08/11/2554 16:35 น. |
กรูณาทุกท่านช่วยอธิบายลักษณะการทำงานและการทำโพสของโปรแกรมว่าจะต้องเพิม g code ยังไงครับจะจะกัดพร้อมหมุนด้วยครับ ยังใช้ยังไม่เป็นครับกำลังหาความรู้ครับ |
13/11/2554 00:05 น. |
การเดินกัด และ หมุนแกน C ไปด้วย นั้นจะเกิด แนวเส้นตรงเส้นหนึ่ง ที่เรียกว่า Helix Angle โดยสัมพันธ์กับ เส้นผ่านศูนย์กลาง (Dia.) คือ เมื่อครบรอบ ก็เท่ากับ 360 องศา ดังนั้น เมื่อคลี่ ทางเดินออก ก็จะเกิดเส้นเฉียง เส้นหนึ่ง ที่เป็นทางเดินกัด โดยระยะทางด้านแกน X เท่ากับ เส้นรอบวงกลม และ ความสูงตามแนวแกน Y คือ ระยะทางที่เดินกัด ไปตามแกน X ส่วนการเขียนโปรแกรม คอนโทรล ส่วนใหญ่กำหนดการหมุนด้วย ค่า A ซึ่งคงต้องไปดูว่าการหมุน 1 รอบ หรือ 360 องศา กำหนดให้มีค่าเท่าไหร่ แล้วคุณก็มาหารเอา หากเดินกัดไม่ครบรอบ ( ขออภัย จำไม่ได้ตอนนี้ ) |
13/11/2554 00:08 น. |
เอ้อ ลืมไป ระยะทางที่เดินกัด ไปพร้อมๆกับการหมุน 1 รอบ คือ ค่า feed ตามแนวแกนหมุน ไม่ว่า จะวางตาม แกน X หรือ แกน Y ก็ตาม |
13/11/2554 05:37 น. |
เว้นแต่ว่า ลายที่เกิดขึ้น บนผิวทรงกระบอก หรือ ทรงใดๆ ที่ต้องการ บนผิวของแกนที่สี่ จะมีรูปร่างเป็นอย่างอื่น ซึ่งต้องทำการโปรเจครูปทรงนั้น ลงบนพื้นผิวโดยรอบ และ คำนวณหาทิศทางการเดินกัน เชิงเส้น ที่สัมพันธ์กับการหมุนของแกน ซึ่งก็ไม่ต่างจากที่อธิบายไว้ ทีแรก เพียงแต่ มันเป็นเส้นตรง หลายๆเส้น ในแต่ละ ระยะพิช ก็เท่านั้น |
13/11/2554 14:07 น. |
|
13/11/2554 14:08 น. |
ว่าแต่โปรเจครูปทรงนี้ หมายถึงโปรเจคทูลพาร์ทของโปรแกรมหรือเปล่าครับอาจานย์ |
16/11/2554 21:25 น. |
การเดินกัดใน แกนที่ 4 ส่วนใหญ่ จะมีทางเดินบนพื้นผิวทรงกลม ดังนั้น ขณะที่เขียนภาพ ลงบนพื้นผิว โปรแกรม CAM หลายตัว สามารถเขียน ภาพทางเดิน บนสองมิติ ก่อน แล้ว ฉายภาพนั้น ลงไปบน ผิวทรงกระบอก หรือ ทรงกลมใดๆ ที่ต้องการ คล้ายๆกับ เรามี เทปพันแผลลายการ์ตูน แล้วเอามาพันนิ้วเรา ดังนั้น ลายการ์ตูนก็จะวนอยู่รอบนิ้ว ดังนั้น ตอนสร้างทางเดิน Tool ของโปรแกรม บางครั้งจะให้เราสร้างทางเดิน ในพื้นผิวสองมิติ ( XY) ก่อน แล้วจึง ทาบ หรือ ฉายภาพทางเดินนั้น ไปบนผิวโค้ง ที่เราต้องการอีกที แต่บางโปรแกรมอาจ มีวิธีการแบบอื่น ซึ่งอาจทำให้เราเข้าใจผิด แต่มันก็เป็นหลักการเดียวกัน ส่วนรูปการ์ตูน หรือ ลายนั้น จะมีการนูนขึ้นหรือไม่ ก็สุดแล้วแต่ ซึ่งนั่น จะทำให้ ขั้นตอนการกัด เพิ่มความยุ่งยาก และ ลายละเอียดมากขึ้นไปอีก สำหรับ ภาพที่โพสต์ไว้ ก็คาดว่า คุณวาง โรตารี่ ตามแนวแกน X ส่วนการเขียนโปรแกรม คงต้องขึ้นอยู่กับ คอนโทรลแต่ละตัว ละครับ ว่าใช้ อักษรตัวไหน ระหว่าง C กับ A ไว้ผมจะลองหา มาโครโปรแกรมของ Fanuc 16MA มาให้ดู เป็นการสั่งหมุนแกนที่สี่ ( แกน C ) ขอไปค้นก่อนละกัน |
17/11/2554 11:38 น. |
ครับผมกำหนดไว้เป็นแกน Cครับ และก็สามารถเปลี่ยนได้ครับอาจารย์ ในส่วนโปรแกรมผมคงต้องอาจจะหาที่อบรมในการใช้โปรแกรมเพิ่มเติมแต่ก็ยังหาเวลาและสถานที่อบรมยังไม่ได้ก็ต้องค่อยหาความรู้หลายทางไปก่อน ขอบคุณอาจารย์มากเลยครับผมเพิ่งได้ความรู้ของแกนที่4จากที่นี่ ทาง บจ จ็จะมีงานแคมฟอรีเวอร์ทนงกลมเข้ามากัดด้วยในระหว่างที่พร้อมเข้ารูปเข้ารอยในด้านนี้ครับ เลยเป็นความรู้ไหม่เข้ามาในตัวผมต้องทำหน้าที่หาความรู้เพื่อทำงานให้เจ้านายครับ |
17/11/2554 13:56 น. |
ค่อยๆ มองภาพ ทางเดินให้ออกครับ ตัวอย่างมาโครด้านล่าง เป็นส่วนหนึ่ง ของโปรแกรม เจียรร่ิอง ดอกสว่าน เป็นคอนโทรล ฟานัค 16MA ซึ่งจะเห็นว่า การหมุนแกน C จะใช้คำสั่ง A แต่หากของคุณ จะเป็น C ก็ไม่เป็นปัญหา ที่เหลือมองภาพการหมุน สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ในแกน XYZ ให้ออก ก็พอ หรือ สงสัยอะไร จะเมล์มาก็ได้ ไม่ว่ากัน :6301(FLUTE-1 GRINDING) S#140M#142 IF[#143EQ1]GOTO101(COOLANT NO.) IF[#143EQ2]GOTO102 IF[#143EQ3]GOTO103 N101 /2M8 GOTO4 N102 /2M51 GOTO4 N103 /2M53 N4 /2M08 /2M51 /2M53 G91G01 #33=#5044 #1=#131 N10 #31=1 WHILE[#31LE#1]DO2(KIRIKOMI) G91G00X-#120Y#121Z-#122A-#123 #30=1 WHILE[#30LE#144]DO3(HASU) G91G01Z-#138F#137 X-#110Y-#111Z#112(Z0.3)A-#113F#134 X-#114Y-#115Z#116A-#117F#139 G04P80 G1Z#138F400 G91G1Z10.F1000 G00X[#110+#114]Y[#111+#115]A[[#113+#117]-[360./#144]]Z-[#112+#116](Z-0.3) G91G00Z-10. #30=#30+1 END3 #31=#31+1 END2 |
17/11/2554 18:40 น. |
ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยครับกับความรู้และสละเวลาให้ความรู้ผมผมจะพยายามต่อไปครับพอนึกภาพออกแล้ว ต่อไปค่อยมาฝึกทำโปรแกรมและทำโพสออกมาทดลอง รู้สึกว่าผมทำเมลอาจารย์หายหาไม่เจอครับ ขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับ |
17/11/2554 22:16 น. |
เมล์ผม ssuebsak@yahoo.com ครับ เปิดบ่อยกว่า Hotmail |
17/11/2554 22:40 น. |
ขอบคุณครับอาจารย์ผมว่าผมจะรบกวนให้น้อยที่สุดครับ |
24/12/2554 21:59 น. |
|
24/12/2554 22:00 น. |
|