29/08/2545 01:16 น. |
อยากถาม อาจารย์ทั้งหลายที่ออกมาตราฐานต่างๆ วิศวกรไฟฟ้าแทบจะไม่มีบทบาทในการออกแบบระบบส่องสว่างในบ้านพักอาศัย หรืออาคารชุดเลย ถาปัตย์เขากำหนดโหลดให้หมด นอกจากจะคำนวณโหลดให้และกำหนดขนาดสายแค่นั้นเอง ไม่รู้ว่าตอนเรียนวิศกรรมส่องสว่างเรียนไปทำไม |
01/09/2545 00:45 น. |
เรียนให้รู้งัย ตกงานอย่าฟุ้งซ่านมีอะไรทำก็ทำไปก่อน เดี๋ยวมันก็ดีเอง คนเรามันต้องมีจังหวะชีวิตและโอกาส อยู่ที่ตัวเราด้วยว่าวันนี้เราทำดีแค่ไหน |
01/09/2545 00:49 น. |
ต้องแก้ไข เงือ่นไขต่างๆ งานเกี่ยวกับไฟฟ้าต้องให้ ช่างไฟฟ้า หรือวิศวกรเป็นผู้ออกแบหรือกำหนดจึงจะถูกต้องตามสายงาน ถ้างั้นจะเรียนทำไม ใช่มั๊ยคุณ T |
02/09/2545 19:45 น. |
วิศวกรจบใหม่จะต้องหาประสบการณ์ก่อน อดทนหน่อยน้อง เห็นด้วยกับ Mr.T |
04/09/2545 21:30 น. |
การออกแบบระบบส่องสว่างในแง่มุมของวิศวกรจะเน้นไปในเชิงเทคนิค กล่าวคือความสว่างเพียงพอต่อสภาพการใช้งานของพื้ที่นั้นๆหรือไม่ การติดตั้งดวงโคม ขนาดวงจร,ขนาดสายไฟ ที่จะจ่ายให้กับระบบแสงสว่างติดตั้งได้มาตรฐาน ปลอดภัยต่อการใช้งานหรือไม่ฯ ( เน้นด้าน science )<br>ส่วนสถาปนิกหรือมัณฑนากรจะเน้นไปในรูปลักษณ์ ความสวยงาม<br>ความกลมกลืนกับงานสถาปัตยกรรม งานตกแต่ง ความรู้สึกทางอารมณ์ของคนที่มีต่อการให้แสงเงาและความสว่าง( เน้นเรื่อง Art )<br>โดยจะเป็นผู้กำหนดตำแหน่งการติดตั้ง ชนิดของดวงโคม สีของแสงและFunction การใช้งานเป็นต้นว่าต้องการหรี่ไฟหรือไม่,<br>สวิตช์เปิด-ปิดอยู่ที่ใด?เพื่อให้ วิศวกรไฟฟ้าเป็นผู้ออกแบบ กำหนดขนาดหลอด ขนาดวงจร,ขนาดสาย ,ฯลฯ ต่อไป<br>การทำงานทุกวิชาชีพต้องร่วมมือร่วมใจกัน ต้องรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบ มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ต้องประสานงานกันระหว่างระบบต่างๆงานจึงจะประสบความสำเร็จ <br>ขอให้คนตกงานอย่าเพิ่งท้อแท้ พยายามหางานต่อไป และก็สั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ <br> |
14/09/2545 10:46 น. |
การศึกษาเราตามหลังประเทศพัฒนาแล้วมาตลอด เราเลยคิดเอาเองไม่ค่อยเป็น การศึกษาก็แยกกันไปจน คนที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง จะเป็นสิ่งแปลกประหลาดในสังคม ไม่มีใครที่เกิดมาแล้วรู้ว่าจะเป็นวิศวกรไฟฟ้า หรือ เก่งไฟฟ้ามาตั้งแต่คลอด พอคนตกงานเจอปัญหาเข้าก็สงสัยกับตัวเอง และก็อย่างที่ท่านต่างๆข้างบนกล่าวมา ทำงานไปเถอะครับ คิดอะไรใหม่ๆแปลกๆ แล้วจะรู้ว่า นอกตำรานั้นมีอะไรมหาศาลที่จะเรียนรู้ |
12/01/2546 08:40 น. |
ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่มีความฝันที่อยากจะทำงานทางด้านออกเเบบระบบไฟฟ้า เพื่อนๆคนไหนที่มีความฝันเช่นเดียวกันกับผม ขอให้พยายามเข้าครับเพื่อที่ความฝันนั้นจะได้เป็นความจริงขึ้นมาสักวัน ไม่ใช่เป๊นแค่ความฝันตลอดไป... |
12/01/2546 08:59 น. |
ตามความคิดเห็นของผมนั้นการออกเเบบระบบส่องสว่างนั้นน่าจะเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านไฟฟ้าโดยตรงน่าที่จะเป็นผู้ที่รับผิดชอบทางด้านออกแบบระบบส่องสว่างไปทั้งหมด ไม่น่าให้ทางด้านสถาปัตถ์เป็นผู้กำหนด |
27/01/2546 11:47 น. |
ตามความคิดของผมนั้นก็เช่นกันการออกแบบระบบแสงสว่างควรให้เป็นหน้าที่ของทางด้านไฟฟ้าโดยตรงจะเหมาะสมกว่า ในฐานะที่ผมมีประสบการณ์เรื่องดูแบบที่มาขออนุญาตก่อสร้างก็ไม่เห็นตามหลักวิชาการเลยน่าเสียใจจัง |
11/02/2546 16:39 น. |
สถาปัตย์ออกแบบ วิศวะไฟฟ้าควบคุมให้เป็นไปตามแบบเป็นคำตอบที่สุดท้าย ว่ากันง่ายๆอย่างนี้น่าจะเข้าใจกว่าใช่ไหมครับ คุณ ตกงาน |
13/02/2546 01:40 น. |
เหตุที่ต้องเรียนเพราะวิศวไฟฟ้านั้นจะต้องคอยตรวจสอบความถูก<br>ต้องของระบบแสงสว่าง |
19/02/2546 12:29 น. |
จริงๆแล้วถ้าเป็นไปได้มันควรจะทำงานร่วมกัน คือ ทางสถาปัตย์ ก้อออกแบบ ดีไซน์ตามข่ายงาน ตามวัตถุประสงค์ โดยกำหนดว่าต้องการแสงชนิดไหน เน้นตรงไหนเพื่อให้ชิ้นงานหรือ อาคารดูโดดเด่น จากนั้นมันก้อควรเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะดีไซน์ระบบแสงสว่างให้เหมาะสมและปลอดภัย |
20/02/2546 03:56 น. |
เห็นด้วยกับคุณสฟก.... ครับ การออกแบบทางแสงสว่างของสถาปัตย์กับไฟฟ้ามีจุดประสงค์ต่างกัน บางทีแสงออกมาสวยแต่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน หรือเป็นผลเสียกับสุขภาพตา ขึ้นอยู่กับความต้องการของงานแต่ละงานไป |
26/02/2546 09:15 น. |
ผมว่าลดเวลาออกแบบของผมมาก รับงานได้มากขึ้น |
27/03/2546 04:45 น. |
ใครผิด ใครถูก แล้วแต่ความพอใจของผู้อยู่ แต่ผลสุดท้ายอำนาจในการตรวจสอบต้องเป็นหน้าที่ของวิศวะไฟฟ้า |
02/05/2546 05:21 น. |
ตอนนั่งเรียนก็คิดเหมือนกันว่าเราออกแบบไปก็รู้เรื่องโหลดและจะทำไงให้ในบ้านมีความปลอดภัยและใช้ไฟฟ้าได้อย่างสะดวกสบายในปัจจุบันและอนาคนแต่เรื่องdevice ที่เป็นด้านความสวยงามเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เราไม่ได้รวมด้วยก็น่าจะเป็นช่องทางทำกินของสถาปนิกบ้าง งานก็คงต้องแบ่งๆกัน สองคนโคกันคงดี บอกว่าห้องนี้ออกแบบเพื่ออะไร เราก็ต่อสายไฟให้เค้า ส่วนเค้าก็เลือกว่าห้องนี้เหมาะกับหลอดไฟประมาณไหน ลงตัวดี |