10/02/2555 13:13 น. |
โดยต้องได้ torque 150% ที่ rate speed จะทำอย่างไรดีครับ? DC drive ของผมเป็น digital drive ขนาด 75kW name plate motor ตาม file ที่แนบมา ขอบคุณครับ |
10/02/2555 16:16 น. |
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ การเพิ่มค่าแรงบิดมอเตอร์ ต้องเพิ่มแแอมแปร์ เทรินของขดลวดชันท์ฟิลด์ ซึ่งเข้าใจว่าไม่น่าจะเพิ่มได้มากถึง 50 เปอร์เซนต์ เพราะจะทำให้แกนเหล็กอิ่มตัวก่อน ฉะนั้นสิ่งที่ผมคิดว่าพอจะเป็นไปได้คือ เพิ่มแรงบิด ซัก 25 เปอร์เซนต์โดยการเพิ่มกระแสฟิลด์คอยล์หรือพันใหม่ แล้วไปเพิ่มจำนวนรอบการหมุนโดยเพิ่มแรงดันที่ป้อนอาร์เมเจอร์ ให้มีความเร็วรอบเพิ่ม อีก 25 เปอร์เซนต์ ประกอบกับเพิ่มอัตราลมที่ใช้ระบายความร้อน น่าจะทำให้มอเตอร์สามารถ เป็น 60 HP.ได้ แต่ถ้ากำหนดให้ความเร็วรอบเท่าเดิม แล้วเพิ่มแต่แรงบิดอย่างเดียว ผมแทปจะฟันธงได้เลยว่าเป็นไปไม่ได้ครับ |
10/02/2555 18:34 น. |
|
11/02/2555 09:38 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ เมื่อดูจากกราฟแล้วเข้าใจว่า กราฟที่ได้น่าจะเป็นการต่อ มอเตอร์แบบ Cummulative Compound Motor คือต่อให้ Serie Field เสริมกับ Shunt Field เพราะจะเห็นว่ากราฟของความเร็วรอบตกลงอย่่างมาก 20 เปอร์เซนต์จากสภาวะ ไม่มีโหลดไปจนถึงขับโหลด 100 เปอร์เซนต์ ซึ่งมอเตอร์ดีซีปกติไม่ควรเกิน 10 เปอร์เซนต์ กราฟที่ปรากฏ จะเป็นกราฟที่เกิดจากการป้อนแรงดันพิกัด อาร์เมเจอร์ และกระแสพิกัดฟิลด์คอยล์ และใช้การเปลี่ยนแปลงโหลดจาก 0 ไปจนถึง 450 และวัดความเร็วรอบเพื่อนำมาพล๊อตเป็นกราฟ ฉะนั้นถ้าเราใช้วิธีการปรับความเร็วรอบให้ลดลงมา เหลือ 80 เปอร์เซนต์ก็คือการปรับแรงดันจ่ายอาร์เมเจอร์ เราก็จะไม่สามารถนำกราฟนี้มาใช้อ้างอิงได้ โดยปกติค่าทุกค่าที่อยู่ในเนมเพลทจะเป็นค่าที่บอกอยู่ในสภาวะการทำงานเต็มพิกัดทกๆค่า ฉะนั้นถ้าเราไปใช้งานในเงื่อนไขที่ไม่ได้อยู่ในสภาวะพิกัด จะต้องทำให้มีอย่างหนึ่งอย่างใดเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งก็หมายความว่า ถ้าเรานำมอเตอร์ไปใช้งานที่เกินกว่าแรงบิดของมอเตอร์ที่ออกแบบไว้ จะมีผลต่อ ระยะเวลาการใช้งานมอเตอร์ (Duty Cycle )เช่น มอเตอร์เดิมออกแบบมาให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเราออกแบบแล้วให้มอเตอร์ทำงานเกินค่าแรงบิดที่กำหนดไว้ที่ตัวมอเตอร์ มอเตอร์ตัวนั้นต้องถูกนำไปใช้งานได้ในระยะเวลาที่สั้นลงไม่ต่อเนื่องเหมือนเดิม เพราะไม่เช่นนั้นมอเตอร์ก็จะไหม้เนื่องจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น คำถามคือแล้วเราจะเพิ่มวิธีการระบายความร้อนได้หรือไม่ ตอบว่าได้ครับ แต่ก็จะมีอยู่ในระดับหนึ่ง เพราะการระบายความร้อนออกจากตัวมอเตอร์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณลมและความเร็วลมที่พัดผ่านมอเตอร์แต่เพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยเรื่องปริมาณพื้นที่ผิวสัมผัส และสัมประสิทธิการนำมาความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องอีก ถ้าจะยกตัวอย่างให้ง่ายขึ้นก็ให้มองเอซี มอเตอร์ เอซีมอเตอร์จะผลิตทอร์คได้สูงสุดหลังจากการสตาร์ทไปแล้ว อยู่ที่ 250-300 เปอร์เซนต์ แต่เราไม่สามารถนำค่าแรงบิดที่สูงกว่า 100 เปอร์เซนต์มาใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นมอเตอร์ที่ออกแบบมาให้มี ค่า SF ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่น่าเกิน 1.2 แต่ก็ยังต้องแลกกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติ และอายุของฉนวนขดลวดที่ลดลงไปอีกครึ่งหนึ่งหากจะใช้งานในย่าน SF นี้ จากเหตุผลดังกล่าวยังขอยืนยันความเห็นเดิมอยู่ครับ(คำตอบที่ 1 ) |
14/02/2555 17:13 น. |
คงจะเป็นอย่างพี่ "ช่างซ่อมมอเตอร์" ว่าละครับ ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยตัดสินใจ ทีนี้ผมจะต้องเอาเจ้าดีซีมอเตอร์ 40 แรงม้าตัวนี้ไปใช้แทนดีซีมอเตอร์อีกงานครับ ข้อแม้เป็นตามนี้ครับ งานปัจจุบันที่ใช้อยู่ ; motor nameplate laminated DC motor 74 kW,1836 rpm.,armature 440 VDC-165 A,field 110 VDC-11.5 A ประมาณ full torque = 384.7 Nm ใช้งานเครืองอัดรีด (Plastic Extruder; flat torque ,continue rate)อยู่ที่ ประมาณ 25 kW รอบมอเตอร์ประมาณ 65% ปลายเพลาใส่ pulley dia.200 mm.,motor torque =200 Nm ,ที่โหลดเป็น pulley dia.300 mm.,load torqe =300 Nm (pulley ratio = 1.5) และผมจะต้องเอา เจ้า "Reliance" 40 HP ไปใช้ทดแทนจะไหวใหมครับ?(Rating ตาม Nameplate ข้างบนครับ)ให้ขับ โหลดที่ pulley load เท่าเดิม (300 Nm -load pulley dia. = 300 mm.)แต่อาจะต้องมีการเปลี่ยน pulley ที่ปลายเพลามอเตอร์ก็ได้ครับ ขอบคุณครับ |
15/02/2555 08:40 น. |
ขอแก้ค่ากระแส armature กับรอบมอเตอร์ครับ จาก 165 A,1836 rpm ไปเป็น 185 A ,1880 rpm ครับ |
15/02/2555 09:01 น. |
กระแสมอเตอร์ ตัว 74 KW.ขณะทำงานมีค่าเท่าไหร่ครับ เพราะกระแสจะเป็นตัวบอกค่าแรงบิดที่โหลดต้องการคร่าวๆได้ |
15/02/2555 09:32 น. |
ประมาณ 92-96 A ครับ |
15/02/2555 12:08 น. |
ผมสรุปข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเป็นอย่างนี้ครับ มอเตอร์เดิม 75 KW.Ar. 440 V. 185 A. Fld. 110 V.11.5 A 1880 RPM. ทำงานอยู่ที่ ความเร็วรอบ 65% (1880x.65 = 1222 RPM ) กินกระแส 96 A. ต้องการนำมอเตอร์ 40 HP. Ar. 500 V. ? A. Fld 300 V. 1.77 A. 1150 RPM จากข้อมูลข้างต้นลองมาหาทอร์คของมอเตอร์กัน จากสูตร T(N.m) = KW. x9550 / RPM มอเตอร์เดิมมีแรงบิดพิกัด T(75) = 75x9550/1880 = 380.9 N.m มอเตอร์ที่จะนำมาแทน T(29.8) = 29.8 x 9550 / 1150 = 247.5 N.m จากข้อมูลการใช้งานมอเตอร์กินกระแส ประมาณครึ่งหนึ่ง ฉะนั้น ทอร์คที่โหลด ต้องการน่าจะอยู่ประมาณ 381 /2 = 190.5 N.m แต่เนื่องจากความเร็วรอบเดิมที่ใช้อยู่มีค่ามากกว่าความเร็วรอบพิกัดใหม่ อยู่ 1222-1150 = 72 รอบ ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาในการใช้งานที่จะเพิ่มแรงดันอาร์เมเจอร์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหรือปรับเปลี่ยนขนาดพู่เลย์ จึงสรุปได้ว่าตัวมอเตอร์เองไม่น่าจะมีปัญหาที่จะถูกนำมาใช้งานแทนกันได้ แต่เมื่อมาพิจารณาเรื่องชุดไดรว์จะเห็นว่าแรงดันที่ชุดไดรว์จ่ายออกมาไม่สัมพันธ์กับ มอเตอร์ตัวทีทีจะนำมาทดแทนเลย (พิจารณาจากตัวมอเตอร์เดิม ) ทั้งแรงดันอาร์เมเจอร์ และฟิลด์คอยล์ ก็เลยน่าจะเป็นสาเหตุ ที่ทางเจ้าของกระทู้พยายามจะลดแรงดันใช้งานของอาร์เมเจอร์ลงมาให้ตรงกับไดรว์ที่มีอยู่ (คำถามในกระทู้ ) แต่อย่าลืมว่าด้านฟิลด์คอยล์ก็จะต้องมีการแก้ไขเหมือนกัน จากข้อมูลทั้งหมด สรุปได้ว่า การที่จะนำมอเตอร์ตัวทดแทนนี้ไปใช้งานได้ ต้องหาชุดไดวร์ใหม่ที่สอดคล้องกับแรงดันพิกัดของมอเตอร์ที่นำมาทดแทน หรือ พันมอเตอร์ใหม่ให้สอดคล้องกับชุดไดวร์ที่มีอยู่เดิมครับ |
16/02/2555 04:12 น. |
ต้องขอขอบคุณอีกครั้งครับ ยังมีต่ออีกครับ คือผมมี เจ้า40แรงม้าที่ว่านี้ 2ตัว หมุนเร็วเท่ากัน,ยี่ห้อเดียวกัน กะเอาไว้จะมาเป็น spare แทน 74 kw แต่ 2 ตัวที่มีอยู่นี้ frame ไม่เท่ากัน ตัวในรูปข้างบนคือ Nema frame B0327ATZ (ประมาณ IEC frame 200)armature 500 VDC 68 A ,field 300 VDC 2.49 A ,1150 rpm อีกตัว frame เล็กกว่าครับ คือ NEMA frame LC2512ATZ (ประมาณ IEC frame 160)armature 500 VDC 72 A ,field 300 VDC 4.8 A ,1150 rpm แต่ตัวมันยาวกว่า frame 327ATZ ประมาณ 20% (rotor initia น่าจะน้อยกว่า frame 327ATZ) เราควรจะเลือกตัวไหนเป็นตัวแแรกครับ? ส่วนรื่อง Drive ไม่มีปัญหาครับ (digital drive ขนาด 75kW) ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ |
16/02/2555 09:09 น. |
ตามความคิดเห็น Inertia จะส่งผลอย่างมากกับการใช้งานมอเตอร์ ที่ต้องมีการสตาร์ท และสต๊อป หรือเปลี่ยนความเร็วรอบบ่อยๆ ฉะนั้นถ้ามีการสตาร์ท สต๊อป หรือเปลี่ยนความเร็วรอบบ่อยๆในการใช้งาน เลือกตัวเล็ก-ยาว แต่ถ้าสตาร์ทแล้ววิ่งยาวตลอดเลย ผมว่าเลือกตัว ใหญ่-สั้นจะดีกว่าเพราะจะทำให้เสถียรภาพด้านความเร็วรอบดีกว่า เนื่องจากมีแรงเฉื่อยของโรเตอร์ของมอเตอร์มาช่วยด้วย |
23/02/2558 19:47 น. |
กระทู้นี้เป็นของผมเอง ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนอ่านเยอะที่สุด ขอบคุณครับ |
23/02/2558 19:50 น. |
เยอะที่สุด ที่เกียวกับ DC motor นะ |