12/03/2555 00:48 น. |
ผมเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่นะครับ กำลังศึกษาวิชาการออกแบบ ซึ่งตัวผมมีข้อสงสัยอยากจะถามพวกพี่ๆวิศกรครับ ด้วยความสงสัยส่วนตัว(หรืออาจจะเป็นเพราะความที่ไม่เข้าใจเอง) เรื่อง AT AF IC ครับ ผมสงสัยว่าค่า AT คือค่าที่circuit breaker ทำการTrip AF คือค่าที่ circuit breaker สามารถทนกระแสได้สูงสุด คือถ้ามันสูงกว่านี้แล้ว ตัวcircuit breaker เองก็จะเสียหายเลย ผมเข้าใจถูกไหมครับ? อีกคำถามหนึ่งครับ คือผมสงสัยว่า ถ้าผมเข้าใจ AF ถูกแล้ว ผมจะโยงไปถึงค่าIC ซึ่งเป็นค่าที่ circuit breaker สามารถทนกระแสชั่วขณะได้ อย่างเช่น กระแสลัดวงจร ซึ่งมีค่าสูงมาก ระดับ KA (ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ?) ซึ่งค่า IC เมื่อเทียบกับค่า AFมันจะสูงมากเป็นหลายเท่าตัว แล้วทำไมCircuit breaker มันยังไม่พังละครับ? พี่ๆวิศวกรช่วยให้ความรู้ผมหน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ |
23/03/2555 22:36 น. |
AT - Rate current ที่จะใช้กับโหลด AF - ขนาด class ของ CB นั้นๆ กำหนดเป็น กระแสสูงสุดที่สามารถมีใด้ เช่นใช้ AT 100 บน AF 400 ก็สามารถเปลี่ยนขนาด CB ใหม่ เป็น AT 160 บน AF 400 ใด้ แต่ถ้าใช้ AT 100 บน AF 100 เวลาใหลดเพิ่มขึ้น จะเปลี่ยน CB เป็น AT 160 ก็จะต้องทำแผงเบรคเกอร์ใหม่อีก เดินสาย ทำหัวสายใหม่อีก หยุดงาน หยุดเครื่อง ....ยาว ววววว คนออกแบบวงจรดีๆเก่งๆ เขาจึงต้องกำหนด AF รุ่นที่มันมีมากๆให้เลือกใช้ใด้ IC คำนวนจากกระแส Short Circuit ของวงจรนั้นๆ(ขนาดหม้อแปลง-แรงต่ำ???) ถ้าต่อตรงๆเข้ากับเมน หม้อแปลง IC ต้องใช้ค่าสูงๆ(แพง) CB ถึงตัดแล้ว CBไม่พัง ถ้าจะใช้ค่า IC ต่ำๆ ต้องใช้คาตริทฟิวส์แบบเซรามิค ขนาดที่เหมาะสมต่อช่วย ให้ฟิวส์ตัดdก่อน ในกรณีShort Circuit ...คือตัดก่อนCBพัง ...ฟิวส์ดีๆ ก็แพงบรรลัยพอๆกับ CB ที่มี IC สูงๆนั่นแหละ |
24/04/2555 10:51 น. |
AF คือค่าพิกัดทนกระแสทำงานของตัวบอดี้เบรคเกอร์ AT คือค่าการทนกระแส การใช้งาน พิกัดการรับกระแส Ic คือค่าพิกัดการทนต่อกระแสลัดวงจรสุงสุด ใน 1-3 sec โดยที่หน้าคอนแทคไม่ได้รับอันตราย ค่ากระแสลัดวงจร จะมีอยุ่ 4 ตัว ในกรณี เบรคเกอร์ ให้พิจาณณา IC = ICS ยกตัวอย่าง มี cb เมน 1250 af/at 65KA ic=0.5ics เบรคเกอร์ย่อย 630 af/at 55 ka IC=ICS ค่ากระแสลัดวงจรด้านlower busbar of cb 630 A = 50 KA หากเกิดการลัดวงจรขนาด 50 ka ขึ้น เบรคเกอร์ตัวที่พังคือ 1250 แอมป์ หากมีการโครสเข้าอีกครั้ง เพราะว่า พิกัดทนกระแสลัดวงจรอีกครั้งของ cb 1250 แอมป์ จะเหลือครึ่งเดียวคือ 32.5 ka กรณี แมกเนติค ให้พิจารณาค่า ชนิดตามการใช้งาน แยกหลักๆ ac1-ac4 และมีแยกย่อยๆออกไปอีกตามac1-ac4 กรณีหม้อแปลง พิจารณา ค่าอิมพีแดนซ์ ทั้งหมดจะเป็นตัวตัดสินว่าเราจะได้งานหรือไม่ เพราะการเลือกมันจะหมายถึงราคาที่ต้องต่อสู้กัน |
12/05/2555 09:33 น. |
ผมว่าที่ตอบมาด้านบนนี่ยังไม่ถูกต้องแบบ 100% นะครับ เลยขอเอาที่ถูกต้องชัดเจนมา Share เพื่อให้น้องๆ วิศวกรุ่นหลังๆ ได้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งนะครับ ออกตัวก่อนว่าผมเป็นแค่วิศวกรแก่ ไม่ได้เก่งกาจอะไรนะครับ อาศัยเรียนรู้จากที่ต่างๆ แค่นั้นครับ Credit คุณ Rin3687 Thaiengineering นะครับ -------------------------------------------------------------- Interrupting Capacity (IC) เป็นพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรคเกอร์นั้นๆ โดยปกติกำหนดค่าการทนกระแสเป็น KA. ค่า IC จะบอกให้รู้ว่าเบรคเกอร์ที่ใช้นั้นมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด การเลือกค่ากระแส IC จะต้องรู้ค่ากระแสลัดวงจร ณ. จุดนั้นๆ เสียก่อน ตามมาตรฐาน IEC947-2 แล้วสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ Icu หรือ Icn (Rated short-circuit breaking capacity) หมายถึงพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรคเกอร์ ตามมาตรฐานแล้วจะระบุเป็นค่า r.m.s ของกระแสไฟสลับ โดยถือว่าส่วนประกอบ transient กระแสตรง (ค่า DC. Transient ) เป็นศูนย์ พิกัดกระแสดังกล่าวในภาคอุตสาหกรรมเรียกว่า ค่า Icu (Rated ultimate s.c. breaking capacity) ส่วนภาคที่อยู่อาศัยเรียกว่า Icn ปกติจะมีหน่วยเป็น KA r.m.s. การทดสอบค่า Icu หรือ Icn ตามมาตรฐาน IEC มี 3 ลักษณะคือ Operating sequences(open-close/open) คือการทดสอบการทนกระแสลัดวงจร โดยทำการปิดและเปิดวงจร ของเบรคเกอร์ขณะมีกระแสลัดวงจร Current and voltage phase displacement คือการทดสอบการทนกระแสลัดวงจรที่ค่า power factor ต่างๆ กัน ซึ่งพบว่าถ้า power factor = 1 จะปลดวงจรง่ายกว่า และถ้า power factor มีค่าต่ำเท่าใดการปลดวงจรยิ่งทำได้ยากเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่าระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็น lagging power factor และยิ่งมีกระแสลัดวงจรสูงเท่าใด (อยู่ใกล้ generator หรือหม้อแปลงขนาดใหญ่) ค่า power factor ก็ยิ่งต่ำลง Dielectric withstand capability คือการทดสอบความเป็นฉนวนของโครง (case) ของเบรคเกอร์ หลังจากการ short-circuit ไปแล้วว่ายังคงสภาพการเป็นฉนวนอยู่หรือไม่ * คัดลอกจากวารสารโอมห์ แมกกาซีน ฉบับที่1 มิถุนายน-สิงหาคม 2000 ในเครือ schneider electric* Icm (Rated making capacity) หมายถึงพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดที่เป็น peak current ที่เบรคเกอร์ สามารถทนได้ และทำการปลดวงจรแบบทันทีทันใด (instantaneous) โดยไม่มีการหน่วงเวลาที่แรงดันพิกัด (rated voltage) ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ในระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ค่ากระแส peak มีความสัมพันธ์กับค่า Icu ด้วยตัวคูณ (k factor) ซึ่งต่างกันไปตามค่า power factor ของกระแสลัดวงจร ดังตาราง Icu power factor Icm = kIcu มากกว่า 6KA ถึง 10KA 0.5 1.7 x Icu มากกว่า 10KA ถึง 20KA 0.3 2 x Icu มากกว่า 20KA ถึง 50KA 0.25 2.1 x Icu มากกว่า 50KA 0.2 2.2 x Icu * คัดลอกจากวารสารโอมห์ แมกกาซีน ฉบับที่1 มิถุนายน-สิงหาคม 2000 ในเครือ schneider electric* |
12/05/2555 09:34 น. |
Icw (Rated short-time withstand current) ค่านี้ขึ้นอยู่กับประเภทของ switchgear แรงต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1. ชนิด A คือระบบ switchgear ที่ไม่มีความต้องการให้มีการหน่วงเวลาในการทำงานของอุปกรณ์ magnetic trip (เป็นการปลดวงจรโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็ก) ได้แก่ molded case circuit breaker ทั่วไป ดังนั้น molded case CB. จึงไม่มีค่า Icw 2. ชนิด B คือระบบ switchgear ที่สามารถหน่วงเวลาในการปลดวงจรได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำการปลดวงจรเป็นลำดับขั้น (discrimination) ในระบบ โดยเบรคเกอร์ตัวที่อยู่ใกล้กระแสลัดวงจรที่สุดควรปลดวงจรก่อน ดังนั้นตัวที่อยู่ถัดไป (โดยเฉพาะตัว main) ต้องทนกระแสลัดวงจรซึ่งสูงกว่าและเป็นเวลาที่นานกว่าได้ โดยตัวมันเองไม่ปลดวงจรและไม่เสียหาย ค่าพิกัดและกระแสการลัดวงจรสูงสุดที่เบรคเกอร์ทนได้ในกรณีที่ต้องหน่วงเวลาเช่นนี้เรียกว่า short-time withstand current rating (Icw) โดยปกติค่า Icw จะถูกระบุหรือทดสอบกับเบรคเกอร์แบบ electronic trip เช่น Air circuit breaker หรือ molded case ประเภท heavy duty กล่าวโดยสรุป Icw คือค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดสำหรับเบรคเกอร์ชนิด B ที่สามารถทนได้ทั้งผลทางด้านอุณหภูมิ , ความเค้นและ ความเครียดจากสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น โดยตัวมันเองไม่เสียหายในช่วงเวลาหนึ่ง ตามที่โรงงานผู้ผลิดระบุ * คัดลอกจากวารสารโอมห์ แมกกาซีน ฉบับที่1 มิถุนายน-สิงหาคม 2000 ในเครือ schneider electric* Ics (Rated service short short-circuit breaking capacity) เป็นค่าที่บอกให้รู้ว่าเมื่อเบรคเกอร์ปลดวงจรหลังจากเกิดการลัดวงจรครั้งแรกแล้ว เบรคเกอร์ตัวนั้นจะสามารถทนกระแสลัดวงจร ในครั้งถัดไปได้เท่าเดิมหรือไม่โดยเทียบกับค่า Icu โดยระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่า Icu เช่น 25 , 50 , 75 และ 100% เช่นเบรคเกอร์ตัวหนึ่งระบุค่า Ics = 0.5 Icu หมายความว่าเมื่อเบรคเกอร์ปลดวงจรหลังจากเกิดการลัดวงจรครั้งแรกแล้ว เบรคเกอร์ตัวนั้นจะสามารถทนกระแสลัดวงจร ในครั้งถัดไปได้เท่ากับ 50% ของ Icu * คัดลอกจากวารสารโอมห์ แมกกาซีน ฉบับที่1 มิถุนายน-สิงหาคม 2000 ในเครือ schneider electric* |
18/05/2555 21:42 น. |
ผมรู้สึกยินดีที่มีผู้เชียวชาญมาแบ่งปันกัน การเรียนรุ้ไม่มีแก่ไม่แก่หรอกครับท่านอาจารย์Elec_Prew ผมเอ่ยอย่างนี้ดีกว่าครับ สมัยเรียนเราคงเหมือนๆกันครับ มีเพื่อนร่วมห้อง30กว่าคนอาจารย์สอนคนเดียว ทำข้อสอบโจทย์เดียวกัน วิเคราะห์ไปต่างกัน คะแนนต่างกัน ผมคิดว่าเราใช้ทฤษฎีเดียวกันนี่แหละครับ อาจารย์ไม่แก่หรอกครับ ผมยังไปหาอาจารย์ที่เลิกสอนแล้ว อายุ65 ตอนนั้นผม20เอง สอนวิชาสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แกยังโอเลยนะ อินทิเกรต3ชั้นนี่คล่องเลย ไหนจะสุตรสนามไฟฟ้าอีก ไม่แก่ครับ ไม่มีท่านจะมีคนรุ่นหลังๆได้อย่างไรครับ เมื่อเอ่ยถึงชไนเดอร์ เอาล่ะครับ เชียร์ยี่ห้อนี้เลยครับ ดีกว่ายี่ห้ออื่นๆมาก แต่ขอติงนิดนึงครับ สมัยเรียน อาจาย์เชิญชไนเดอร์ไปพูด ให้ฟังถึงอุปกรณ์ low-med-hi volt แกถามว่า มาก็มาฟรี แล้วจะได้อะไร ผมตอบกลับไปว่า อีก10ปีพวกผมนี่แหละจะเป็นเนตเวริ์กให้คุณใช้ของคุณ ครับกระแสลัดวงจรทั้ง4ตัว บางทีใช้สัญลักษณ์ต่างกัน เยอรมัน เมกา ieee แต่ขอให้ทราบว่าตัวไหนมันคือตัวเดียวกัน ประเด็นของผมคือ เมื่อเราทราบแล้วว่ากระแสลัดวงจรเป็นเท่าไร เบรคเกอร์รับได้หรือไม่ จากนี้เราต้องมาดูเรื่องการดับอาร์คแล้วครับ ว่าเบรคเกอร์ยี่ห้อนี้มันดับอาร์คอย่างไร ลองดูนะครับว่าการออกแบบแผ่นสปิทของ ชไนเดอร์กับยี่ห้ออื่นต่างกันอย่างไร ปกติเบรคเกอรืต้องเข้าหัว ออกท้าย ถ้าสลับกัน การดับอาร์คล้มเหลวสิ้นเชิง พังแน่นอนครับ หลอมละลายเหมือนการเชื่อมไฟฟ้าเลยแหละ กระแสสูง pf ต่ำ วิธีการช่วยเหลือหน้าสัมผัสคือเจ้าแผ่นสปิทนี่แหละครับ ว่าออกแบบมายังงัยและระยะเวลาการดับอาร์ค เป็นที่น่าเสียดาย ผู้รู้ในอุตสาหกรรมมีเยอะมาก ผมแนะนำคนกลุ่มนี้มาตอบกระทู้ในเวป ไม่มีใครสนใจเลย มองแต่เรื่องธุรกรรม ธุรกิจกัน ความรู้เอาไว้หากินไม่แบ่งปันผู้อื่นๆเลย แต่ผมถามพวกเขาก้อธิบายให้นะครับ ยี่ห้อชไนเดอร์เป้นเบรกเกอร์ที่ดีที่เคยใช้มา(บางรุ่น) สามารถดับอาร์คได้ทั้ง2ด้าน และรักษาหน้าสัมผัสและบัสบาร์ ไม่ก่อให้เกิดการบิดตัวให้เสียรูปครับ |
18/05/2555 21:51 น. |
ต่อไป เมื่อเลือกเบรคเกอร์ได้แล้ว ต้องไปดูกระแสลัดวงจร เริ่มมาจาก โพชิทีฟ เนกาทีฟ ซีโรซีเคว้นซ์ และกระแสดีซี ตามที่ท่านอาจารย์แนะนำจากคำตอบด้านบน จากนั้นเราจะมาพิจารณาว่ากระแสลัดวงจรตัวไหนมีอานุภาพรุนแรง สมมาตรหรือไม่สมมาตร ผมคิดว่ากระแสลัดวงจรที่รุนแรงคือ ซิงเกิ้ลไลน์ทูกราวด์ฟอล์ต แต่เวลาคำนวณจะใช้ทรีเฟสฟอลต์ แต่ประด็นสำคัญของ ปทท.ชอบไปลดอุปกรณืประกอบร่วม อุปกรณ์เสริม ของเบรคเกอร์ ไม่แน่ใจว่าบัดเจ็ท จำกัดหรือเปล่า ผมไม่มีสุตรมาแสดงนะครับ เพราะดูเป้นวิชาการเกินไป และยากต่อการเข้าใจ ผมจึงเขียนแบบลูกทุ่งภาษาพูดนะครับ อันนี้ต้องขออภัยด้วยนะครับ |
05/11/2558 15:10 น. |
14/06/2559 23:04 น. |
Acilis ***บ้าป่าวว่ะ ออกไปคนละเรื่อง รับยาช่อง 2 ด่วน |
21/07/2559 15:03 น. |
Acilis............ |