17/11/2554 10:20 น. |
เป็น DC Motor ขนาด 1000kW ครับ ด้านท้ายมอเตอร์มันมีสนามแม่เหล็กมาก เอาแผ่นเหล็กไปแปะติดอยู่เลย อยากจะทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แล้วมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างครับ สนามแม่เหล็กน่าจะไปรบกวนการทำงานของตัว Encoder เพราะมันแสดงค่าผิดปกติ ครับ |
17/11/2554 15:33 น. |
มอเตอร์ลูกนี้น่าจะโดนแปลง |
17/11/2554 20:54 น. |
แปลงยังไงเหรอครับ |
17/11/2554 21:52 น. |
มันแปลงที่ ไปดูที่ ชุดรองเพลา (shaft) ว่าเป็น ลูกปืน ไฟเบอร์ ทองเหลือง อ้อ แล้ว ถามนิด มันหมุนรอบ ที่เท่าไร เนมเพลทมีไม๊ หมุนใช้งานจริงเท่าไร และชุด ฟิลด์ คอล์ย/ไดรว์ ด้วย |
17/11/2554 21:59 น. |
วิธีแก้ เอนโค๊ดเดอร์ทำงานโดนแม่เหล็กกวน คุณเอาแกน อโลหะ ต่อกับ เพลาท้ายมอเตอร์ แล้วถึงจะต่อกับแกน เอ็นโคดเดอร์ รวมถึง SUPPORT ENCODER |
18/11/2554 16:53 น. |
โดยปกติ เส้นทางการเดินของเส้นแรงแม่เหล็กไม่น่าจะออกไปถึงฝาแบริ่งด้านหลังของมอเตอร์ ถ้าบอกว่าที่กลางลำตัวน่าจะใกล้เคียงกว่าเพราะอยู่ใกล้กับขดลวดฟิลด์คอยล์ ถ้าจะให้ลองสันนิษฐาน คงอยากจะให้ดูรูปร่างของสัญญาณของแหล่งจ่ายที่จ่ายให้กับมอเตอร์ว่ามีสัญญาณผิดปกติหรือไม่ เพราะถ้าทางด้านขดลวดมีปัญหาไม่ว่าขดลวดใดน่าจะส่งผลออกมาในรูปของการสปาร์คมากกว่า ส่วนการที่มีสนามแม่เหล็กไปกวน Encoder จากหลักการผมว่าไม่น่าจะกวนกัน เพราะ Encoder ใช้หลักการของ Opto ในการสร้าง Pulse Output แต่ในทางปฏิบัติไม่แน่ใจ และวิธีที่ช่างวรเดช แนะนำน่าจะเป็นการป้องกัน Shaft Current มากกว่าการป้องกันสนามแม่หล็กที่จะเข้าไปรบกวน มอเตอร์ดีซี ถ้าแหล่งจ่ายปกติ จะทำให้เกิด Induce Voltage ที่ทำให้เกิด Shaft Current น้อยกว่า มอเตอร์เอซีมาก ลองวิเคราะห์หลายทางดูีครับ ได้ผลอย่างไร โพสขึ้นมาแจ้งด้วยครับ และไม่ทราบว่าอยู่แถวไหน หากอยู่ไม่ไกล จะเข้าไปช่วยดูให้ครับ เพราะเป็นเคสที่แปลกดี |
20/11/2554 20:43 น. |
จขกท ตอบ ข้อ 3 ให้หน่อย อิอิ ข้องใจ อ่ะ และ ท่านพี่จาก สำนักกรงกระรอกหมุน ตอบมา ถะ ถะ ถะ ถู ถู ถูกต้อง ครับ |
22/11/2554 10:48 น. |
เรื่องความไม่สมมาตรของ Air Gap ล่ะครับท่านช่างฯ เป็นไปได้มั้ย |
22/11/2554 13:46 น. |
จากภาพข้างบนแสดงให้เห็นเส้นทางการเดินของเส้นแรงแม่เหล็กหลักที่กระทำต่อ ขดลวดอาร์เมเจอร์ ซึ่งมีทิศทางตามแนวรัศมีของตัวมอเตอร์ และสอดคล้องกับที่ผมแสดงความคิดเห็นไปแล้วในคำตอบที่ 5 ว่าไม่น่าจะมีเส้นแรงแม่เหล็กไหลมายังฝามอเตอร์ได้ หากในกรณีเกิดการไม่สมดุลของแอร์แกป จะทำให้โรเตอร์เข้าไปชิดขดลวดฟิลด์คอยล์ และอินเทอร์โปล ด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าส่วนที่เหลือ ตามความเข้าใจ น่าจะทำให้นิวตรอลโซน ขณะทำงานผิดไปจากตำแหน่งที่ควรจะเป็น(อิทธิพลของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นที่ขดลวดโรเตอร์ ) เนื่องจากค่าเส้นแรงแม่เหล็กต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ฟิลด์คอยล์และอินเทอร์โปลเกิดการเปลี่ยนแปลงจากที่มีการออกแบบไว้ และไม่สมดุลกัน พร้อมกับส่งผลใ้ห้เกิดการสปาร์คในที่สุด การไม่สมดุลย์กันของเส้นแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อขดลวดโรเตอร์ไม่น่าจะมีผลต่อทิศทางการเดินของเส็นแรงแม่เหล็กหลักหรือแม้กระทั้งขดลวดโรเตอร์เอง เป็นความเข้าใจส่วนตัวครับ ผิดถูกอย่างไร เชิญวิจารณ์ได้ครับ |
22/11/2554 15:18 น. |
จากรูปที่แนบมาในคำตอบที่ 8 ตำแหน่งนิวตรอบโซนอยู่ตรงไหนครับ พี่่ๆ ช่วยชี้แนะด้วยครับ / ขอบคุณครับ |
22/11/2554 22:08 น. |
ผมคิด้อาเองนะครับว่า การที่มันดูดแม่เหล็กติด เป็นไปได้กรณีเดียวแสดงว่าต้องมี Flux Leakage จากที่ไหนซักแห่ง และการที่ดูดติดแสดงว่าต้องมี Flux Leakage ปริมาณพอสมควร ซึ่งต้องมาจากการที่ค่า Reluctance ของอากาศต้องมีค่าน้อยถึงค่าค่านึงครับ สิ่งที่ต้องหาต่อคือ อะไรทำให้ค่า Flux Leakage มีปริมาณมากพอที่ดูดแม่เหล็กติดครับ ถ้าระยะระหว่าง Field Coil ไม่สมมาตรอาจจะเป็นสมมติฐานนึงหรือเปล่าครับ |
23/11/2554 08:40 น. |
ตอบคำถามที่ 9 ครับ / ตำแหน่งที่เป็นนิวตรอลโซน จะอยู่ที่ตำแหน่งกลึ่งกลางระหว่างขั้วเมนโปลหรือฟิลด์โปล เพราะเป็นตำแหน่งที่ไม่สนามแม่เหล็ก(ตามในภาพ) ซึ่งในภาพก็คือตำแหน่งขั้วของอินเทอร์โปล ฉะนั้นในการหา นิวตรอลโซน ซึ่งมีหลายวิธีที่กระทำกัน ก็จะเป็นการหาตำแหน่งของแปรงถ่านที่ถูกต้อง ซึ่งต้องเป็นตำแหน่งที่แปรงถ่านสัมผัสกับปลายคอยล์กับต้นคอยล์ของคอยล์ที่มีด้านข้าง(Coil Side ) อยู่ในตำแหน่งนิวตรอลโซน เห็นด้วยกับท่าน Elec-Prew ที่เป็นไปได้ว่าอาจจะมี Flux Leakage มาจากที่ไหนซักแห่ง ซึ่งคงต้องมองหากันต่อไป พอดีนึกขึ้นได้ว่า ไม่รู้ เจ้าของกระทู้เคยที่จะป้อนแต่กระแสฟิลด์คอยล์อย่างเดียวแล้วทดสอบการดูดติดของแผ่นเหล็กหรือเปล่า เพราะถ้าเคยทดลอง ควรมีแจ้งผลมาบอกกัน จะได้หาสาเหตุกันง่ายขึ้น และการดูดติดเป็นอยู่ตลอดที่จ่ายไฟ หรือเฉพาะตอนจ่ายโหลด คงต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าของกระทู้ |
24/11/2554 09:41 น. |
ขอบคุณครับ คุณช่างซ่อมมอเตอร์ ได้ความรู้มากเลย |