21/09/2554 14:02 น. ,
อ่าน 6,884 ครั้ง
สงสัย ความแตกต่าง ระหว่าง ภาคีพิเศษ กับ ช่างเทคนิค(ชำนาญการ)
ช่างไม่รู้
21/09/2554
14:02 น.
|
อยากรู้ว่า มี กฏหมาย เกี่ยวกับการติดตั้ง ตรวจสอบ ควบคุม ซ่อม กำหนดให้ มี วิศกรหรือไม่ ในกรณี งาน ไม่ใหญ่ เช่น งาน ต่อเติม งานซ่อมปรับปรุงเปลี่ยนแปลง งานติดตั้งแก้ไข ผลิต ตรวจสอบ แนะนำ 1.ถ้าไม่ต้องมี ภาคีพิเศษมีไว้ทำไม ช่างเทคนิค ก็ทำได้ 2.ถ้ามี เซนต์รับรองได้หรือไม่ 3.การตรวจสอบ และให้คำปรึกษา กฏหมายกำหนดหรือไม่ ว่าต้องเป็นวิศวกร และ ต้อง ยื่นหลักฐานหรือไม่ เพื่องแสดงผลการตรวจสอบ 4.ผู้ตรวจสอบ ทำการรายงานผลการตรวจ และ แนะแนวทางการแก้ไข หรือผลการแก้ไข เป็นเอกสาร และเซนต์ ชื่อในรายงาน ผิดกฏหมายหรือไม่ อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น โรงงานแห่งหนึ่ง แจ้งว่า ระบบไฟฟ้ามีปัญหา และ ผมเป็น บริษัทรับติดตั้งและแก้ไขปัญหาระบบไฟฟ้า จึงรับจ้างงานนี้ และเมื่อเข้าไปตรวจเช็ค พบว่า หม้อแปลง เสีย 1 เฟส เสนอราคาและดำเนินการแก้ไข ซ่อมหม้อแปลง ซึ่งมีขนาด 100 KVA (จ้างซ่อมอีกทอด)และนำไปติดตั้งคืน ทางโรงงาน ตอ้งการให้เขียนรายงาน ทั้งหมด และเซนต์รับรอง ว่า หม้อแปลง เสียหาย และทำการแก้ไข จนสามารถใช้งานได้ ผม จบแค่ ปวส ไม่ได้เรียนต่อ สูงๆ เลยไม่มี ก.ว และไม่ มีเงินพอที่ จะจ้าง วิศวกร เป็นรายเดือน จึงเซนต์เอง และไม่รู้ว่า ทางโรงงาน นำผลรายงานไปเพื่อเหตุผลใด อาจจะ เครมประกันภัย ประกันผลงาน รายงานอุบัติเหตุด้านความปลอดภัย หรือเหตุอื่นๆก็ไม่อาจทราบได้ จึงสอบถามมา ผู้รู้ โปรดชี้แนะ
|
ความคิดเห็นทั้งหมด 4 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
28/09/2554
00:35 น.
|
ขอตอบรวมข้อ๑ -๔เลยนะครับ ตามกฎหมายมีกำหนดไว้ครับ เป็นกฎกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยงานวิศวกรรมควบคุมสาขาไฟฟ้ากำลังมีดังนี้ครับ
(ก)งานให้คำปรึกษาตาม(ข)ค)(ง)(จ)หรือ(ฉ)ทุกประเภทและทุกขนาด (ข)งานวางโครงการ ๑)ระบบการผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันตั้งแต่ ๑,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายในระบบตั้งแต่ ๓,๓๐๐ โวลต์ขึ้นไป ๒)ระบบส่ง ระบบจำหน่าย และระบบการใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันตั้งแต่ ๑,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบตั้งแต่ ๑๒ กิโลโวลต์ขึ้นไป (ค)งานออกแบบและคำนวณ ๑)ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดตั้งแต่ ๓๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป หรือ ที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบตั้งแต่ ๓,๓๐๐ โวลต์ขึ้นไป ๒)ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันตั้งแต่ ๒๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป ๓)ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูง อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ หรืออาคารชุด (ง)งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต ๑)ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดตั้งแต่ ๑,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบตั้งแต่ ๑๒ กิโลโวลต์ขึ้นไป ๒)ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันตั้งแต่ ๒๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป ๓)ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูง อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ หรืออาคารชุด (จ)งานพิจารณาตรวจสอบ ๑)ระบบไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันตั้งแต่ ๑,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป หรือที่มี แรงดันสูงสุดระหว่างสายในระบบตั้งแต่ ๑๒ กิโลโวลต์ขึ้นไป ๒)ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูง อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ หรืออาคารชุด (ฉ)งานอำนวยการใช้ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดตั้งแต่ ๑,๐๐๐ กิโลโวลต์ แอมแปร์ขึ้นไป หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายในระบบตั้งแต่ ๑๒ กิโลโวลต์ขึ้นไป
|
ความคิดเห็นที่ 2
28/09/2554
00:42 น.
|
ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๑ มีดังนี้ครับ
ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงไฟฟ้ากำลัง ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงไฟฟ้ากำลัง ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาดดังนี้ (๑)งานวางโครงการ ระบบการผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ กิโลโวลต์ แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายในระบบไม่เกิน ๓๖,๐๐๐ โวลต์ (๒)งานออกแบบและคำนวณ (ก)ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มี ขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน ๓๖,๐๐๐ โวลต์ (ข)ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ (ค)ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับ อาคารสูง อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ หรืออาคารชุด ทุกขนาด (๓)งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต (ก)ระบบไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน ๑๑๕ กิโลโวลต์ (ข)อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดัน ระหว่างสายในระบบไม่เกิน ๑๑๕ กิโลโวลต์ (ค)ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ (ง)ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับ อาคารสูง อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ หรืออาคารชุด ทุกขนาด (๔)งานพิจารณาตรวจสอบ ทุกประเภทและทุกขนาด (๕)งานอำนวยการใช้ (ก)ระบบไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายในระบบไม่เกิน ๑๑๕ กิโลโวลต์ (ข)อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดัน สูงสุดระหว่างสายในระบบไม่เกิน ๑๑๕ กิโลโวลต์ ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงไฟฟ้ากำลัง ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาดดังนี้ (๑)งานออกแบบและคำนวณ (ก)ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน ๑,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มี ขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน ๑๒ กิโลโวลต์ (ข)ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน ๑,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ (ค)ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับ อาคารสูง อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ หรืออาคารชุด ทุกขนาด (๒)งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต (ก)ระบบไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดัน ระหว่างสายในระบบไม่เกิน ๓๖ กิโลโวลต์ (ข)ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกัน ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ (ค)ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับ อาคารสูง อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ หรืออาคารชุด ทุกขนาด (๓)งานพิจารณาตรวจสอบยกเว้นการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า ทุกประเภทและทุกขนาด (๔)งานอำนวยการใช้ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายในระบบไม่เกิน ๓๖ กิโลโวลต์
|
ความคิดเห็นที่ 3
28/09/2554
00:44 น.
|
ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงไฟฟ้ากำลัง ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้างานไฟฟ้า ได้ตามงาน ประเภท และขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ดังนั้นแล้วตามกฎหมายภาคีวิศวกรพิเศษกับช่างเทคนิค(ชำนาญการ)จึงไม่เหมือนกันครับเพราะภาคีวิศวกรพิเศษนั้นสามารถทำงานวิศวกรรมควบคุมได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนช่างเทคนิค(ชำนาญการ)นั้นไม่สามารถทำงานวิศวกรรมควบคุมได้ถ้าทำถือว่าผิดกฎหมายครับซึ่งหากท่านมีความชำนาญในงานวิศวกรรมควบคุม งานประเภทใดและขนาดเท่าใด เป็นพิเศษท่านสามารถยื่นขอใบอนุญาตภาคีวิศวกรพิเศษได้ตามประเภทงานและขนาดที่ท่านชำนาญได้กับทางสภาวิศวกร ซึ่งภาคีวิศวพิเศษกรบางท่านสามารถทำงานวิศวกรรมควบคุมได้เท่ากับวุฒิวิศวกรเลยที่เดียวแต่อาจจะไม่ครอบคลุม ประเภทงานทั้งหมดเหมือนวุฒิวิศวกรเท่านั้นเอง
ป.ล. ขออภัยที่ต้องตัดแปะเพราะเป็นข้อกฎหมายจึงขอยกมาทั้งหมดเพื่อไม่ให้เข้าใจคลาดเคลื่อนครับ
|
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างไม่รู้
13/10/2554
16:25 น.
|
ขอขอบคุณครับ ที่ตอบได้ ชัดเจนมากครับ
|
ความคิดเห็นทั้งหมด 4 รายการ |