16/11/2554 21:12 น. |
พอดีว่าไม่ค่อยแน่นความรู้เรื่องสาย N(นิวตรอล) กับสาย G(กราวน์ของระบบ) ว่ามันมีข้อแตกต่างกันยังไง 1.มันต่อร่วมกันได้หรือเปล่า 2.หม้อแปลง380V นำสาย N มาจากที่ไหน, สาย G มาจากที่ไหน 3.ผมเคยใช้ไขควงวัดไฟ R T มีไฟ แต่S ไม่มีไฟ ทำไมถึงเป็นแบบนั้นครับ เห็นเค้าบอกมาว่าแหล่งจ่ายต่อแบบ เดลต้านะ 4.อื่น ๆ ที่อยากแนะนำ ขอบคุณมากครับ |
21/11/2554 12:20 น. |
1.) ส่วนใหญ่ที่เห็นจะต่อรวมกันระหว่าง 2 สายนี้ได้เฉพาะที่จุดต่อภายในตู้ไฟฟ้าเท่านั้นครับ แต่ก็ไม่เสมอไปขึ้นอยู่กับระบบไฟฟ้าที่ใช้งานว่าเป็นแบบกราวน์รวมหรือกราวน์แยก อันนี้ต้องศึกษาเอาครับ เพราะมีเอกสารให้อ่านเยอะจนสรุปออกมาได้หนังสือเป็นเล่มเลย 2.) สามารถดูที่ตัวหม้แปลงครับ จะมีไดอะแกรมบอกไว้ว่าหม้อแปลงลูกนั้นมีการต่อไปด้านเข้าและด้านออกอย่างไร ส่วนใหญ่ในบ้านเราจะเป็น เข้าเดลต้าออกเป็นสตาร์แบบ Dyn11 เมื่อมีการต่อแบบสตาร์จึงจะมีจุดรวมตรงกลางซึ่งจะเป็นจุดต่อของสายนิวตรอล และจุดต่อกรานค์ก็จะมีการต่อที่จุดนี้เช่นกัน ซึ่งก็จะต้องเป็นไปตามระบบไฟฟ้าที่กล่าวในข้อแรกนั้นล่ะครับ 3.) ผมไม่รู้เหมือนกัน เพราะยังไม่เคยเจอในการทำงานจริง แต่ในทางเอกสารคงจะพอมีอยู่ |
22/11/2554 18:18 น. |
1. จากระบบไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะต่อ N กับ G ไว้ที่ MDB 2. เหมือนกับคคห 1 3. ไม่น่าเป็นไปได้ และยังไม่เคยเจอ จะลองศึกษาเพิ่มดู แต่ลองพิจารณาดูว่าไฟบ้าน 220 Vac ก็ใช้ R-N, S-N หรือ T-N และทุกบ้านก็ใช้ไขควงวัดไฟที่ line ได้ทั้งนั้น 4. ถ้าเราไปต่อในระบบ control หรือ data center ควรจะแยก N กับ G ไว้ ให้มองเหมือนว่า N และ phase จะเป็น 220 VAC เพื่อใช้ในระบบ ส่วน G จะเป็นการต่อกับ ground เพื่อลดสัญญาณ รบกวนต่างๆ จะดีกว่า เพราะบางครั้ง ground เราจะต้องมีการต่อกับดินนะจุดที่ใกล้กับจุดใช้งานและวัดให้ได้ค่าความต้านทานดิน ตาม spec. ที่ระบบต้องการจริงๆ และการต่อ ground ก็ควรระวังเรื่อง ground loop ด้วยครับ |
22/11/2554 22:16 น. |
ข้อ 3 เป็น Open Delta รึป่าวครับ ปกติจะแบบนี้ ถ้าใช้แรงดันครึ่งนึง เราจะเอาเฟสกลางต่อลงกราวน์ไว้ เวลาวัดไฟเฟสกลางเลยไม่ขึ้นครับ |
15/10/2555 22:55 น. |
3.ผมเคยใช้ไขควงวัดไฟ R T มีไฟ แต่S ไม่มีไฟ ทำไมถึงเป็นแบบนั้นครับ เห็นเค้าบอกมาว่าแหล่งจ่ายต่อแบบ เดลต้านะ จริงๆ เป็นแค่การต่อระบบกราวด์ครับ ของระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สายครับ อย่างง ในหนังสือ อ ประสิทธิ์ก็เขียนไว้ หม้อแปลงแบบเดลต้า การต่อระบบกราวด์ของหม้อแปลงแบบ เดลต้า ต้องนำสายเส้นใดเส้นหนึ่งต่อลงกราวด์ จริงๆแล้วเฟสใดเฟสหนึ่งต่อลงกราวด์ก็ได้ ส่วนมากที่เห็นจะใช้ เฟส S ประโยชน์ของการต่อลงกราวด์ คือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางไฟฟ้า กับ ช่วยให้ระบบป้องกันทำงานได้สมบูรณ์ และ ช่วย ป้องกันอันตรายครับ ถ้า ไม่ต่อเฟสใดเฟสหนึ่งลงกราวด์ อาการที่พบเห็นได้เท่าที่ผมเจอมา คือ ไฟตก ขณะโหลดกินกระแสมากๆ ครับ ถ้าที่หม้อแปลงต่ออยู่ แต่วัดไฟที่เครื่องจักรแล้วไฟตก โครงมีไฟรั่ว แสดงว่าสายกราวด์ที่ไปเครื่องจักเส้นนั้นขาด ส่วนมาเป้นหม้อแปลงที่จ่ายให้กับเครื่องจักร์ ญี่ปุ่นนะครับ ในโรงงานญี่ปุ่นเห็นเยอ |