Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,800
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,172
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,460
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,454
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,914
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,030
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,007
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,296
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,147
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,819
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,774
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,974
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,318
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,817
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,161
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,054
17 Industrial Provision co., ltd 39,851
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,799
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,714
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,042
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,976
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,323
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,742
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,470
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,976
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,970
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,348
28 AVERA CO., LTD. 23,103
29 เลิศบุศย์ 22,063
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,821
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,715
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,328
33 แมชชีนเทค 20,317
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,577
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,546
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,288
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,964
38 SAMWHA THAILAND 18,741
39 วอยก้า จำกัด 18,406
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,979
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,825
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,760
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,726
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,671
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,603
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,596
47 Systems integrator 17,157
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,102
49 Advanced Technology Equipment 16,935
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,899
13/07/2554 08:26 น. , อ่าน 3,730 ครั้ง
Bookmark and Share
กระแสดีซี ค่าไหนถูกต้อง
ช่างซ่อมมอเตอร์
13/07/2554
08:26 น.

หลายคนคงมีประสบการ์ณเหมือนผม ที่เวลานำไฟดีซ๊ (ได้จากนำไฟ 3 เฟสมา Full Wave Bridge Rectifier ) ป้อนเข้าไปที่ขดลวดแล้ว จะวัดค่ากระแสด้วยแคลมป์ออนดีซี แล้วจะได้ค่ากระแส 2 ค่า ค่าที่วัดที่ขั้วบวก จะได้ค่ามากกว่าค่าที่วัดจากขั้วลบ หรือ กระแสที่เข้า มากกว่ากระแสที่ออก จากขดลวด

และในความเข้าใจ สัญญาณไฟที่ออกมาจากชุดบริด แน่นอนว่ายังคงที่จะมีสัญญาณเป็นพลัลส์อยู่บ้าง แต่เมือมาผ่านขดลวด ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นการฟิลเตอร์ ก็น่าจะทำให้ ค่าสัญญาณไฟฟ้าที่ออกมาจากขดลวด ควรมีความเรียบของสัญญาณมากกว่าขาเข้าขดลวด และก็น่าจะส่งผลให้เวลาวัดด้วยเครื่องวัดแคลมป์ออน กระแสที่วัดได้ขาออกจากขดลวดน่าจะมีค่ามากกว่า / ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจอะำไรผิดหรือเปล่า

แน่นอนว่าอยู่ในวงการซ่อมมอเตอร์ก็ต้องพึงระวังเรื่อง ความร้อนที่จะส่งผลให้มอเตอร์เกิดความเสียหาย จึงมักจะแนะนำคนที่เกี่่ยวข้อง หรือเป็นลูกทีม ให้ใช้ค่ากระแสที่มากกว่าเป็น ตัวกำหนดค่าต่างๆ ไม่ว่า เป็นเรื่องของการลงค่าของผลเทส หรือใช้ในการวิเคราะห์

จึงอยากจะขอความเห็นเพื่อน พี่ๆ และท่านผู้รู้ทั้งหลายว่า จริงๆแล้ว ค่ากระแสที่ส่งผลโดยตรงกับขดลวดควรที่จะเป็นกระแส ค่าที่มากกว่าหรือน้อยกว่า
ความคิดเห็นทั้งหมด 9 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
Elec_Prew
18/07/2554
07:11 น.
แต่ Mr. Kirchoff เจ้าของ Kirchoff 's Current Law เค้าบอกว่า ผลรวมของกระแสเข้าที่โนดใดๆ ต้องเท่ากับ ผลรวมของกระแสออกจากโนดนั้นๆ นะครับ

และ ไม่ว่าการออกแบบหรือหลักการของ Electric Machine ไหนๆ ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎนี้ด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 2
ช่างซ่อมมอเตอร์
18/07/2554
11:26 น.

ครับแน่นอนว่า ปริมาณกระแสคงจะเท่ากันครับ แต่รูปร่างของสัญญาณกระแส น่าจะเปลี่ยนแปลงไปจนกระทั่ง ทำให้เกินขีดความสามารถของเครื่องมือวัดที่จะวัดได้ และทำให้เกิดค่าผิดพลาดในการวัด และตรงนี้เป็นข้อสงสัยของผม

้เพราะค่ากระแสจะแตกต่างกันมาก ตามจำนวนรอบของขดลวดที่ใช้พัน (เช่น คอยล์เบรก )

และแปลกใจที่ไม่มีใครเคยเห็นบ้างเลยหรือครับ

ตัวอย่างอันหนึ่งที่พูดถึงข้อจำกัดของเครื่องมือวัด คือกระแสโรเตอร์ของมอเตอร์สลิป-ริง หลายคนยังเข้าใจผิดว่ากระแสโรเตอรฺ์ เมื่อช๊อตสลิปริงแล้วกระแสไหลผ่านสลิปริง เมื่อเราเอาแคลป์ออนไปวัดแล้ว ค่ากระแสแต่ละเฟส ควรจะมีค่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งไม่ถูกต้อง

หลายคนเมื่อเอาแคล้มออนไปวัดจะได้ค่าต่ำๆ ประมาณ ไม่เกิน 10 แอมป์ (ค่าจะวิ่งไป มา ) ของมอเตอร์ขนาดใหญ่พอประมาณ ที่มีค่ากระแสโรเตอร์เมื่อเทียบกันเนมพลท หลายร้อยแอมป์

เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะกระแสโรเตอร์ จะมีความถี่ต่ำมากมีค่าไม่เกิน 1 HZ. ในขณะที่แคลป์ออนที่มีขายในท้องตลาด ทำงานต่ำสุดที่ 5 HZ. จึงทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ใช่ค่าจริงแต่เป็นค่าผิดพลาดที่เกิดจากคุณสมบัติของเครื่องมือวัด

ท่านใดมีข้อแนะนำ หรือ ความเห็นที่แตกต่าง ยินดีแลกเปลี่ยนกันได้ครับ ไม่ต้องเกรงใจ และขอขอบคุณ ท่าน Elec_Prew ด้วยครับสำหรับความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
Elec_Prew
18/07/2554
18:09 น.
ขออนุญาตเดา ถ้ากำลังพูดถึงกระแสอาร์เมเจอร์ กระไม่เท่ากัน เพราะ คอมมิวเตชั่นรึเปล่าครับ ถ้ายังงัยท่านช่างซ่อมมอเตอร์ขยายความเรื่องคอมมิวเตชั่นหน่อยครับ หลายคนอาจจะอยากรู้
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างซ่อมมอเตอร์
19/07/2554
09:02 น.

อือ ไม่ใช่ครับ ผมกำลังจะหมายถึง ทุกกรณีที่มีการนำเอา แหล่งจ่ายดีซี ที่เกิดจากการเรคติไฟ ด้วยไดโอด เมื่อนำไปป้อนให้กับคอยล์หรือขดลวดดีซีแล้ว นำเครื่องมือวัด(แคลป์ออนดีซี )แล้วจะไ้ด้ค่าที่อ่านได้ไม่เท่ากัน ซึ่งผมไม่มั่นใจว่าเกิดจากคุณสมบัติของเครื่องมือวัดที่ไม่สามารถอ่านค่าได้หรือเปล่า เพราะผมมั่นใจครับว่าจะได้ค่าที่อ่านได้ 2 ค่าอย่างแน่นนอน และก็ค่าไหนหล่ะ เป็นค่าที่ควรนำมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นค่าป้อนเข้าขดลวดฟิลด์คอยล์ เป็นที่เข้าใจกันว่าค่ากระแสฟิลด์คอยล์เป็นค่ากำหนดค่าแรงบิดของมอเตอร์ หรือเมื่อมีการนำไปใช้ตรวจสอบ Performance ของมอเตอร์ขณะไม่มีโหลด (เพราะเราจะป้อน Raate Current Field แต่ Rate Voltage Armature )โดยจะนำรอบที่วัดได้ไปเปรียบเทียบกับ ความเร็วรอบที่อยู่ในเนมเพลท เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของมอเตอร์ และถ้ากระแสฟิลด์มี 2 ค่า แต่ละค่าก็จะส่งผลต่อความเร็วรอบทั้งนั้น

ส่วนคอมมิวเตชั่นเป็นคำที่เรามักจะได้ยินติดหู กันมานาน โดยเฉพาะ Chart ของการแก้ปัญหามอเตอร์ดีซี ผมคงอธิบายคร่วาวๆ ตามความเข้าใจดังนี้ครับ

คอมมิวเตชั่น เป็นการกลับทิศทางการไหลของกระแสที่ไหลเข้าขดลวดอาร์เมเจอร์ จากทิศทางหนึ่งไปอีกทิศทางหนึ่ง หมายถึงถ้าเราพิจารณาขดลวดที่วิ่งเข้าหาแปรงถ่าน ถ้าเข้าไปดูโครงสร้างภายในจะเห็นว่า ขดลวดเมื่อวิ่งเข้าหาแปรงถ่านขั้วใด ขั้วหนึ่ง ทิศทางการไหลของกระแสจะเริ่มเปลี่ยนเมื่อเข้าใกล้แปรงถ่าน จะต้องหยุดไหล และเริมไหลในอีกทิศทางหนึ่งเมื่อผ่านแปรงถ่านไปแล้ว เพราะถ้าขดลวดไม่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหล ก็จะไม่ทำให้มอเตอร์หมุนได้อย่างต่อเนื่อง

ตำแหน่งของแปรงถ่าน ที่จะทำให้เกิดการกลับทิศทางการไหลของกระแสได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือตำแหน่งที่เป็น นิวตรอลโซน เพราะไม่เช่นนั้น เมื่อไปทำการกลับทิศทางกระแส นอกเขตนิวตรอลโซน อิทธิพลของสนามแม่เหล็กหลัก จะทำให้เกิดการกลับทิศทางที่ไม่สมบูรณ์ (เกิดสปาร์ค )

ตำแหน่งที่เป็นนิวตรอลโซน ก็คือตำแหน่งที่คอยล์หรือขดลวด อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตัดกับสนามแม่เหล็กหลัก ( สนามแม่เหล็กจากฟิลด์คอยล์ ) ฉะนั้นจะเห็นว่า เมือ่มีการเซตหานิวตรอล โซน ก็คือการหาตำแหน่งของซี่คอมมิว ที่ต่ออยู่กับขดลวดซึ่งในขณะนั้น สนามแม่เหล็กหลักส่งผลไปไม่ถึง ซึ่งวิธีการ ก็น่าจะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว

ตำแหน่งนิวตรอลโซน โดยปกติจะอยู่ำตำแหน่งที่อินเทอร์โปลติดตั้งอยู่ และจะเห็นว่ามอเตอร์บางรุ่นจะมีซองแปรงถ่านอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับอินเทอร์โปล แต่มอเตอร์ส่วนมากจะไม่ทำเช่นนั้นเนืองจากจะมีปัญหากับการเปลี่ยนแปรงถ่าน จึงทำให้มีการออกแบบให้ตรงกับช่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงถ่านได้ และอาศัยการวางตำแหน่งซี่บาร์คอมมิว กับ ขดลวด มาชดเชยแทน

หลักๆก็คงมีแค่นี้ และถ้าสนใจตรงไหนเพิ่มเติม โพสขึ้นมาบอกได้ครับ ผมจะได้อธิบาเพิ่มเติม ขยายความให้ครับ และสำหรับท่านอื่น ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง ยินดีรับคำวิจาร์ณครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างซ่อมมอเตอร์
19/07/2554
09:02 น.

อือ ไม่ใช่ครับ ผมกำลังจะหมายถึง ทุกกรณีที่มีการนำเอา แหล่งจ่ายดีซี ที่เกิดจากการเรคติไฟ ด้วยไดโอด เมื่อนำไปป้อนให้กับคอยล์หรือขดลวดดีซีแล้ว นำเครื่องมือวัด(แคลป์ออนดีซี )แล้วจะไ้ด้ค่าที่อ่านได้ไม่เท่ากัน ซึ่งผมไม่มั่นใจว่าเกิดจากคุณสมบัติของเครื่องมือวัดที่ไม่สามารถอ่านค่าได้หรือเปล่า เพราะผมมั่นใจครับว่าจะได้ค่าที่อ่านได้ 2 ค่าอย่างแน่นนอน และก็ค่าไหนหล่ะ เป็นค่าที่ควรนำมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นค่าป้อนเข้าขดลวดฟิลด์คอยล์ เป็นที่เข้าใจกันว่าค่ากระแสฟิลด์คอยล์เป็นค่ากำหนดค่าแรงบิดของมอเตอร์ หรือเมื่อมีการนำไปใช้ตรวจสอบ Performance ของมอเตอร์ขณะไม่มีโหลด (เพราะเราจะป้อน Raate Current Field แต่ Rate Voltage Armature )โดยจะนำรอบที่วัดได้ไปเปรียบเทียบกับ ความเร็วรอบที่อยู่ในเนมเพลท เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของมอเตอร์ และถ้ากระแสฟิลด์มี 2 ค่า แต่ละค่าก็จะส่งผลต่อความเร็วรอบทั้งนั้น

ส่วนคอมมิวเตชั่นเป็นคำที่เรามักจะได้ยินติดหู กันมานาน โดยเฉพาะ Chart ของการแก้ปัญหามอเตอร์ดีซี ผมคงอธิบายคร่วาวๆ ตามความเข้าใจดังนี้ครับ

คอมมิวเตชั่น เป็นการกลับทิศทางการไหลของกระแสที่ไหลเข้าขดลวดอาร์เมเจอร์ จากทิศทางหนึ่งไปอีกทิศทางหนึ่ง หมายถึงถ้าเราพิจารณาขดลวดที่วิ่งเข้าหาแปรงถ่าน ถ้าเข้าไปดูโครงสร้างภายในจะเห็นว่า ขดลวดเมื่อวิ่งเข้าหาแปรงถ่านขั้วใด ขั้วหนึ่ง ทิศทางการไหลของกระแสจะเริ่มเปลี่ยนเมื่อเข้าใกล้แปรงถ่าน จะต้องหยุดไหล และเริมไหลในอีกทิศทางหนึ่งเมื่อผ่านแปรงถ่านไปแล้ว เพราะถ้าขดลวดไม่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหล ก็จะไม่ทำให้มอเตอร์หมุนได้อย่างต่อเนื่อง

ตำแหน่งของแปรงถ่าน ที่จะทำให้เกิดการกลับทิศทางการไหลของกระแสได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือตำแหน่งที่เป็น นิวตรอลโซน เพราะไม่เช่นนั้น เมื่อไปทำการกลับทิศทางกระแส นอกเขตนิวตรอลโซน อิทธิพลของสนามแม่เหล็กหลัก จะทำให้เกิดการกลับทิศทางที่ไม่สมบูรณ์ (เกิดสปาร์ค )

ตำแหน่งที่เป็นนิวตรอลโซน ก็คือตำแหน่งที่คอยล์หรือขดลวด อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตัดกับสนามแม่เหล็กหลัก ( สนามแม่เหล็กจากฟิลด์คอยล์ ) ฉะนั้นจะเห็นว่า เมือ่มีการเซตหานิวตรอล โซน ก็คือการหาตำแหน่งของซี่คอมมิว ที่ต่ออยู่กับขดลวดซึ่งในขณะนั้น สนามแม่เหล็กหลักส่งผลไปไม่ถึง ซึ่งวิธีการ ก็น่าจะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว

ตำแหน่งนิวตรอลโซน โดยปกติจะอยู่ำตำแหน่งที่อินเทอร์โปลติดตั้งอยู่ และจะเห็นว่ามอเตอร์บางรุ่นจะมีซองแปรงถ่านอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับอินเทอร์โปล แต่มอเตอร์ส่วนมากจะไม่ทำเช่นนั้นเนืองจากจะมีปัญหากับการเปลี่ยนแปรงถ่าน จึงทำให้มีการออกแบบให้ตรงกับช่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงถ่านได้ และอาศัยการวางตำแหน่งซี่บาร์คอมมิว กับ ขดลวด มาชดเชยแทน

หลักๆก็คงมีแค่นี้ และถ้าสนใจตรงไหนเพิ่มเติม โพสขึ้นมาบอกได้ครับ ผมจะได้อธิบาเพิ่มเติม ขยายความให้ครับ และสำหรับท่านอื่น ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง ยินดีรับคำวิจาร์ณครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างวรเดช
25/07/2554
12:29 น.
คต 4,5


มันคือคำตอบเดียวกันใช่ไหมครับ


อิอิ
ความคิดเห็นที่ 7
ช่างวรเดช
25/07/2554
13:23 น.
ขอแสดงความเห็นเรื่อง คำถามเกี่ยวกับ ตัว กระแสตรง ต่อขดลวด ดังนี้ ฮะ




." จึงอยากจะขอความเห็นเพื่อน พี่ๆ และท่านผู้รู้ทั้งหลายว่า จริงๆแล้ว ค่ากระแสที่ส่งผลโดยตรงกับขดลวดควรที่จะเป็นกระแส ค่าที่มากกว่าหรือน้อยกว่า "[U]
[/U]





5555
ช่างวรเดชกำลังคิด ยังงี้

หากเรามองการเรคติฟายที่ แปลงรูปจาก AC to DC จะเห็นว่า

ripple ที่ wave form มันมีค่าอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่ง แมทช์กับ คอล์ยและโหลดของมัน

ยิ่งงาน คอล์ยเบรกของเครน ด้วยแล้ว อิอิ ผมเคยเอา บริดจ์ มาชั่ง กิโล แค่ สองเดือน จนเถ้าแก่ ร้อง อ๊ายหย่า มาแล้ว


ทีนี้เราต้องย้อนมองว่าทางต้นกำลังที่ลูกค้าใช้เช่น กล่องแปลงไฟเบรก ของเขามันมีค่า ripple กี่ ?%?


ทีนี้พอเราพัน คอล์ย เสร็จ แล้ว เอา บริดจ์ ใส่ เลย เพื่อ เทสท์ และ เรคคอร์ด รีพอรต

คิดว่าใช่ แต่พอลูกค้าเอาไปใช้ ฮ่าๆๆๆ มัน ตีกลับมาให้ แล้วบอกว่า มันไม่เบรกบ้าง ล่ะ มันร้อนบ้างล่ะ

มันสารพัดเรื่องที่เราแก้ไม่ถูกค่าของมัน

ท่านก็มัวแต่จ้องปรับค่า turn
ค่าL
ค่า Dia
ของ ขดลวด


เอางี้ เดี๋ยวผมขอเข้าไปดู "Coil Brake"


และ ที่ กล่องแปลงไฟ ของลูกค้า ที่ โรงงานของท่าน พี่ ได้ ป่าว ฮะ


กะลังตกงานอยู่พอดี


อิอิ
ความคิดเห็นที่ 8
ช่างซ่อมมอเตอร์
25/07/2554
13:25 น.

ไม่รู้เป็นอะไร เครื่องคอม ผมอาจจะ Hang หรือระบบอาจะ Hang ก็ไม่รู้ เวลาโพสตอบกระทู้ ระบบมักจะบอกว่าผมป้อนระหัสยืนยันผิดเสมอ ก็เลยทำให้ต้องป้อนระหัสและส่ง ซ้ำ เลยทำให้เกิดอาการอย่างที่เห็น

วันนี้ส่งสัยงานคงไม่ยุ่ง เข้ามาตอบซะตอนเที่ยงเชียว เห็นปกติมักเข้ามาตอบตอนเที่ยงคืน
ความคิดเห็นที่ 9
ช่างวรเดช
25/07/2554
22:32 น.
ขอบคุณท่าน จขกท อิอิ
เหตุที่เข้าเที่ยง เพราะ อุอุ เพิ่งตื่น เอ้ย ไม่ใช่
ก้อบอกแล้ว ฮัย ว่า ว่างฮาน พอดี อิอิ แล้วพอมี ฮาน เก่าๆ ที่อยู่ในลิ้นชักมาปัดฝุ่น ซัก จ๊อบไปพลางๆก่อน จั้กหน่อยมั้ย ฮะ แฮ่มมม....
ความคิดเห็นทั้งหมด 9 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
23 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD