23/07/2554 09:29 น. |
ซื้อมอเตอร์มาใช้ในโรงงาน พิกัดที่ Name plate คือ 0.2kW 380VY 50Hz กระแสพิกัด 0.95A แต่ไฟที่โรงงานระดับแรงดัน3เฟสอยู่ที่ 400V พอต่อเข้ากับมอเตอร์แล้วลองใช้งานที่พิกัด ปรากฏว่าวัดค่ากระแสได้ 1.05A คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ก้อราวๆ 110% เราเลยสงสัยว่าปกติถ้าแรงดันเพิ่ม พิกัดโหลดเท่าเดิม ค่ากระแสมันน่าจะลดลง แต่นี่ ค่ากระแสกลับมากขึ้น เลยอยากจะถามผู้มีความรู้หน่อยฮะ ว่ามันมีเกิดจากอะไรได้บ้าง ลองเช็คๆดู มอเตอร์ขนาดเล็กกว่า 1kW เป็นอย่างงี้หมดเลย คือ พิกัดที่ Name plate เป็น 380V เราจ่ายแรงดัน 400V ไปให้โหลด แล้ววัดค่ากระแสได้เกินค่าพิกัดที่บอกไว้ที่ Name plate หมดเลย |
23/07/2554 14:50 น. |
ขึ้นอยู่กับโหลดที่เราต่อครับ |
24/07/2554 10:08 น. |
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ ถ้าเราศึกษามอเตอร์ไฟฟ้าเข้าไปลึกๆจะพบพฤติกรรมมอเตอร์อย่างนี้ครับ มอเตอร์ทั่วไป กระแสมอเตอร์จะประกอบด้วยกระแส 2 ส่วน ส่วนแรกเรียกว่ากระแสสร้าง เส้นแรงแม่เหล็ก (Magnetizing Current ) และ ส่วนที่สอง กระแสที่เกิดจากการขับโหลด (Load Current ) กระแสสร้างเส้นแรงแม่เหล็กจะแปรผันตามตรง แรงดันที่จ่าย แต่แปรผกผันกับจำนวนรอบที่ใข้พัน และอื่นๆ กระแสขับโหลด แน่นอนว่าจะแปรผันตามโหลด แต่จะแปรผกผันกับแรงดันไฟฟ้าที่ป้อน(กฏของพลังงาน) ในมอเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งผมเคยเขียนบอกไว้แล้วว่า มอเตอร์มักออกแบบใ้ห้มีค่ากระแสสร้างเส้นแรงแม่เหล็กทีมีค่าูสูง เมื่อเทียบกับมอเตอร์ขนาดใหญ่ จึงส่งผลให้มอเตอร์ขนาดเล็กจะมีกระแสขณะไม่ได้ขับโหลดสูงกว่ามอเตอร์ขนาดใหญ่ บางยี่ห้อสูงมากกว่า 50 เปอร์เซนต์ของกระแสพิกัด จากการนำเอามอเตอร์ขนาดเล็กไปใช้งาน ในกรณีที่มีแรงดันจ่ายเข้ามอเตอร์สูงกว่าแรงดันพิกัด ค่าแรงดันที่สูงกว่าปกติ จะส่งผลให้กระแสสร้างเส้นแรงแม่เหล็กมีค่าสูงกว่าปกติ และมีเปอร์เซนต์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ค่ากระแสขับโหลดที่ลดลง ทำให้ผลรวมเกิดกระแสที่สูงเพิ่มขึ้น ลักษณะดังกล่าวจะตรงกันข้าม เมื่อเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะตรงกับความเข้าใจของ คุณมงคล ที่บอกว่ามอเตอร์เมื่อขับโหลด และมีแรงดันจ่ายให้กับมอเตอร์สูงกว่าพิกัด กระแสมอเตอร์จะลดลง สรุป มอเตอร์ขนาดเล็ก มอเตอร์ขับโหลด แรงดันเพิ่ม กระแสจะเพิ่ม มอเตอร์ขนาดใหญ่ มอเตอร์ขับโหลด แรงดันเพิ่ม กระแสจะลด |
24/07/2554 10:47 น. |
ขอแก้ไข ข้อความที่ว่า ซึ่งจะตรงกับความเข้าใจของ คุณมงคล ขอแก้ไขเป็น ซึ่งจะตรงกับความเข้าใจของเจ้าของกระทู้ และต้องขอโทษ คุณ มงคล(คำตอบที่1)ด้วยครับ ที่เขียนพาดพิง โดยไม่ตั้งใจ |
24/07/2554 12:39 น. |
ไม่เป็นไรครับ แลกเปลี่ยนความรู้กัน |
25/07/2554 09:39 น. |
แล้วอย่างนี้มันจะเป็นอันตรายกับมอเตอร์มั้ยครับ เพราะค่ากระแสมันจะเกินค่าพิกัดไปแล้ว |
25/07/2554 10:06 น. |
ิขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ ถ้ามอเตอร์ผ่านมาตรฐาน IEC มาค่าแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ ก้จะ +/- 5 เปอร์เซนต์ของค่าแรงดันพิกัด ถ้า มอเตอร์มีค่า SF. มากกว่า 1.0 ก็จะทำให้กินกระแสมากกว่าเนมเพลท เป็นเปอร์เซนต์ตาม SF. แต่ AMB. ต้องไม่เกิน 40 และถ้าอุณหภูมิ AMB. ไม่ถึง 30 องศาก็จะยังคงทำให้ใช้งานค่ากระแส เกินเนมเพลทได้อย่างน้อย 10 เปอร์เซนต์ ไม่คำนึงค่า SF. ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นเป็นทฤษฏี เกี่ยวกับการใช้งานมอเตอร์ แต่ถ้าในทางปฏิบัติให้ลองวัดอุณหภูมิที่ผิวเฟรมมอเตอร์ ถ้าเกิน 90 องศาก็น่าจะใช้งานอยู่ได้ไม่นานครับ เพราะความร้อนที่เกิดจากค่ากระแสที่เกินพิกัด และอื่นๆ จะเป็นตัวทำให้ฉนวนมอเตอร์เกิดความเสียหายก่อนอายุอันควร |
25/07/2554 17:58 น. |
ขอบคุณมากคร้าบ |