นี่คือประเด็นแรกครับ สำหรับความแตกต่างของทั้งสามการควบคุม (ที่ผมรู้จัก) |
17/03/2556 16:35 น. |
ประเด็นเรื่องที่สอง เรื่องการรั่วไหล ในโหมดผลร่วม(Common mode )และผลต่าง (Differential mode) ประเด็นของรูปแบบการสวิตชิ่งนั้นจะมีผลในส่วนของกระแสรั่วไหลในโหมดผลร่วม ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยมากกมายที่พัฒนาวิธีการสวิตซ์แบบที่ทำให้เกิดการสมดุลมากขึ้นและส่งผลต่อการลดกระแสรั่วไหลในโหมดผลร่วม แต่จะมีผลต่อเวลาตอบสนอง ส่วนกระแสรั่วไหลในโหมดผลต่างนั้นจะขึ้นอยู่กับ pulse rise time ของ IGBT ซึ่ง VSD สมัยใหม่นั้นใช่ IGBTนั้นให้ dv/dt ที่สูงมากส่งผลให้กระแสรั่วไหลผ่านตัวเก็บประจุแฝงตามสูตร Ic = C * dv/dt |