08/11/2554 21:30 น. |
อยากถามว่าสูตรการคำนวณเวลาเริ่มเดิมมอเตอร์ของมอเตอร์แต่ละขนาดว่าใช้เวลาช่วงเริ่มเดิมเป็นระยะเวลากี่วินาทีจากความเร็วรอบจนถึงความเร็วสูงสุด และเพื่อหาช่วงเวลาที่กระแสสูงสุด ป.ล. เอาความรู้เรื่องมอเตอร์ส่วนใหญ่เอาคืนอาจารย์หมดแล้ว |
10/11/2554 00:20 น. |
คำถามน่าสนใจครับ แต่ตอบยากมาก เพราะ 1) แรงบิดของมอเตอร์ ไม่คงที่ (Torque - Speed Characteristic) และ ขึ้นกับการออกแบบแกนเหล็ก 2) แรงบิดของโหลดเองบางอย่างก็ไม่คงที่ ขึ้นกับความเร็วรอบ (เช่น พัดลม หรือ ปํ๊ม) รอท่านช่างซ่อมมอเตอร์เค้ามาแจกแจงทุกประเด็นครับ แต่ผมคิดว่าส่วนใหญ่ใช้ค่าจากการทดสอบเดินเครื่อง และ ประสบการณ์นะครับ |
15/11/2554 08:45 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ ขอบคุณ Elec_Prew ครับ จากความเข้าใจส่วนตัวก็จะตรงกับ Elec Prew ที่บอกว่าจะใช้การทดสอบเป็นตัวกำหนดมากกว่าการคำนวณ การคำนวณบอกได้แต่เพียงรูปร่างของแรงบิดที่มอเตอร์ผลิตได้ ว่าควรจะออกมาในลักษณะใด มีกระแสสตาร์ทติ้งเท่าไหร่ แต่ก็จะมีองค์ประกอบคร่าวๆที่เคยเขียนไปแล้วว่า มอเตอร์รอบเร็ว จะใช้เวลาในการสตาร์ทมากกว่ารอบช้า สรุปองค์ประกอบที่ทำให้เกิดเวลาในการสตาร์ทของมอเตอร์แต่ละตัวต่างกันไปคือ 1.ปริมาณที่โหลดขับอยู่ 2.จำนวนโปลของมอเตอร์ 3.ขนาดของมอเตอร์ และหากอยากทราบเวลาที่แท้จริงคงต้องใช้ เพาวเวอร์มิเตอร์ หรือแอมป์มิเตอร์ที่มี Data logger Record ค่ากระแสและเวลาที่ใช้ในการสตาร์ทดูครับ |
15/11/2554 09:42 น. |
SYSTEM TECH (THAILAND) CO.,LTD. ทางบริษัท เป็นผู้นำเข้า สินค้า Mitsubishi จากญี่ปุ่นโดยตรง ในโอกาสทุกสิ้นปีจะมีการ เคลียร์สต๊อกสินค้าบางรุ่นที่มีมาก เพื่อเตรียมความพร้อมในการสั่งสินค้าใหม่เป็นประจำทุกปี ดังนั้นในปีนี้ได้มีการจัดทำ Promotion สำหรับ Extra Price ของ PLC Mitsubishi รุ่น FX1N Series ,FX1S series และ FX2N Series เท่านั้น สนใจติดต่อ คุณทวีศักดิ์ เบอร์ 083-233-5359 หรือ Email : systemtech_thai@hotmail.com |
23/11/2554 01:33 น. |
ถ้าได้ข้อมูล Torque - Speed Characteristic ของมอเตอร์ และ โหลด รวมทั้ง Moment of Inertia ก็พอที่จะคำนวณคร่าวๆได้ครับ จากหลักการของ ผลต่างของแรงบิด คือ Moment of Inertia * ความเร่งเชิงมุม และ ความเร่งเชิงมุม คือ ผลต่างของความเร็วรอบ / เวลาครับ ลองแบ่งความเร็วเป็นหลายๆช่วง เช่น 0-10% 10-20% 20-30% 30-40% ... 90-100% ลองเอาค่าเฉลี่ยแรงบิดของมอเตอร์และโหลดมาหักลบกัน หารด้วย Moment of Inertia หารด้วยผลต่างความเร็วในแต่ละช่วง ก็จะได้เวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนความเร็วในแต่ละช่วง เอาทั้งหมดมาบวกกันจะได้เวลาที่ใช้ในการ Start ครับ ปล. อย่าลืมว่าแรงบิดของมอเตอร์ที่คิด จะคิดที่ 100% Voltage นะครับ แต่ในความเป็นจริงต้องมี Voltage Drop อยู่แล้ว แต่ก็พอจะประมาณให้ใกล้เครียงได้โดยใช้หลักการของ แรงบิดแปรผันตามระดับแรงดันยกกำลังสองครับ คิดว่าคงพอจะเห็นแนวทางนะครับ |
26/12/2554 15:51 น. |
inda ไม่ตอบน้องเลยนะครับ ขายของตลอดนะครับ |