05/08/2554 14:33 น. |
คือหน้างานมีมอเตอร์สริปริงอยู่ 4 ชุดต่ออยู่กับชุดเกียร์ มอเตอร์ขนาด 22 kW ใช้งาน 20 กว่าปีแล้ว ทั้ง 4 ตัวจะทำงานพร้อมกัน ตู้คอนโทรลเดิมนี่ดูไม่ออกแล้ว แต่เห็นมีตู้ Resistor อยู่ 2 ตู้ จะเข้าไปปรับปรุงโดยว่าจะใช้ Inverter ควบคุมแทน แต่จะไม่เปลี่ยนมอเตอร์โดยจะใช้ มอเตอร์สริปริงเหมือนเดิมเพราะไม่อยากวุ่นวายกันเรื่องแมคคานิค คำถามมีดังนี้ครับ 1. ผมสามารถใช้ Inverter ควบคุมสลิปริงมอเตอร์นี้ได้ไหมครับ ถ้าได้ต้องทำอย่างไรช่วยแนะนำครับ 2. ถ้าใช้ Inverter แล้ว ตู้ Resistor ของเดิมนี่ต้องใช้อยู่ไหมครับ 3. กรณี 4 ตัวนี้ทำงานพร้อมกันควรใช้ Inverter 22 kW 4 ชุดเพื่อควบคุมแยกกัน หรือใช้ 90 kW ตัวเดียวควบคุมดีครับ 4. ควรจะอัฟไซต์ของอินเวอร์เตอร์ให้ใหญ่กว่าพิกัดของมอเตอร์ไหม ขอบคุณทุกท่านครับ |
06/08/2554 23:42 น. |
ประทานโทษครับ โหลดที่ขับ มันคืออะไร แล้ว แรงดันเท่าไร รอบเท่าไหร่ แล้วตู้คอนโทรลสเต็ป ตัวเดิม มีไม๊ รีซิสเตอร์ มีครบเปล่า หากจะบอกว่าใช้อินเวอร์เตอร์ไม่ได้ สนใจจะชุบวิญญาณ มันมั้ย อิอิ อยากรู้มากกว่านี้มั้ย เดี๋ยวๆๆๆๆๆๆ รอช่างซ่อมมอเตอร์อีกคน ท่านพี่เขาจะมาให้ความเห็นที่ลึกๆ เห็นใส้ในเลยหล่ะ |
09/08/2554 08:45 น. |
ขอบคุณช่างวรเดชครับ และขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ ข้อดีของมอเตอร์สลิป-ริงที่เหนือกว่ามอเตอร์กรงกระรอกตรงที่สามารถกำหนดค่าแรงบิดขณะสตาร์ท และกำหนดจุดความเร็วรอบทำงานได้โดยการต่อค่าความต้านทานเพิ่มเข้าไปในวงจรโรเตอร์ ในกระทู้ไม่ได้บอกว่ามอเตอร์สลิป-ริงมีต่าความต้านทานต่อไว้เพื่อจุดประสงค์ใด และยังแปลกอีกตรงที่ มอเตอร์มี 4 ตัวแต่ชุดตู้ความต้านทานมีแค่ 2 ชุด แต่เข้าใจว่าน่าจะใช้ในการสตาร์ทมอเตอร์มากกว่า ในการสตาร์ทมอเตอร์อินดักชั่น ไม่ว่าเป็นกรงกระรอกหรือสลิป-ริงสภาวะเริ่มสตาร์ท ค่า xL ของวงจรโรเตอร์จะมีค่าสูงทำให้เฟสของกระแสและแรงดันของวงจรโรเตอร์ต่างกันมาก(เพราะสภาวะนี้ความถี่ที่กระทำต่อโรเตอร์มีค่าเท่ากับความถี่ไฟฟ้าของสเตเตอร์ ) จึงทำให้วงจรโรเตอร์จึงต้องการค่าความต้านทานเพื่อทำให้เฟสของกระแสและแรงดันใกล้กันมากที่สุดเพราะจะทำให้เกิดแรงบิดมากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าสภาวะนี้ค่าความต้านทานในวงจรโรเตอร์ที่ต้องการต้องมีค่าสูง แต่เมื่อมอเตอร์หมุนไปแล้วอยู่ในค่าพิกัดความเร็วรอบ ความถี่ที่กระทำต่อขดลวดโรเตอร์จะน้อยลง (เกิดจากผลต่างระหว่างสนามแม่เหล็กหมุนกับความเร็วโรเตอร์ซึ่งมีทิศทางเดียวกัน )ส่งผลให้ค่า XL มีค่าต่ำลงมาก ฉะนั้นในสภาวะนี้ค่าความต้านทานของวงจรโรเตอร์ที่ต้องการต้องมีค่าต่ำ ในการออกแบบมอเตอร์แบบกรงกระรอกจึงต้องมีการบาลานซ์กันระหว่างค่าความต้านทานโรเตอร์กันในสองสภาวะนี้ให้ได้ค่าที่เหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างจากมอเตอร์สลิป-ริงที่สามารถออกแบบให้ค่อนไปทางค่าความต้านทานที่ต่ำได้ เนื่องจากสภาวะการสตาร์ทจะมีค่าความต้านทานภายนอกมาต่อ ดังนั้นในการสตาร์ทมอเตอร์สลิป-ริงด้วยการช๊อตวงจรโรเตอร์แล้วสตาร์ทด้วย ชุดชอสสตาร์ท หรือ อินเวอร์เตอร์ แบบ V/F (แบบทอร์คคอนโทรล ไม่เข้าใจหลักการทำงาน เลยขอไม่คอมเมนท์ )จะทำให้ได้แรงบิดขณะสตาร์ทสูงสุดที่ทำได้ต่างจากมอเตอร์กรงกระรอกประเภทเดียวกันและมีขนาดเดียวกันเป็นอย่างมากด้วยเหตุผลของค่าความต้านวงจรโรเตอร์ดังกล่าว จึงคงตอบไม่ได้ว่าจะสตาร์ทได้ออกตัวไปได้หรือไม่ เพราะจะขึ้นอยู่กับเรื่องปัจจัย ประเภทของโหลด และขนาดของโหลดที่ต่ออยู่ขณะสตาร์ท ถ้าถามว่าถ้าอย่างนี้นำค่าความต้านทานที่มีอยู่มาต่อใช้งานร่วมได้หรือไม่ ขอตอบว่าคงจะไม่ได้เนื่องจากค่าความต้านทานจะออกแบบมาเพื่อให้มีวัตต์เตส เพียงพอสำหรับการสตาร์ทเท่านั้น ไม่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นค่าความต้านทานจึงมักจะต้องมีค่าบอกถึงเวลาที่สามารถทนการสตาร์ทด้วยค่ากระแสที่กำหนดที่ตัวต้านทานเองว่าต้องสตาร์ทไม่นานเกินกี่วินาที่ และต้องพักกี่วินาที ผู้รู้ท่านใดมีความเห็นที่แตกต่างเรียนเชิญวิจาร์ณได้ครับ หรือเคยมีประสบการ์ณด้านนี้เรียนเชิญมาแชร์กันครับ |
09/08/2554 21:29 น. |
เมื่อได้เห็นท่านพี่เจ้าของสำนักกรงกระรอกหมุน ให้ความเห็นมา สรุปแว่ ว่า การออกแบบโครงสร้างของสลิปริงมอเตอร์ ค่า XL ของโรเตอร์วายวาวด์มันต้องการR จากภายนอกมาช่วยขณะออกตัว ที่ Frequency 50Hz and Voltage 380V input Primary Side (Stator) ฉะนั้น การปรับเปลี่ยนค่า F & V ด้วย อินเวอร์เตอร์ ขณะเริ่มออกตัว จึงไม่น่าจะใช้ได้ ด้วยประ กา ระ ฉะ นี้ แล แต่ ยัง ๆ ๆ ท่าน จขกท ครับ เอางี้ อย่าเพิ่งสิ้นหวังไป ให้ถามช่างซ่อมมอเตอร์ดูว่า แล้วจะทำเยี่ยงไร กะมัน ดี อิอิ |
11/08/2554 08:26 น. |
จากประสบการ์ณ มักจะเห็นมอเตอร์สลิป-ริงมักจะนำไปใช้ขับประเภทที่มีโอกาส สตาร์ทในขณะที่มีโหลดอยู่เสมอ ฉะนั้นเวลาที่จะเปลี่ยนเป็นมอเตอร์ธรรมดามักจะต้องอัพไซด์มอเตอรืขึ้นไปเพื่อเผื่อค่าแรงบิดขณะสตาร์ท แต่โจทย์บอกว่าไม่เปลี่ยนมอเตอร์ เอามอเตอร์ สลิป ริงมาใช้เหมือนเดิม ผมคิดว่าแรงบิดที่จะสตาร์ทเมือขับหรือสตาร์ทด้วยอินเวอร์แล้ว จะไม่สามารถทำได้เท่าเดิม ซึ่งจะสตาร์ทได้หรือไม่ได้จะขึ้นอยู่กับว่ามีโหลดต่ออยู่หรือไม่ ตามความคิดเห็นถ้าไม่คิดจะเปลี่ยนเป็นมอเตอร์กรงกระรอกธรรดา ไม่เห็นด้วยที่จะใช้ชุดสตาร์ทแบบอื่นๆมาใช้งานแทนครับ เพราะมีความเสี่ยงที่จะใช้งานไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าอยากจะใช้งานจริงๆ คงลองติดต่อว่าใครสนใจที่จะขายอินเวอร์เตอร์ ใ้ห้เขาเอามาทดลองใช้งานดู ถ้าใช้งานได้แล้วค่อยซื้อ น่าจะดีกว่าครับ |
22/08/2554 22:20 น. |
พอดีกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับมอเตอร์ สลิป-ริง และไปเจอว่ามีกระทู้่ของเมืองนอกที่คุยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่พอดี เลยเอามาให้อ่านกันครับ พวกเขาสรุปกันว่า ใช้งานได้แต่ควรอับไซด์(เพิ่มขนาดของไดรว์ให้เป็นไปตามกระแสขณะที่มีการล๊อคโรเตอร์)ไม่ใช่ใช้พิกัดกระแสมากำหนดขนาดไดรว์ (ไม่รู้อ่านเข้าใจถูกหรือเปล่า ) น่าเสียดายที่บ้านเราไม่มีคนที่มีประสบการ์ณมาเขียนแชร์ประสบการ์ณที่เคยทำผ่านมาเหมือนบ้านเขา http://www.plctalk.net/qanda/archive/index.php/t-28013.html |